บล.เอเซีย พลัส:

ต้องใช้เวลา

ภาพรวมเป้าหมายทางการเงินปี 2566 ส่วนใหญ่ยังสอดคล้องกับสมมติฐาน ฝ่ายวิจัยจึงคงประมาณการเดิม โดยฝ่ายวิจัยให้สมมติฐาน Credit Cost ที่ 1.97% (ปี 2565 ที่ 2.11%) กรอบบนของเป้าหมายทั้งปี (1.75% – 2.00%) เนื่องจากการเร่งบริหารจัดการ NPL เชิงรุก ผ่านการ Write – off (ต้องสํารองให้เต็มจํานวน จึงจะ Write- off ได้) ยังคงดําเนินต่อให้จบในปีนี้ (ลดลงจากปีก่อน) ประกอบกับภาคการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัว จากการเติบโตในอัตราที่ลดลงของประเทศคู่ค้า กดดันคุณภาพสินทรัพย์ลูกหน้ีที่อยู่ในภาคส่งออก (สัดส่วน 23% ของสินเชื่อธุรกิจ) ทําให้คาด Credit Cost และคุณภาพสินทรัพย์ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงช่วง 1H66

คงคําแนะนํา Switch โดยในกลุ่ม ธ.พ. ใหญ่ เลือก BBL(FV@B174) และ KTB(FV@B20.30) ที่คุณภาพสินทรัพย์ดูชัดเจนกว่า

เร่งจัดการ NPL ต่อให้จบในปีนี้ … มองแนวโน้ม CREDIT COST ยังอยู่สูง

จากการประชุมนักวิเคราะห์ นําโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คุณขัตติยา อินทรวิชัยและ คณะผู้บริหาร เริ่มต้นด้วยมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดการเติบโตของ GDP ไทยที่ 3.7% YoY หนุนด้วยการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว บนสมมติฐานนักท่องเท่ียวต่างชาติมาไทยที่ 25.5 ล้านคน (ปี 2565 ราว 11 ล้านคน) และการบริโภคภาคเอกชนบวก 3.3% YoY ชดเชยภาคการส่งออกชะลอตัว 0.5% YoY ขณะที่มองอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยในปี 2566 อยู่ที่ 1.75% บนแนวโน้มเงินเฟ้อสูงขึ้น 3.2% YoY (ปี 2565 +6.1% YoY) ภาพรวมนําไปสู่เป้าหมายทางการเงินปี 2566 ดังนี้

Loan Growth : ขยายตัว 5% – 7% จากฐานสินเชื่อ 2.495 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปี 2565 (ปี 2565 + 3% YoY) ขับเคลื่อนด้วยสินเชื่อรายใหญ่ (สัดส่วน 35% ของสินเชื่อ ณ สิ้นปี 2565) เพิ่มราว 4% – 6% YoY (ปี 2565 + 7.8% YoY) จากฐานลูกค้าที่อิงกับภาค ท่องเที่ยว ส่วน SME (สัดส่วน 31% ของสินเชื่อ ณ สิ้นปี 2565) เติบโต 10% – 2% YoY (ปี 2565 -1.6% YoY) และลูกค้ารายย่อย (สัดส่วน 28% ของสินเชื่อ ณ สิ้นปี 2565) สูงขึ้น 2% – 4% YoY เน้นไปที่สินเชือกลุ่ม High Yield (Small Ticket)

โดยแม้เป้าหมายสินเชื่อสูงกว่าสมมติฐานฝ่ายวิจัยที่คาดไว้เติบโต 3% YoY แต่มองกรณีที่เป็นไปตามเป้าหมายธนาคารฯ ผลต่อประมาณการไม่ได้มีนัยฯ สะท้อนจาก Sensitivity Analysis (สมมติฐานอื่นคงเดิม) ทุก 1% ของสินเชื่อเพิ่มขึ้น (ลดลง) จากประมาณการ จะทำให้กำไรสุทธิปี 2566 เพิ่มขึ้น (ลดลง) จากประมาณการปี 2566 ของฝ่ายวิจัยราว 0.7%

NIM : 3.3% – 3.45% (ปี 2565 ที่ 3.3%) สอดคล้องกับสมมติฐานฝ่ายวิจัยที่ 3.43% เมื่อรวมกับสมมติฐานอัตราการเติบโตสินเชื่อข้างต้น จะทำให้คาดการณ์รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) ปี 2566 เท่ากับ 1.4 แสนล้านบาท (+ 5.1% YoY) ปัจจัยหนุนจากการปรับเพิ่มขึ้น ของอัตราดอกเบี้ยนโยบายล่าสุดอยู่ที่ 1.50% ซึ่งทาง KBANK มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย M-Rate ตามกลไกลตลาด มีผลตั้งแต่ 30 ม.ค. 66 โดย MOR +0.15%, MLR +0.20% และ MRR +0.10% ที่อัตรา MRR ปรับขึ้นต่ำกว่าอัตราอื่น ฝ่ายวิจัยมองว่าเป็นเพราะ MRR เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้กับกลุ่ม SME ซึ่งยังคงต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวและภาคส่งออกเป็นแรงกดดันในปีนี้ ด้านเงินฝากยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ (สัดส่วน 76% ของเงินฝาก ณ สิ้นปี 2565) ที่ 0.25% ต่อปี แต่ปรับเพิ่มเงินฝากประจำ (สัดส่วน 18% ของเงินฝาก ณ สิ้นปี 2565) อายุ 3 – 24 เดือน ราว 0.05% -0.20%

ทั้งนี้ เป้าหมาย NIM ทั้งปี ถือว่าต่ำกว่า NIM งวด 4Q65 ที่ 3.6% (NII ที่ 3.3 หมื่นล้านบาท) โดยฝ่ายวิจัยเชื่อว่าน่าจะมาจากแนวโน้ม Cost of fund ที่จะทยอยปรับเพิ่มขึ้นตามการ Repricing เงินฝากประจำที่ครบอายุ (ราว 48% ของเงินฝากประจำมีอายุ 12 เดือนขึ้นไป) รวมถึงเงินฝากออมทรัพย์ที่ยังต่ำกว่าปี 2562 ที่ 0.50% สวนทางกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่กลับสู่จุดเดียวกับปี 2562

Net Fee Income Growth : Flat จาก 3.3 หมื่นล้านบาทในปี 2565 (ปี 2565 ลบ 7% YoY) ต่ำกว่าสมมติฐานฝ่ายวิจัยที่ประเมินเติบโต 5% YoY ทางธนาคารฯ ให้เหตุผลว่ามาจากพฤติกรรมลูกค้าปรับไปใช้ธุรกรรมบนช่องทาง Digital ที่มีค่าธรรมเนียมถูกลงมากขึ้น Cost to income Ratio : Low to Mid – 40s (ปี 2565 อยู่ที่ 43.15%) ใกล้เคียงประมาณการฝ่ายวิจัยที่ 43.8%

Credit Cost & NPL Ratio : 1.75% – 200% (ค่าเฉลี่ยเป้าหมายทางการเงินที 187.5%) ลดลงจาก 2.11% ในปี 2565 บนกรอบ NPL Ratio ณ สิ้นปี 2566 ไม่เกิน 3.25% เทียบกับสิ้นปี 2565 ที่ 3,19% ซึ่งทาง KBANK เปิดเผยว่าในปีนี้การเดินหน้าบริหารจัดการ NPL เชิงรุกยังคงดำเนินต่อไปให้จบในปีนี้ โดยฝ่ายวิจัยมองว่าการเร่งบริหารจัดการ NPL เชิงรุก จะช่วยให้งบดุลกลับสู่ปกติเร็วขึ้น และอาจเร็วกว่า ธ.พ. ใหญ่อย่าง SCB ที่ยังมีมูลหนี้ภายใต้ มาตรการราว 12% ของพอร์ตสินเชื่อ SCB สูงกว่า KBANK ที่ 7% ของพอร์ตสินเชื่อธนาคารฯ

แม้ทาง KBANK ประเมินมูลหนี้ที่คาดมีการ Write – off ในปี 2566 จะลดลงจาก 5.9 หมื่นล้านบาทในปี 2565 แต่ฝ่ายวิจัยมองว่าการที่จะ Write-off นั้น ต้องตั้งสำรองครบทั้งจำนวน ซึ่งหากพิจารณาสัดส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (LLR) ของ Stage 3 เทียบสินเชื่อ Stage 3 ณ สิ้นงวด 4Q65 อยู่ที่ 43.8% (ตามรูปขวาด้านล่าง) เทียบที่กับค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ที่ 56% และ ธ.พ. ในกลุ่ม D-Sibs อย่าง KTB ที่ 70.4%, SCB ที่ 61%, BAY ที่ 53% และ TTB ที่ 47% นอกจากนี้แนวโน้มภาคการส่งออกเผชิญแรงกดดันจากการเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอลงของประเทศคู่ค้า อาจส่งผลต่อคุณภาพสินทรัพย์กลุ่มลูกหนี้ที่เกี่ยวกับภาคส่งออก (เฉพาะ Direct export สัดส่วน 23% ของสินเชื่อธุรกิจ) ภาพรวมทำให้ฝ่ายวิจัยยังคงให้สมมติฐาน Credit Cost ใกล้เคียงกรอบบนที่ 1.97% (ค่าเฉลี่ยปี 2559 – 2565 ที่ 1.97%) โดยทุก 10 bps ของ Credit cost ที่เพิ่มขึ้น (ลดลง) จากสมมติฐานจะทำให้กำไรสุทธิปี 2566 เพิ่มขึ้น (ลดลง) ประมาณ 5%

องค์ประกอบรวมเป้าหมายทางการเงินยังใกล้เคียงสมมติฐานฝ่ายวิจัย ดังนั้นจึงยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2566 ที่ 4 หมื่นล้านบาท เติบโต 12% YoY หนุนด้วย Nill เพิ่มขึ้น และ Credit Cost ลดลง ตามที่ได้กล่าวข้างต้น

สำหรับประเด็นการขาย บลจ. กสิกรไทย (K Asset : KBANK ถือหุ้น 100%, มูลค่าเงินลงทุนตามวิธีราคาทุนที่ 2 พันล้านบาท) ทางผู้บริหารธนาคารฯ ให้ความเห็นว่าอยู่ระหว่างพิจารณา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยข้อมูลเบื้องต้น K Asset มี AUM ราว 1.49 ล้านล้านบาท และส่วนแบ่งการตลาดตาม AUM เป็นอันดับ 2 ที่ 18.3% ขณะที่ข้อมูลการดำเนินงาน ณ 1H65 มีกำไรสุทธิ 1.4 พันล้านบาท ลดลงจาก 1.6 พันล้าน บาทในงวด 1H64 ตามภาวะตลาด (ปี 2564 มีกำไรสุทธิ 3.2 พันล้านบาท)

ทั้งนี้ ธุรกรรมดังกล่าวยังไม่เป็นทางการ จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป เนื่องจากยังไม่มีสัดส่วนหุ้นที่ขาย และมูลค่าธุรกรรม (ข่าวจาก Bloomberg ก่อนหน้าเปิดเผยว่าอยู่ที่ประมาณ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่อัตราดอกเบี้ยขยับขึ้นทั่วโลก อาจส่งผลให้มูลค่าธุรกรรมต่ำลงจากตัวเลขข้างต้น) เพื่อประเมินความถูกแพงของธุรกรรมนี้ที่แท้จริง รวมทั้งกำไรที่จะเกิดจากธุรกรรม และผลต่องบกำไรขาดทุนของ KBANK ตามสัดส่วนการถือหุ้นใน บลจ. ที่ลดลง ในกรณีที่ธุรกรรมแล้วเสร็จจริง ตามความเห็นฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักกับการนำกำไรพิเศษไปเพิ่มระดับสำรอง (LLR) เพื่อยกระดับความแข็งแกร่งของงบดุลและช่วยให้ Clean up balance sheet สำเร็จเร็วขึ้น หลังช่วงที่ผ่านมาการ Write-off และขาย NPL ทำให้สัดส่วน LLR/Loan ลงมาอยู่ที่ 5.4% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 6.0% (VS ค่าเฉลี่ย กลุ่มฯ ที่ 6.3%, BBL ที่ 9.4%, KTB ที่ 6.7% และ SCB ที่ 6.1%)

SWITCH … ธ.พ. ใหญ่ เลือก BBL และ KTB

อิงวิธี GGM กำาหนด ROE ระยะยาว 8.8% และ COE คงเดิมที่ 11.% ให้ PBV ที่ 0.73 เท่า ได้ FV ปี 2566 ที่ 159 บาท คงแนะนำ SWITCH มองแรงกดดันด้าน Credit Cost น่าจะยังอยู่ตลอด 1H66 อีกทั้ง LLR/Loan ต่ำกว่าในอดีตและ ธ.พ. ใหญ่อื่นๆ ในกลุ่ม ธ.พ. ใหญ่ เลือก BBL(FV@B174) และ KTB(FV@B20.30)

ทั้งนี้ Upside ต่อคำแนะนำของฝ่ายวิจัยจะมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ดีกว่าคาด ทำ ให้ Credit Cost ต่ำกว่าสมมติฐาน รวมถึงการปิดดีลขาย K Asset ทำให้มีกำไรพิเศษ เพื่อนำมาตั้งสำรอง ยกระดับสัดส่วน LLR/Loan ส่วน Downside ต่อประมาณการจะมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกเลวร้ายกว่าที่คาด อาจส่งผลให้ Credit Cost สูงกว่าสมมติฐาน

ประเด็นความเสี่ยงที่มีน้ำหนักต่อประมาณปี 2566 ของ KBANK

1. กรณีที่สินเชื่อเติบโตต่ำกว่าเป้าหมาย โดยทุกๆ 1% ของคาดการณ์สินเชื่อสุทธิปี 2566 ที่ลดลงจากปัจจุบันที่ประเมินเติบโต 3% yoy จะทำให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลง 0.5% และกำไรสุทธิปี 2566 ลด 0.7% ส่วน FV ไม่เปลี่ยนแปลง

2. NIM ลดลงต่ำกว่าคาด โดยทุกๆ 10bps ของ NIM ที่ปรับตัวลดลงจากคาดการณ์ปี 2566 ที่ 3.4% จะทำให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลง 3% และกำไรสุทธิปี 2566 ลด 7% และ ส่งผลให้ ROE เฉลี่ยปี 2566 – 68 ลดลง 0.2% ซึ่งทำให้ FV ต่ำลงจากเดิม 5 บาท

3. กรณีที่คุณภาพสินทรัพย์มีแนวโน้มแย่กว่าคาด โดยทุกๆ 10bps ของคาดการณ์ Credit Cost ปี 2566 ที่เพิ่มจากปัจจุบันที่ประเมิน 197bps จะทำให้ ECL เพิ่ม 6% จากปัจจุบัน และทำให้กำไรสุทธิปี 2566 ลดลง 4.5% และส่งผลให้ ROE เฉลี่ยปี 2566 – 68 ลดลง 0.1% ทําให้ FV ต่ำลงจากเดิม 2 บาท

- Advertisement -