บล.หยวนต้า (ประเทศไทย): 

Action BUY (Maintain)

TP upside (downside) +16.0%

Close Jan 13, 2023 Price (THB) 16.30

12M Target (THB) 18.90

Previous Target (THB) 13.80

What’s new?

  • THCOM ชนะการประมูลวงโคจรดาวเทียมใบอนุญาตที่ 2 วงโคจร 78.5 องศา และใบอนุญาตที่ 3 วงโคจร 119.5 องศา มูลค่ารวม 797 ล้านบาท ขณะที่ NT ชนะใบอนุญาตที่ 4 วงโคจร 126 องศา มูลค่า 9 ล้านบาท
  • ผลการประมูลใกล้เคียงกับคาดการณ์ของเราก่อนหน้าที่คาดการแข่งขันจะไม่รุนแรง

Our view

  • เราปรับไปใช้ราคาเหมาะสม อิงวิธี DCF ที่ 18.90 บาทต่อหุ้น ภายใต้สมมติฐานสำคัญการยิงดาวเทียมดวงใหม่จะยกระดับกำไรระยะยาวไปที่ 2.5 พันล้านบาทต่อปี
  • คงคำแนะนำ “ซื้อ” ระยะยาวหุ้นมี Upside ไปต่อได้ แต่ระยะสั้นระวังแรงขายทำกำไรหลังตลาดเก็งกำไรผลประมูลก่อนหน้า คาดหุ้นกลับมามีสีสันเมื่อ THCOM ให้ข้อมูลดาวเทียมดวงใหม่

THCOM ชนะประมูลวงโคจรดาวเทียม 2 ใบอนุญาต

ผลการประมูลวงโคจรดาวเทียมอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 ม.ค. 66

กสทช. เปิดประมูลสิทธิวงโคจรดาวเทียมครั้งแรกของประเทศไทยในวันที่ 15 ม.ค. 66 จำนวน 5 ใบอนุนาต ประกอบด้วย ใบอนุญาตที่ 1 วงโคจร 50.5 องศา ใบอนุญาตที่ 2 วงโคจร 78.5 องศา ใบอนุญาตที่ 3 วงโคจร 119.5 องศา ใบอนุญาตที่ 4 วงโคจร 126 องศา และใบอนุญาตที่ 5 วงโคจร 142 องศา จำนวนผู้เข้าประมูลทั้งหมด 3 ราย ได้แก่ 1) บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด (THCOM) 2) บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (NT) และ 3) บริษัท พร้อม เทคนิคคอล เซอร์วิสเซส จำกัด

ผลการประมูลอย่างเป็นทางการ

  • THCOM ชนะใบอนุญาตที่ 2 วงโคจร 78.5 องศา ที่ราคา 380 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงโคจรที่ใช้งาน THCOM6 และ THCOM8 อยู่ในปัจจุบัน และชนะใบอนุญาตที่ 3 วงโคจร 119.5 องศาที่ราคา 417 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงโคจรที่ใช้งาน THCOM ในปัจจุบัน
  • NT ชนะใบอนุญาตที่ 4 วงโคจร 126 องศาที่ราคา 9.07 ล้านบาท เป็นวงโคจรที่เหมาะสำหรับให้บริการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จีน ญี่ปุ่น แปซิฟิก ออสเตรเลีย แต่ยังไม่พร้อมใช้งาน ต้องดำเนินการประสานกับไอทียูต่อ
  • บริษัท พร้อม เทคนิคคอล เซอร์วิสเซส จำกัด เข้าแข่งในวงโคจรที่ 2 โดยเคาะราคา 1 ครั้ง แต่แพ้ประมูล THCOM ที่เคาะราคาสองครั้ง
  • ส่วนวงโคจรที่ 5 142 องศา และวงโคจรที่ 1 50.5 องศา ไม่มีผู้เข้าสนใจประมูล

ภาพรวม กสทช. ได้เงินเข้ารัฐ 806 ล้านบาท ลำดับถัดไป กสทช. จะรับรองผลการประมูลภายใน 7 วัน ซึ่งผู้ชนะการประมูลจะชำระใบอนุญาตงวดแรก 10% ของราคาสุดท้ายภายใน 90 วัน งวดที่ 2 ชำระ 40% ภายในปีที่ 4 และงวดที่ 3 ชำระ 50% ในปีที่ 6 ทั้งนี้ใบอนุญาตฯ จะมีอายุ 20 ปี

เงื่อนไขเพิ่มเติมหลังการประมูล ผู้ชนะใบอนุญาตจะต้องยิงดาวเทียมดวงใหม่ภายใน 3 ปี หลังได้รับอนุญาต ต้องแบ่งสัญญาณให้รัฐและมีแผนรองรับเหตุฉุกเฉินในกรณีที่ดาวเทียไม่สามารถใช้งานได้ให้ กสทช. เห็นชอบภายใน 1 ปีนับจากวันที่ได้รับอนุญาต

ความเห็นต่อผลการประมูล… มองเป็นกลาง No big surprise

ผลการประมูลออกมาใกล้เคียงกับกรณีฐานของเรา กล่าวคือ THCOM เป็นผู้ชนะวงโคจร 119.5 องศา และอาจสอดแทรกชนะวงโคจร 78.5 เป็นของแถม บนราคาการประมูลที่ไม่แข่งขันรุนแรง

แม้ THCOM ไม่ได้มีการแถลงแผนธุรกิจเพิ่มเติม แต่เราคาด THCOM จะเดินหน้ายิงดาวเทียม Boardboard เพื่อไปทดแทน IPSTAR ที่จะหมดอายุในปี 2568 ดาวเทียมดังกล่าวน่าจะใช้เวลาในการสร้างและยิ่งราว 2 ปี โดยในช่วงแรกของการดำเนินการ เราคาด THCOM จะมีผลขาดทุนจากดาวเทียมดวงใหม่ราว 1-2 ปี จากนั้นจึงจะกลับมาทำกำไร เราประเมินว่าดาวเทียมดวงใหม่จะเป็นมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทในระยะยาว โดยจะยกระดับกำไรของบริษัทกลับไปที่ 2.5 พันล้านบาทต่อปี การที่ THCOM เลือกเอาวงโคจร 78.5 องศาเพิ่มอีก 1 ใบ ทั้งๆ ที่ THCOME และ THCOMB ยังมีอายุการใช้งานอีกหลายปี สะท้อนว่าผู้บริหาร THCOM มองตลาด Boardcasting ดีกว่าสมมติฐานของเรา THCOM จะมีการยิงดาวเทียมเพิ่มขึ้นไปเพื่อให้บริการ Boardcasting เพิ่มเติมอีกดวงหรือไม่ เป็นปัจจัยที่นักลงทุนต้องติดตามในระยะถัดไป

สำหรับ NT การชนะประมูลวงโคจร 126 องศา ซึ่งเป็นวงโคจรที่คาบเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน และยังต้องไปเจรจาต่อรองเพิ่มเติมเพื่อการใช้งานเป็นไปตามคาดการณ์ของเรา

- Advertisement -