สรุปภาวะตลาด

วันจันทร์ที่ผ่านมา ดัชนีทยอยปรับตัวขึ้น หลังจากหุ้นกลุ่มธนาคารประกาศผลการดำเนินงานเรียบร้อยแล้ว ทำให้แรงขายในหุ้นที่งบต่ำกว่าตลาดคาดเริ่มชะลอตัวลง แรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน และค้าปลีก ประกอบกับสัปดาห์น้ี ตลาดหุ้นหลายประเทศในภูมิภาคปิดทำการ ทำให้มูลค่าการ ซื้อ-ขายหดตัวลง ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,684.04 จุด +6.79 จุด +0.40% มูลค่าการซื้อขาย 52,483 ลบ. ต่างชาติ +471.80 ลบ. TFEX +12,572 สัญญา ตราสารหนี้ +1,354.24 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 254.07 จุด+0.76% ได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในการประชุมสัปดาห์หน้า ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งเช่นกัน

+ นักลงทุนให้น้ำหนักเกือบ 100% คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ในการประชุม นโยบายการเงินนัดแรกหลังดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐต่างบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐได้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว

+ องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกร้องให้นานาชาติสมทบทุนในการตั้งกองทุนวงเงิน 2.54 พันล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เผชิญภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขทั่วโลก

+/- องค์การอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐระบุว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อาจจำเป็นต้องมีการปรับปรุงประจำปี เนื่องจากไวรัสยังคงพัฒนาต่อไป

+/- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนธ.ค.ระบุว่า เจ้าหน้าที่เรียกร้องให้คณะกรรมการ BOJ เลื่อนการแถลงมติการประชุม หลังมีสัญญาณว่า BOJ จะปรับนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield Curve Control – YCC)

ปัจจัยลบ-

– สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปิดลดลง 2 เซนต์ -0.02% ปิดที่ 81.62 ดอลลาร์/บาร์เรล จากนักลงทุน ขายทำกำไรหลังจากสัญญาน้ำมัน WTI พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ที่ 82.64 ดอลลาร์ สูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 2565

– Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ Leading Economic Index (LEI) ดิ่งลง 1.0% ใน เดือนธ.ค. หลังจากทรุดตัวลง 1.1% ในเดือนพ.ย. โดยดัชนีปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันเป็นการส่ง สัญญาณเศรษฐกิจถดถอยจากแนวโน้มที่อ่อนแอของภาคการผลิตและตลาดแรงงาน

– เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงกว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และ นลท.คลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยุโรป หลังการร่วงลงของราคาก๊าซธรรมชาติ

– ธนาคารพาณิชย์ตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้น หลังพบสัญญาณเศรษฐกิจเริ่มเปราะบางรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจปี 66

– สสว. สำรวจหนี้ SME ปี 2565 พบ 60.5% มีภาระหนี้สินอยู่ในช่วง 5 หมื่น – 1 แสนบาท มีสัดส่วน 83.2% กู้ยืมเงินเพื่อใช้หมุนเวียนในธุรกิจ จ่ายดอกเบี้ยแพง 6-12%

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีรีบาวด์ต่อเนื่องตามดาวโจนส์ เนื่องจาก Fund Flow ยังไหลเข้าต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เราคาดว่า กนง. จะ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 25 ม.ค. 66 ราว 0.25% สู่ 1.50% และหุ้นขนาดใหญ่เริ่มพักฐานเป็นปัจจัย กดดันต่อดัชนี มองกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,677-1,692 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • ช้อปดีมีคืนปี 66: BJC CPALL MAKRO CRC COM7 SPVI CPW JMART HMPRO ZEN M AU
  • การท่องเที่ยวเติบโตต่อเนื่องและจีนเปิดประเทศ: MINT CENTEL ERW SPA AU SHR
  • หุ้นโรงไฟฟ้าได้ประโยชน์จากรายได้ปรับขึ้นตามค่า FT แต่ต้นทุนเริ่มคงที่: GPSC BGRIM RATCH
  • หุ้นยั่งยืนด้านพลังงานหมุนเวียน: EA TSE SSP SUPER PRIME
  • หุ้นได้ประโยชน์จากรถยนต์ไฟฟ้า: EA GPSC BCP OR DELTA
  • หุ้น mai เด่นปี 66: SPA D CEYE AU
  • หุ้นเด่น IAA: AOT ADVANC BBL COM7 CPALL

หุ้นรายงานพิเศษ

กลุ่มโรงกลั่น ค่าการกลั่นปรับตัวขึ้น

TOP PICK: TOP SPRC

  • ส่วนต่างน้ำมันอากาศยาน ดีเซล และเบนซินปรับตัวขึ้น MTD ราว 9.8% 6.8% และ 41.9% ตามลำดับ เนื่องจากโรงกลั่นในจีนชะลอกำลังการผลิตจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ขณะที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้น เนื่องจากจีนเปิดประเทศทำให้มีความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 6.4% MTD
  • ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อกลุ่มโรงกลั่นเนื่องจากค่าการกลั่นใน 1Q66 เริ่มปรับตัวขึ้น สอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้น นอกจากนี้เงินบาทที่แข็งค่าส่งผลให้บริษัทกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากมีเงินกู้เป็นสกุลเงินดอลลาร์ โดยเราเลือก TOP SPRC เป็น TOP PICK เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้จากโรงกลั่นสูงที่สุดในกลุ่ม จึงได้ประโยชน์จากการปรับตัวขึ้นของส่วนต่างน้ำมันอากาศยาน ดีเซล และเบนซินมากที่สุดในกลุ่ม

หุ้นมีข่าว

(+) SPALI (Bloomberg consensus 26.00 บาท) ลั่นถึงเวลาอสังหากำลังซื้อฟื้นต่างชาติเข้า วางแผนรุกหนักปีนี้ ประกาศผุด 37 โครงการใหม่ สูง 4.1 หมื่นล้านบาท ขยายสู่ 5 จังหวัดใหม่ เป้ายอดขาย-รายได้ทำสถิติสูงสุดใหม่แตะ 3.6 หมื่นล้านบาท แบ็กล็อกแน่น 2 หมื่นล้านบาท มีสินค้าสร้างเสร็จพร้อมขายรับดีมานด์กว่า 2.2 หมื่นล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) DOD (Bloomberg Consensus – บาท) มีลุ้นผลงานปีนี้เทิร์นอะราวด์ หลังตัดบริษัทไม่ทำกำไรออก พร้อมชูโมเดลทำเงินสร้างแบรนด์ตัวเองร่วมกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เตรียมเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เดือนมีนาคมนี้ ชี้มาร์จิ้นสูงกว่า OEM หลายเท่า เดินหน้าคลอดโปรดักต์น้ำมันกัญชาเต็มสูบ เล็งขายโรงพยาบาลรัฐ-เอกชน และร้านขายยา (ที่มา ทันหุ้น)

(+) APCO (Bloomberg consensus – บาท) กางแผนธุรกิจปี 2566 พัฒนางานวิจัยต่อเนื่อง เพิ่ม ประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ภูมิคุ้มกันบำบัด ชูนวัตกรรมวัฒนชีวาย้อนวัย ชะลอวัย สร้างสังคมชีวี 100 ปีมีสุข ปักธงสมาชิก 20,000 คนในปีนี้ ด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง และโครงการ Bye Bye HIV ขยายฐานดูแลผู้ป่วยในวงกว้าง ตั้งเป้ารายได้โต 30-50% รักษาอัตรากำไรขั้นต้นไม่ต่ำกว่า 80% (ที่มา ทันหุ้น)

(+) RBF (Bloomberg consensus 12.10 บาท) วางเป้ารายได้รวมปี 66 เติบโตไม่ต่ำกว่า 15- 20% จากปีก่อนเดินหน้าขยายตลาดต่างประเทศเต็มสูบ หวังเพิ่มสัดส่วนเป็นกว่า 25% ของรายได้รวม จากเดิมราว 20% จับตาอัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวดีขึ้นกว่าปีก่อน หลังสินค้าไฮมาร์จิ้นขายได้เพิ่ม วางงบ 500 ล้านบาท รองรับการก่อสร้างโรงงานอินโด-ปรับปรุงเครื่องจักรผลิต (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 24 ม.ค. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์
    • กระทรวงพาณิชย์แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย/การค้าชายแดน และการค้าผ่านแดน
  • 25 ม.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 1/2566
  • 31 ม.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจและการเงินไทย
  • 6 ก.พ. กระทรวงพาณิชย์ รายงาน CPI เดือนม.ค.

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 24 ม.ค. อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการ ขั้นต้นเดือนม.ค. จากเอสแอนด์พี โกลบอล
    • สหรัฐ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการ ขั้นต้นเดือนม.ค.
  • 25 ม.ค. สหรัฐ รายงานสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
  • 26 ม.ค. สหรัฐ รายงานจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน ธ.ค. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 4Q65 (ประมาณการเบื้องต้น)
  • 27 ม.ค. สหรัฐ รายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนธ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค. ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนธ.ค.
  • 31 ม.ค. – 1 ก.พ. กำหนดการประชุมธนาคารกลางสหรัฐเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- Advertisement -