บล.เอเซีย พลัส:

ไม่ตื่นเต้น

กําไรปกติงวด 3Q65/66 ที่ 392 ล้านบาท (-18% QoQ, +0.1% YoY) โดยการ ลดลง QoQ เกิดจากไม่มีเงินปันผลรับเหมือนงวดก่อน ด้านยอดขายเท่ากับ 3.6 พันล้านบาท (+1.4% QoQ, +2.6% YoY) ต่ำกว่ายอดผลิตรถยนต์ไทย (+5.2% QoQ, +9.7% YoY) ขณะที่ Gross Margin ทรงตัว QoQ ที่ 17.0% (3Q64/65 ที่ 19.0%) แม้ยอดขายมีพัฒนาการหนุน Economies of scale แต่ถูกหักล้างด้วยต้นทุนผลิตสูงขึ้น สําหรับกําไรปกติ 4Q65/66 แม้คาดเติบโต QoQ จากยอดขายตาม ฤดูกาล แต่ YoY ยังท้าทายจาก Gross Margin ที่ 18.8% ในงวด 4Q64/65

อิง PER 10 เท่า ปรับไปใช้ FV ปี 2566/67 ที่ 205 บาท ด้วยยอดขายที่ทําได้ต่ำกว่าอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ประกอบกับแนวโน้มยอดผลิตรถยนต์ไทยปี 2566 ไม่ได้สูงมาก อาจเป็นเหตุให้แนวโน้มการดําเนินงานของ STANLY ไม่โดดเด่นเมื่อเทียบกับกลุ่มฯ จึงปรับลดคําแนะนําจาก ซื้อ เป็น SWITCH ไปยัง AH หรือ SAT

กำไร 3Q65/66 ลดลง QoQ เพราะเงินปันผล ส่วน YOY ทรงตัว

กำไรสุทธิงวด 3Q65/66 (ต.ค. – ธ.ค. 55) เท่ากับ 376 ล้านบาท (-23% QoQ, -5% YoY) หากไม่รวมขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 16 ล้านบาท มีกำไรปกติ 392 ล้านบาท (-18% QoQ, +0.1% YoY) โดยการลดลง QoQ เกิดจากไม่มีเงินปันผลรับตามฤดูกาลเหมือนงวดก่อนที่ 102 ล้านบาท ด้านยอดขายเท่ากับ 3.6 พันล้านบาท (+1.4% QoQ, +2.6% YoY) ทำได้ต่ำกว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มียอดผลิต 5.2 แสนคัน (+5.2% QoQ, +9.7% YoY) ขณะที่ Gross Margin ทรงตัว QoQ ที่ 17.0% (3Q64/65 ที่ 19.0%) มีแรงกดดันจาก Cost push inflation หักล้าง Economies of scale ที่ดีขึ้นตามยอดขาย ซึ่งช่วยให้สัดส่วน SG&A/Sales ลดลงมาที่ 7.6% จาก 7.8% งวดก่อนและช่วงปีก่อน คาดกําไร 4Q65/66 เติบโต QoQ แต่ YOY ยังดูท้าทาย

ภาพรวมกำาไรปกติ 9M65/66 ที่ 1.17 พันล้านบาท (+14% YoY) หนุนด้วยยอดขายเติบโต 7.1% YoY เป็น 1 หมื่นล้านบาท (72% ของสมมติฐานยอดขายทั้งปี) และเงินปันผลรับ (102 ล้านบาท VS 24 ล้านบาทช่วงเดียวกันปีก่อน) ชดเชย Gross Margin อ่อนตัวมาที่ 16.9% จาก 18.2% ช่วงเดียวกันปีก่อน ถือว่าใกล้เคียงสมมติฐานทั้งปี 2565/66 ที่ 17% และสัดส่วน SG&A/Sales เท่ากับ 7.9% (สมมติฐาน FY ที่ 7.8%) สูงขึ้นจาก 7.8% งวด 9M64/65 โดยแม้คาดกำไรปกติ 4Q65/66 เติบโต QoQ จากยอดขายตามฤดูกาล แต่ YoY ยังท้าทายพิจารณาจาก Gross Margin ที่ 18.8% ในงวด 4Q64/65 ที่

ลดคำแนะนําเป็น SWITCH … ไปยัง AH หรือ SAT

อิง PER 10 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ย 5 ปี ปรับไปใช้ FV ปี 2566/67 ที่ 205 บาท ด้วยยอดขายที่ทำได้ต่ำกว่าอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง (2065/66 ยอดขาย STANLY บวก 8% QoQ, 18% YoY VS ยอดผลิตรถยนต์ไทยช่วงเดียวกันบวก 27% QoQ, 35% YoY) ประกอบกับแนวโน้มยอดผลิตรถยนต์ไทยปี 2566 คาดไว้เติบโตราว 2.6% YoY (ปี 2565 บวก 12% YoY) ไม่ได้สูงมาก อาจเป็นเหตุให้แนวโน้มการดำเนินงานของ STANLY ไม่ได้โดดเด่นเมื่อเทียบกับกลุ่มฯ และทำให้ทิศทางราคาหุ้น Underperformer กลุ่มฯ จึงปรับลดคำแนะนำจาก ซื้อ เป็น SWITCH ไปยัง AH(FVQB35) ที่มีธุรกิจกระจายตัวในหลายประเทศและมีแรงขับเคลื่อนจากออเดอร์ใหม่ในปี 2566 หรือ SAT(FV@B23.0) ที่มี Div Yield ราว 7% สูงกว่า STANLY ที่ปี 2565/66F – 67F (จ่ายปีละครั้ง) ที่ 4.5% และ 4.7% ทั้งนี้ Upside ต่อคำแนะนำฝ่ายวิจัยจะมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกดีกว่าประเมิน ส่งผลให้ยอดผลิตรถยนต์ไทยสูงกว่าสมมติฐาน ทำให้ยอดขายและ Gross Margin ดีกว่าคาด ส่วน Downside ต่อประมาณการมาจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมากกว่าคาด

ESG

Environment: บริษัทฯ คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนการผลิต และหาวิธีป้องกัน หรือกำจัด เพื่อไม่ให้มีผลกระทบออกไปภายนอกบริษัท เช่น กระบวนการผลิตที่เกี่ยวกับการพ่นสีเคลือบผิว บริษัทได้จัดทำระบบม่านน้ำเพื่อดักฝุ่นละออง และผ่านกระบวนการการจัดให้กลายเป็นกากสี (Paint Sludge) และมอบหมายให้เฉพาะบริษัทที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ประกอบธุรกิจการให้บริการเกี่ยวกับการกำจัดของเสีย เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการกำจัดและบำบัดของเสียให้กับบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้มีการจัดทาระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO14001 ขึ้นจนได้รับการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) นอกจากนี้บริษัทยังมุ่งมั่นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยพยายามให้วัตถุดิบปราศจากสารอันตราย เช่น ปรอท ตะกั่ว โดยใช้สารทดแทนโดยที่ยังคงคุณสมบัติที่จำเป็นไว้ได้

Social: ทั้งในส่วนของ 1. ลูกค้าได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับลูกค้าโดยเน้นความพึงพอใจ และไว้วางใจจากลูกค้าในด้านผลิตภัณฑ์ทางด้านคุณภาพ ต้นทุน, การจัดส่ง, การพัฒนา, ความปลอดภัย และมนุษย์สัมพันธ์ 2. พนักงานบริษัทฯ กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการดูแลพนักงานครอบคลุมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย สวัสดิการ กิจกรรมสันทนาการ การฝึกอบรมและพัฒนาสิทธิประโยชน์ของพนักงาน สิทธิมนุษยชน โดยได้ยึดถือหลักปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานไทย ซึ่งบริษัทได้รับการรับรอง มรท 8001-2003 (ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2551 จนถึงปัจจุบัน) และได้นำระบบ STAR Plan ของกลุ่มสแตนเลย์ที่ครอบคลุมถึง ค่าจ้าง ระบบตำแหน่ง ลำดับขั้น การโยกย้าย การประเมินผลงาน โดยต้องอยู่บนหลักพื้นฐานยุติธรรม เหมาะสม และยอมรับได้ 3. สังคม ชุมชน ท้องถิ่น เข้าร่วม สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ในท้องถิ่น อย่างสม่ำเสมอ อาทิ วัด โรงเรียน และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผ่านมูลนิธิ สแตนเลย์ประเทศไทย เช่น มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน

Governance: บริษัทฯ ได้จัดทำจรรยาบรรณของกรรมการและพนักงาน เพื่อให้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้กรรมการ, ผู้บริหารและพนักงานรับทราบและถือปฏิบัติ ทั้งนี้ ได้บรรจุเรื่องวิสัยทัศน์และจรรยาบรรณไว้ในหลักสูตรปฐมนิเทศน์ของกรรมการ, ผู้บริหาร และพนักงานใหม่ โดยบริษัทฯ ได้รับ CG Report Rating ที่ระดับดีมาก

- Advertisement -