บล.บัวหลวง:

Thaicom (THCOM TB/THCOM.BK)

THCOM – มูลค่าเพิ่มอีก 1.5-2 บาท/หุ้นจากการชนะประมูลใบอนุญาตวงโคจรดาวเทียม

หาก THCOM ชนะการประมูลใบอนุญาตวงโคจรดาวเทียมในการเปิดประมูลของกสทช. ในวันที่ 8 ม.ค. ที่จะมาถึง เราจะทําการปรับราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นอีก 1.5-2 บาท/หุ้น จากราคาเป้าหมาย ณ ปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 14 บาท โดยบริษัทมีแนวโน้มสูงมากที่จะเข้าประมูล และชนะการประมูลสําหรับวงโคจร 119.5 องศาตะวันออก ซึ่งเรามองว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการเข้าซื้อเก็งกำไรหุ้น THCOM

THCOM – ผู้เข้าแข่งขันที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดสำหรับการประมูล ใบอนุญาตวงโคจรดาวเทียมในวันที่ 8 ม.ค. นี้

มีจํานวนทั้งหมด 6 บริษัท ซึ่งได้แก่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ (NT), มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี, พร้อม เทคนิคคอล เซอร์วิสเซส, สเปช เทค อินโนเวชั่น (บริษัทย่อยของ THCOM), แอสเซนด์ แคปปิตอล (ภายใต้กลุ่ม CP) และเดอะวิน เทเลคอม ที่ไปรับเอกสารประมูลใบอนุญาตวงโคจรดาวเทียมในช่วงวันที่ 4–30 พ.ย. 2565 โดยบริษัทข้างต้นที่สนใจจะต้องยื่นเอกสารการเข้าประมูลในวันที่ 27 ธ.ค. 2565 และรายชื่อผู้ที่ผ่านคุณสมบัติจะประกาศในวันที่ 4 ม.ค. 2566 กำหนดวันจำลองการประมูลคือวันที่ 7 ม.ค. และการประมูลจริงจะเกิดขึ้นในวันที่ 8 ม.ค. และจากจํานวน 6 บริษัทที่รับเอกสารการประมูลไป เราคาดว่าจะมีเพียง 2-3 บริษัทที่จะมายื่นเอกสารสําหรับการประมูลในวันที่ 27 ธ.ค. นี้ ได้แก่ สเปซ เทค อินโนเวชั่น (THCOM) แอสเซนด์ แคปปิตอล (ภายใต้กลุ่ม CP) และ NT เนื่องจากงบลงทุนที่สูงมาก ถึง 6-7 พันล้านบาทสําหรับการสร้างดาวเทียมดวงใหม่ ซึ่งจะทยอยลงในอีก 3 ปีข้างหน้า และความจำเป็นที่จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานดาวเทียม ปัจจุบันรองรับความรู้ความสามารถในการบริหารกิจการดาวเทียม และลูกค้าปัจจุบันที่ให้บริการในมือ และด้วยเงินสดในมือที่แข็งแกร่ง (3.7 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาส 3/65) และความเชี่ยวชาญด้านกิจการดาวเทียม เราจึงมองว่า THCOM เป็นคู่แข่งที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุด และมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ชนะการประมูลในวันที่ 8 ม.ค. ที่จะมาถึง ทั้งนี้หากมีผู้เข้าประมูลเพียงแค่รายเดียว การประมูลจะถูกเลื่อนออกไปอีกอย่างน้อย 14 วันหรือไปเป็นวันที่ 29 ม.ค. 2566

วงโคจร 119.5 องศาตะวันออกดูน่าสนใจมากที่สุด

วงโคจรดาวเทียมทั้ง 5 วงโคจรที่จะเปิดประมูลในวันที่ 8 ม.ค. ประกอบไปด้วย 1) วงโคจร 50.5 องศาตะวันออก และ 51 องศาตะวันออก (ราคาประมูลตั้ง ต้น 374 ล้านบาท) 2) วงโคจร 78.5 องศาตะวันออก (360 ล้านบาท) 3) วง โคจร 119.5 องศาตะวันออก และ 120 องศาตะวันออก (397 ล้านบาท) 4) วงโคจร 126 องศาตะวันออก (8 ล้านบาท) และ 5) วงโคจร 142 องศา ตะวันออก (189 ล้านบาท) เราเชื่อว่าวงโคจรที่ 119.5 องศาตะวันออกภายใต้แพคเก็จที่ 3 ดูน่าสนใจมากที่สุด เนื่องจากการใช้งานของข่ายงานดาวเทียมที่ 119.5E-IP1 (หรือ THAICOM-IP1] ปัจจุบันเป็นของดาวเทียมไทยคม 4 ซึ่งอายุงานวิศวกรรมมีกำหนดหมดอายุลงในปี 2567 ตามมาด้วยวงโคจรที่ 78.5 องศาตะวันออก ซึ่งปัจจุบันวงโคจรนี้ใช้ร่วมกันโดยดาวเทียมไทยคม 6 และดาวเทียมไทยคม 8 ซึ่งอายุของใบอนุญาตจะเหลืออีก 6 ปี (สิ้นสุดลงใน เดือนม.ค. 2572) และเหลืออีก 8 ปี (สิ้นสุดลงในเดือนพ.ค. 2574) ตามลำดับ

เราคาดว่า THCOM มีแนวโน้มที่จะเข้าประมูลวงโคจร 119.5 องศาตะวันออกเพื่อความต่อเนื่องของธุรกิจ ไอพีสตาร์ซึ่งยังคงมีลูกค้าบรอดแบนด์ที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่ และปัจจุบันบริษัทได้ทำการเช่าและซื้อแบนด์วิธของดาวเทียมไทยคม 4 บางส่วนจาก NT เพื่อให้บริการกับกลุ่มลูกค้าดังกล่าว และถ้าหาก THCOM ชนะใบอนุญาตวงโคจรที่ 119.5 องศา ก็จะใช้เวลา 3 ปีสำหรับการสร้างดาวเทียมดวงใหม่ขึ้นไปประจำที่วงโคจร ซึ่งคาดว่าจะยิงดาวเทียมดวงใหม่ได้ในปี 2569 หรือ 1.5 ปีหลังจากที่ดาวเทียมไทยคม 4 หมดอายุลง

มูลค่าเพิ่มอีก 1.5-2 บาท/หุ้นจากการชนะประมูลวงโคจร 119.5 องศาตะวันออก

เราจะทำการเปลี่ยนวิธีประเมินมูลค่าหุ้น THCOM ไปเป็นวิธี SOTP โดยคำนวณมูลค่าเพิ่มที่ประเมินจากวิธี DCF สำหรับใบอนุญาตวงโคจรดาวเทียมที่ 119.5 องศาตะวันออกเข้าไปในราคาเป้าหมายปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มได้อีกราว 1.5-2 บาท/หุ้น (จากราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2556 ของเรา ณ ปัจจุบันที่อิงกับวิธี P/BV ซึ่ง อยู่ที่ 14 บาท) มูลค่าเพิ่มอีก 1.5-2 บาท/หุ้นของเรามาจากสมมติฐาน ได้แก่ 1) อายุของใบอนุญาต 20 ปี, 2) งบลงทุน 6 พันล้านบาทสำหรับการสร้างดาวเทียมดวงใหม่, 3) รายได้ของดาวเทียมดวงใหม่ซึ่งคาดว่าจะเริ่มรับรู้ตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป และ 4) ระยะเวลาคืนทุนของดาวเทียมดวงใหม่คิดเป็น 7 ปี

 

- Advertisement -