บล.บัวหลวง:
Bank – มองไปข้างหน้า จะเห็นการเติบโตแข็งแกร่ง (OVERWEIGHT)
การเติบโตของสินเชื่อ NIM ที่เพิ่มขึ้น (หนุนโดยอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น) และการตั้งสำรองฯ ที่เบาลงจะหนุนกำไรในปีนี้ เราให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด สำหรับกลุ่มธนาคาร โดย BBL และ TISCO เป็นหุ้นที่เราชอบที่สุด
กําไรรวมกลุ่มธนาคารในไตรมาส 4/65 ต่ำกว่าเราคาด
ธนาคารทั้ง 8 แห่งที่เราให้คําแนะนํา รายงานกําไรรวมไตรมาส 4/65 ที่ 40.5 พันล้านบาท ลดลง 4% YoY และ 23% QoQ ซึ่งต่ำกว่าที่เราคาด 23% และต่ำกว่าที่ตลาดคาด 21% กำไรของ BBL, KBANK, KKP และ SCB ต่ำกว่าที่เราคาด ส่วนใหญ่เป็นเพราะรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น และการตั้งสำรองฯ ที่มากกว่าคาด ในทางตรงกันข้าม กําไรของ BAY, KTB, TISCO และ TTB นั้นเป็นไปตามที่เราคาดไม่มากก็น้อย ดังนั้น กําไรรวมกลุ่มธนาคารที่เราให้คำแนะนำในปี 2565 อยู่ที่ 196.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.5% YoY
สินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น 2.6% YoY แต่ลดลง 0.6% QoQ
สินเชื่อกลุ่มธนาคารที่เราให้คำแนะนำอยู่ที่ 14.1 ล้านล้านบาทในปี 2565 เพิ่มขึ้น 2.6% YoY แต่ลดลง 0.6% QoQ BAY (สินเชื่อองค์กร) BBL (ทุกประเภท) KTB (สินเชื่อ SME และ SOE) และ TTB (สินเชื่อองค์กร) รายงานสินเชื่อในไตรมาสนี้ลดลง QoQ ที่ 0.8%, 4.1%, 0.7% และ 1.3% ตามลำดับ ในทางกลับกัน KBANK (SME และรายย่อย) KKP (SME และรายย่อย) SCB (องค์กรและรายย่อย) และ TISCO (ทุกประเภท) รายงานพอร์ตสินเชื่อเติบโต QoQ ที่ 1.2% 3.5% 1.3% และ 2.7% ตามลำาดับ
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลง 5.0% YoY แต่การตั้งสํารองเพิ่มขึ้น 15bps YoY
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้รวมของทั้ง 8 ธนาคารอยู่ที่ 4.99 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2565 ลดลง 5.0% YoY และ 0.6% QoQ ในไตรมาส 4/65 KBANK จัดการสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (การจําหน่ายและตัดจําหน่าย) ก่อนการปล่อยสินเชื่อใหม่ BBL ตัดหนี้สูญบางส่วน และคุณภาพสินทรัพย์โดยรวมดีขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ SCB มีแผนปรับโครงสร้างหนี้เพื่อจัดการสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ สิ้นปี 2565 ของ BBL, KBANK, KTB, SCB, TISCO และ TTB ลดลง YoY ในทางตรงกันข้าม BAY และ KKP รายงานอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น YoY ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเสื่อมคุณภาพสินทรัพย์ในพอร์ต สินเชื่อรายย่อย
อัตราการตั้งสำรองเฉลี่ยอยู่ที่ 169bps ในไตรมาส 4/65 เพิ่มขึ้นจาก 155bps ในไตรมาส 4/64 และ 128bps ในไตรมาส 3/65 นำโดย KBANK (การตั้งสำรองเพิ่มขึ้น 207bps YoY ในไตรมาส 4/65 โดยขายสินเชื่อที่ไม่ ก่อให้เกิดรายได้มูลค่าที่ตราไว้ 1.7 หมื่นล้านบาท และตัดจำหน่าย 7.9 พันล้านบาท) และ KKP (เพิ่มการตั้งสำรองขึ้น 16bps YoY เนื่องจากอัตราผิดนัดชำระหนี้ของพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อเพิ่มขึ้น)
กำไรกลุ่มธนาคารที่เราให้คำแนะนำในปี 2566 จะเพิ่มขึ้น 15% YoY
เราคาดกำไรรวมกลุ่มธนาคารที่เราให้คำแนะนำในปี 2566 จะอยู่ที่ 225.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% YoY หนุนจากการตั้งสำรองฯ ที่ลดลง (อัตราการตั้งสำรองเฉลี่ยคาดว่าจะลดลงจาก 138bps ของสินเช่ือในปี 2565 มาอยู่ที่ 130bps ในปี 2566) การเติบโตของสินเช่ือ (เราคาดอยู่ที่ 4.2% YoY) และ NIM ที่เพิ่มขึ้น (หนุนจากสภาวะอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น) เมื่อมองไปยังไตรมาส 1/66 เราคาดว่ากำไรรวมจะทรงตัว YoY แต่เพิ่มขึ้น 25% QoQ (การตั้งสำรองฯ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ลดลง QoQ)