บล.เอเซีย พลัส:
วัดกันข้างหน้า
กําไรสุทธิ 4Q65 ต่ำกว่า Bloomberg Consensus ราว 29% อยู่ที่ 7.1 พันล้านบาท ลดลง 31% QoQ และ 9% YoY แรงกดดันจาก OPEX จากค่าใช้จ่ายที่เป็น One – time ในการปรับโครงสร้างองค์กรราว 2 – 2.5 พันล้านบาท และ FVTPL (บันทึกใน Non – NII) พลิกติดลบ จากการปรับมูลค่าเงินลงทุนใน Start up (SCB10X) ตามภาวะตลาดและอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งข้างหน้าเงินลงทุนใน Start up ยังคงท้าทายภายใต้ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น แต่หากสามารถเลื่อนระดับเป็น Unicorn หรือ IPO ย่อมบวกต่อ Non – NII เช่นกัน (High Risk High Return)
ขณะที่กำไรสุทธิปี 2565 เป็นไปตามคาด ฝ่ายวิจัยจึงคงประมาณการปี 2566 การรุกสินเชื่อ High Yield และการลงทุนใน Start up เป็นโอกาสที่มาพร้อมความเสี่ยง ดังนั้นคําแนะนํา ซื้อ SCB จึงเหมาะกับนักลงทุนท่ีชอบความท้าทาย จากแผนการนํา บ. ลูกเข้าตลาดเพื่อ Unlock Valuation
ที่มา: สายงานวิจัย บล. เอเซีย พลัส
กําไร 4Q65 ถูกกดดันจาก OPEX และ FVTPL
กําไรสุทธิ 4Q65 ต่ำกว่า Bloomberg Consensus ราว 29% อยู่ที่ 7.1 พันล้านบาท ลดลง 31% QoQ และ 9% YoY แรงกดดันจาก OPEX สูงขึ้น 23% QoQ (+21% YoY) มาที่ 2.1 หมื่นล้านบาท (Cost to income ratio ที่ 54.5% VS 3Q65 ที่ 42.6%, 4Q64 ที่ 44.0%) จากค่าใช้จ่ายในการตั้ง บ. ย่อยใหม่ ตามแผนการปรับโครงสร้างองค์กร (One –Time) ราว 2 – 2.5 พันล้านบาท และค่าใช้จ่ายการตลาดตามฤดูกาล ประกอบกับ Non – NII เท่ากับ 8.9 พันล้านบาท (-26% QoQ, -38% YoY) เพราะการวัดมูลค่าเงินลงทุน (FVTPL) พลิกขาดทุน 507 ล้านบาท เทียบกับกําไร 1.8 พันล้านบาทงวด 3Q65 และกําไร 2.8 พันล้านบาทงวด 4Q64 โดยค่าเฉลี่ย FVTPL ตั้งแต่เริ่มใช้ TFRS 9 (งวด 1Q63) – 4Q65 อยู่ที่ 2.1 พันล้านบาทต่อไตรมาส และ SD ที่ 1 พันล้านบาท
ทั้งนี้ ในรายการ FVTPL หลักๆ ประกอบด้วย ธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยน, ตราสารอนุพันธุ์ Unrealized / Realized Gain (Loss) ของเงินลงทุนทั้งในตราสารหนี้และตราสารทุน (ในประเทศ / ต่างประเทศ ทั้งในตลาดและนอกตลาด) โดยสินทรัพย์ที่จัดประเภทเป็น FVTPL ในงบดุล ณ สิ้นงวด 4Q65 อยู่ที่ 6.2 หมื่นล้านบาท (สัดส่วน 1.8% ของสินทรัพย์) ซึ่งในงวดนี้ทางผู้บริหารเปิดเผยว่าผลขาดทุนส่วนใหญ่ มาจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนใน Start up (SCB10X) ตามภาวะตลาดและผลจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากยังไม่มีรายละเอียดของ FVTPL งวด 4Q65 แต่หากอิงจากสิ้นงวด 3Q65 มีตราสารทุนตลาดต่างประเทศราว 3 หมื่นล้านบาท โดย FVTPL งวด 1H65 อยู่ที่ประมาณ 5.4 พันล้านบาท (7% ของรายได้รวมงวด 1H65) ราว 2 พันล้านบาท มาจากธุรกรรมในตราสารทุน ในมุมมองของฝ่ายวิจัย FVTPL เป็นไปตามภาวะตลาดทําให้การดําเนินงานมีความผันผวน และท้าทายมากขึ้น ใน ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นและการทํา QT แต่หาก Startup (SCB10X กระจายการลงทุนในหลายธุรกิจราว 50 บริษัท อาทิ Fintech) สามารถเลื่อนระดับสู่ Unicorn หรือ IPO ย่อม บวกต่อ Non – NII (High Risk High Return)
ปัจจัยข้างต้นไม่สามารถชดเชยได้กับรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) อยู่ที่ 2.9 หมื่นล้านบาท (+5.9% QoQ, +18.4% YoY) ฟื้นตัวสอดคล้องกับประมาณการทั้งปี ตามทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นและสินเชื่อขยายตัว 1.3% QoQ (+3.3% YoY) อยู่ที่ 2.4 ล้านล้านบาท จากธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อบ้านด้านธุรกิจ Gen 2 อย่าง CARDX (สัดส่วน 4.8% ของสินเชื่อ : +5% QoQ, -2.4% YoY) และ AUTOX (สัดส่วน 0.3% ของสินเชื่อ) หลังเริ่มเปิดตัวช่วง 3Q65 ขยายตัวจาก 3 พันล้านบาทเป็น 7.5 พันล้านบาท
ด้าน Credit Cost บริหารจัดการให้อยู่ในระดับต่ำที่ 1.2% เทียบกับ 1.3% งวดก่อน และ 2.1% ช่วงเดียวกันปีก่อน ทําให้ Credit Cost ทั้งปีอยู่ที่ 1.45% สอดคล้องกับเป้าทั้งปี สําหรับคุณภาพสินทรัพย์ฝ่ายวิจัยมองว่ายังอ่อนแอแม้มีการ Write–off ราว 4.3 พันล้านบาท และขาย NPL ประมาณ 2.8 พันล้านบาท แต่มูลหนี้ NPL (Stage3) เท่ากับ 9.5 หมื่นล้านบาท (+3.5% QoQ, -12.6% YoY) ทําให้ NPL / Loan เพิ่มมาที่ 4.0% เทียบ 3.9% ณ สิ้นงวดก่อน จากสินเชื่อเช่าซื้อ, CARDX, รายใหญ่, SME แต่ต่ำลงจาก 4.7% ณ สิ้นปี 2564 ด้านสัดส่วนสินเชื่อ Stage 2 / Loan เพิ่มมาที่ 7.5% จาก 6.3% ณ สิ้นงวดก่อน แต่ยังลดลงจาก 8.3% ณ ส้ินงวดก่อน ทาง SCB ให้เหตุผลว่ามาจากการจัดชั้นลูกหน้ีเชิงคุณภาพ สําหรับ Coverage Ratio (LLR / NPL) ลดลงเหลือ 153% และ LLR / Loan ที่ 6.1% จาก ณ สิ้นงวด 3Q65 ที่ 158% และ LLR / Loan ที่ 6.2%
ทั้งนี้ SCB มีมูลหนี้ภายใต้มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ : CDR หรือกลุ่มสีฟ้า (ผ่อนผันการจัดชั้นถึงสิ้นปี 2566) ราว 2.8 แสนล้านบาท หรือ 12% ของพอร์ตสินเช่ือ (VS KBANK ที่ 6.9% ของพอร์ตสินเชื่อ)
เดินหน้ารุกสินเชื่อ HIGH YIELD … มองเป้า CREDIT COST ดูท้าทาย
สําหรับกําไรสุทธิปี 2565 อยู่ที่ 3.75 หมื่นล้านบาท (+5.5% YoY) ตามฝ่ายวิจัยประเมินแต่ต่ำกว่าตลาด 6% โดย NIM อยู่ที่ 3.3% สูงขึ้นจาก 3.0% ปีก่อน หนุนด้วยดอกเบี้ยขาขึ้น สอดคล้องกับประมาณการฝ่ายวิจัยและเป้าหมาย SCB ที่ 3.1% – 3.2% ขณะที่ Non – NII ลดลง 16% YoY ต่ำกว่าสมมติฐานและเป้าหมายที่มองลบไม่เกิน 10% – 12% YoY รวมแล้วรายได้รวมอยู่ที่ 1.54 แสนล้านบาท (+2.7% YoY) ด้าน Cost to income ratio อยู่ที่ 45.2% ใกล้เคียงเป้าหมายบริษัทฯ ที่ Low – to – mid 40s และ Credit Cost ตามเป้าหมายดังที่กล่าวในช่วงต้น หากแบ่งการดําเนินงานแยกราย Gen เกือบท้ังหมดยังมาจากธนาคาร ตามรูปด้านล่างนี้
ส่วนปี 2566 ทาง SCB มอง GDP ไทยเติบโต 3.4% YoY บนฐานจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยที่ 28.3 ล้านคน และอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 0.75% มาอยู่ที่ 2.0% นําไปสู่เป้าหมายทางการเงินดังนี้ สินเชื่อเติบโต 5% – 8% YoY หลักๆ มาจากการขับเคลื่อนในกลุ่ม Gen 2 อย่าง CARDX ราว 15% YoY ซึ่งในกลางปีมีแผนเปิดให้บริการ Buy-Now-Pay-Later ผ่านการร่วมทุน และ AUTOX ตามการเปิดสาขาจากปัจจุบันที่ 1.2 พันสาขาสู่ระดับ 2 พันสาขา ภายในสิ้นปี 2566 ขณะที่ NIM มากกว่า 3.5% โดยรวมตั้งเป้าหมายรายได้รวมเติบโตมากกว่า 10% YoY พร้อมกําหนด Cost to income ratio ที่ mid 40s (44% – 46%) และ Credit Cost ที่ 1.2% – 1.4%
เป้าหมายทางการเงิน
ที่มา: SCB
ความเห็นฝ่ายวิจัย: แม้เป้าหมายเป็นไปในโทนบวก แต่มองท้าทายจาก NIM และ Credit Cost โดยฝ่ายวิจัยมีการปรับปรุงสมมติฐานให้สอดคล้องกับการดําเนินงานปี 2565 และเป้าหมายทางการเงิน แต่ภาพรวมกําไรสุทธิปี 2566 คงเดิมที่ 4.2 หมื่นล้านบาท (+12% YoY) บนสมมติฐานรายได้รวมขยายตัว 6% YoY อยู่ที่ 1.64 แสนล้านบาท มอง NIM ที่ 3.4% ต่ำกว่าเป้า เพราะมุมมองฝ่ายวิจัยมองอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นได้อีก 1 – 2 คร้ัง เท่าน้ัน และอาจไม่ได้ขึ้นในช่วงต้นปี เนื่องจากเงินบาทเริ่มแข็งค่า และทิศทางเงินเฟ้อเร่ิมลดลง ขณะที่ Credit Cost คาดไว้ 1.55% (ค่าเฉลี่ยปี 2559 – 2565 อยู่ที่ 1.52%) จากภาพรวมคุณภาพสินทรัพย์ชะลอตัวและการขยายตัวในสินเชื่อ High Yield ส่วน Cost to income ratio ประเมินทรงตัวจากปีก่อนที่แม้จะมี One – Time ตามข้างต้นเท่ากับ 45%
ซื้อ … รอลูกเติบใหญ่
อิง GGM ภายใต้ประมาณการเดิม (ROE ระยะยาว 9.5%, COE ที่ 10.3%) ให้ PBV ที่ 0.9 เท่า ให้ FV ปี 2566 ที่ 132 บาท เทียบเท่า PER ที่ 11 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยปี 2562
คงแนะนํา ซื้อ ในมุมมองฝ่ายวิจัยด้วยนโยบายการเติบโตของ SCB ทั้งการรุกสินเช่ือ High Yield และการลงทุนใน Start up เป็นโอกาสที่มาพร้อมความเสี่ยง จึงเหมาะกับนักลงทุนที่ชอบความท้าทาย โดยราคาหุ้นในปี 2565 Underperform กลุ่มฯ มากสุด ติดลบ 16% เทียบ SETBANK ลบ 6.4% และ SET Index บวก 0.7% น่าจะทําให้ Downside ไม่มากเท่ากลุ่มฯ ที่ปรับตัวขึ้นพอสมควรในปีที่ผ่านมา ขณะที่ในระยะถัดไปทาง SCB มีแผน นํา บ. ลูก เข้า IPO อาทิ CARDX(IPO : 2568), AUTOX (IPO : 2570), SCB ABACUS (IPO : 2568) รุกสินเชื่อบุคคล และ INVX (IPO : 2568) นอกจากช่วย Unlock Valuation ยังช่วยให้ บ.ลูก มีแหล่งเงินทุนของตนเอง เพื่อสร้างการเติบโตต่อไป
ประเด็นความเสี่ยงที่มีน้ําหนักต่อประมาณปี 2566 ของ SCB
NIM ลดลงต่ำกว่าคาด โดยทุกๆ 10 bps ของ NIM ที่ปรับตัวลดลงจากคาดการณ์ปี 2566 ที่ 3.4% จะทําให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลงราว 3% และกําไรสุทธิปี 2566 ลดลงราว 6% และ FV ลดลงราว 4 บาท
กรณีที่สินเช่ือเติบโตต่ำกว่าเป้าหมาย โดยทุกๆ 1% ของคาดการณ์สินเชื่อสุทธิปี 2566 ที่ลดลง จะทําให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลงราว 0.5% และกําไรสุทธิปี 2566 ลดลงราว 0.7% ส่วน FV คงเดิม
กรณีที่คุณภาพสินทรัพย์มีแนวโน้มแย่กว่าคาด โดยทุกๆ 10 bps ของคาดการณ์ Credit Cost ปี 2566 ที่เพิ่มขึ้นจากที่ประเมินไว้ 155 bps จะทําให้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มราว 7% และ FV ลดลงราว 2 บาท
ESG ของ SCB
สิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคต เสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Resilience) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า รวมถึงการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจ-สังคม คาร์บอนต่ำ (Low-carbon Economy/ Society) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ SCB มีการปล่อยสินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับ ESG ราว 3 หมื่นล้านบาท (ปี 2562 – 64 ราว 8 หมื่นล้านบาท)
สังคมแห่งคุณค่า เสริมสร้างขีดความสามารถทางการเงิน ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น ทั้งแอปพลิเคชันสําหรับให้บริการธุรกรรมทางการเงินแบบครบวงจรบนโทรศัพท์มือถือ ปี 2564 มีผู้ใช้บริการมากกว่า 13.1 ล้านราย อย่าง SCB EASY รวมถึง ATM เพื่อผู้พิการทางสายตานอกจากนี้มีการสนับสนุนผู้ประกอบการ Start up ผ่าน SCB10X
Governance มีนโยบายต่อต้านการคอร์รับชั่นและการให้สินบนทุกรูปแบบ มีผลบังคับใช้ทั้งบริษัทในกลุ่มฯ นอกจากนี้เปิดเผยข้อมูลโปร่งใส และมีคณะกรรมการกํากับความเสี่ยง