บล.หยวนต้า (ประเทศไทย):
Action NON-RATED
TP upside (downside) NR
Close Jan 23, 2023 Price 0.43
12M Target NR
TRC CONSTRUCTION (TRC) ถ้าเหมืองเกิดจะมีมูลค่าประมาณเท่าไหร่
หมายเหตุ: TRC ไม่อยู่ใน Coverage ของเรา รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการให้มุมมองและความสำคัญของโครงการ และมูลค่าที่ควรจะเป็นภายใต้สถานการณ์ (Scenano) ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้เช่นกัน จึงมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำให้ลงทุนแต่อย่างใด การตัดสินใจขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของนักลงทุน ซึ่งควรศึกษาข้อมูลโดยละเอียดก่อนการลงทุน
Event
- โครงการเหมืองแร่โปแตช จ. ชัยภูมิ มีความสำคัญ และสร้างมูลค่าให้กับ TRC อย่างไร
Our Take
- TRC ถือหุ้นใน บมจ. Asian Potash (APOT) ในสัดส่วน 25.13% ปัจจุบัน APOT ได้ประทานบัตรในการทำเหมืองแร่ที่ อ. บำเหน็จณรงค์ จ. ชัยภูมิ เมื่อเดือน ก.พ. 2558 แต่ต้องหยุดชะงักไปด้วยปัญหาเรื่องงบประมาณ และราคาแร่โปแตช ณ เวลานั้นอยู่ที่ราว US$200 – 300/ตัน และมีแนวโน้มว่าจะปรับตัวลงได้อีก ซึ่งราคาที่ทำให้โครงการคุ้มทุนอยู่ที่ ที่ US$ 150 – 200/ตัน จึงไม่จูงใจในการลงทุน
- โครงการของ APOT อยู่ระหว่างรอความชัดเจนจากกระทรวงการคลังว่าจะเพิ่มทุนหรือไม่ เพราะราคาปัจจุบันของแร่โปแตช ทำให้โครงการมีความสามารถในการทำกำไรดีขึ้น และมีเอกชนรายหลายแสดงความสนใจเข้าร่วมลงทุน
- ปัจจุบันกระทรวงการคลังถือหุ้นใน APOT อยู่ 20% คาดว่าโครงการจะใช้เงินลงทุนทั้งหมดอีกราว 2.0 หมื่นลบ. ซึ่ง APOT จะระดมทุนด้วยการเพิ่มทุน จึงรอ ครม. พิจารณาว่าจะให้กระทรวงการคลังเพิ่มทุนในโครงการนี้หรือไม่ หากเพิ่มทุนก็จะทำให้โครงการเดินหน้าต่อได้ หากไม่เพิ่มทุนก็ต้องเปิดให้เอกชนที่สนใจซื้อหุ้นเพิ่มทุนและกระทรวงการคลังจะมี Dilution
- โครงการเหมืองโปแตชมีความสำคัญมากขึ้นเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน เมื่อเบลารุสซึ่งเป็นพันธมิตรกับรัซเซีย และรัสเซียเองมีกำลังการผลิตแร่โปแตชรวมกันสัดส่วน 41% ของโลกส่งออกแร่น้อยลง และถูกแบนด์จากบางประเทศ ทำให้ Supply ในตลาดโลกลดลง ขณะที่ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการอาหารสูงขึ้น ความต้องการใช้ปุ๋ยมีแนวโน้มสูงขึ้นอยู่เดิมแล้ว ทำให้ราคาปุ๋ยทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้น สำหรับแร่โปแตช ปรับตัวไปสูงราว US$1,000/ตัน ปัจจุบันปรับตัวลงมาบ้างอยู่ที่ราว US$800/ตัน
- มีการคาดการณ์ว่าการเพิ่มกำลังการผลิตของประเทศแคนนาดา และการลดการใช้ปุ๋ยของภาคเกษตร เนื่องจากราคาสูง ทำให้ราคาแร่โปแตซอาจปรับตัวลง 20 – 30% ในปี 2566 หรืออยู่ที่ราว US$550 – 650/ตัน ซึ่งยังเป็นระดับราคาที่สูงกว่าจุดคุ้มทุนค่อนข้างมาก
- เราประเมินมูลค่าจากธุรกิจเหมืองโปแตชของ TRC บนสมมติฐานสัดส่วนการถือหุ้นที่ 25.13% และใช้เงินลงทุนใน APOT จากการเพิ่มทุนทั้งหมด และระยะเวลาที่เหลือของโครงการไม่มีการขยายเวลา จะได้ราคาเหมาะสม 1.23 บาท/หุ้น และหากโครงการเดินหน้า TRC จะกลับรายการสำรองไม่ต่ำกว่า 1.2 พันลบ. เป็นกำไรพิเศษ และหลุดจากการติดเครื่องหมาย C
- แต่เราประเมินว่ามูลค่าส่วนเพิ่มจากในอดีตของโครงการนี้ คือ ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการทำเหมือง คือ โซเดียม และแมกนีเซียมคลอไลร์ ที่ได้ออกมา 6 ส่วน ใน 7 ส่วนของแร่ที่ขุดมาทั้งหมด อีก 1 ส่วนเป็นแร่โปแตช โดยในปี 2566 เป็นปีแรกที่เจ้าตลาดแบตเตอรี่อย่าง CATL และ BYD เริ่มเปิดตัวแบตเตอรี่จาก Sodium-ion ที่ใช้กับรถ EV ซึ่งทำให้ไทยจะได้ประโยชน์จากการมีแหล่งวัตถุดิบต้นน้ำในการผลิตแบตเตอรี่จาก Sodium-ion
- เรามองว่าเป็นโครงการที่จำเป็นต่อประเทศไทย และ APOT ไม่มีประเด็นขัดแย้งกับชุมชน เหลือเพียงความชัดเจนจากกระทรวงการคลังให้โครงการเดินหน้าต่อได้ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทั้งทางด้านอาหาร และสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ในตลาด EV