บล.หยวนต้า (ประเทศไทย):
Action BUY (Maintain)
TP upside (downside) +18.4%
Close Feb 3, 2023 Price (THB) 12.50
12M Target (THB) 14.80
Previous Target (THD) 13.50
What’s new?
- คาดกำไรปกติ 4Q65 ที่ 185 ลบ. ทรงตัว QoQ ได้ แม้เป็นช่วง Low Season และเติบโต 39.5%YoY ซึ่งดีกว่าเดิมที่เราประเมินว่าจะชะลอลง QoQ เนื่องจากแนวโน้มการเติบโตของชาเขียวที่แข็งแกร่ง และสินค้าใหม่ที่ได้ผลตอบรับดี
- แนวโน้มราคาต้นทุนบรรจุภัณฑ์มองว่าผ่านจุดสูงสุดแล้ว รวมถึงการปรับสูตรลดน้ำตาลจะหนุน CPM ในปี 2566 ระยะยาวของบริษัท
- คาดปันผลจ่ายงวดปี 2565 ที่ 0.55 บาท/หุ้น หรือคิดเป็น Div Yield 4.4%
Our view
- เรามีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มกำไรของ ICHI ในปี 2566 จากการเติบโตทั้งในสิ่งของรายได้ตามการรับรู้ รายได้ของสินค้าใหม่ได้เต็มปี, ตลาดชาเขียวที่เติบโตต่อตามการบริโภคในประเทศ และอัตรากำไรสุทธิที่จะสูงขึ้นตามแนวโน้มราคาต้นทุน และ U-rate ที่สูงขึ้น
- เราปรับประมาณการกำไรปี 2565-66 ขึ้นอีก 3% และ 5% ตามลำดับ และปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 14.80 บาท คงคำแนะนำ ซื้อ และเลือกให้เป็น Top pick กลุ่มเครื่องดื่มสำหรับ 1H66
ICHITAN GROUP ไม่ได้มีดีแค่ชาเขียวอีกต่อไป
คาดเป็น 4Q65 ที่มีกำไรแข็งแกร่งที่สุดในรอบ 8 ปี
เราคาดกำไรปกติ 4Q65 ที่ 185 ลบ. (-3.7% QoQ, +39.5% YoY) ทรงตัว QoQ ได้แม้เป็นช่วง Low Season ของธุรกิจ และเป็นระดับกำไร 4Q ที่สูงที่สุดในรอบ 8 ปี ซึ่งดีกว่าเดิมที่เราประเมินว่าจะชะลอลง QoQ มีสาเหตุหลักจากการเติบโตของตลาดชาเขียวที่แข็งแกร่ง คาดเติบโต 20% YoY คิดเป็นมูลค่าราว 3.4 พันลบ. ตามการฟื้นตัวของภาคบริโภคในประเทศ และการมุ่งเน้นจำหน่ายเครื่องดื่มไซส์เล็กมากขึ้น หนุนอัตราการใช้กำลังการผลิต (U-rate) ใน 4Q65 ให้อยู่ที่ 63% ลดลงเล็กน้อยจาก 65% ใน 3Q65 แต่สูงขึ้นจาก 4Q64 ที่ระดับ 45-50% ประกอบกับการรับรู้รายได้จากสินค้าใหม่ Tansansu ซึ่งได้รับผลตอบรับดี คาดหนุนรายได้ราว 60 – 80 ลบ. ใน 4Q65 ซึ่งเป็นสินค้าที่มี GPM สูงกว่าค่าเฉลี่ย นอกจากนี้ราคาต้นทุนบรรจุภัณฑ์ที่ปรับลงตามราคาพลังงาน และรับรู้ผลการปรับสูตรลดน้ำตาลของกลุ่มชาเขียวไซส์เล็ก (280 ml) ให้ต่ำกว่า 6% เป็นไตรมาสแรกทำให้จะถูกยกเว้นภาษี และประหยัดภาษีน้ำตาลได้ราว 0.03 บาท/ขวด หนุน GPM ให้ฟื้นตัวเป็น 20.2% จาก 3Q65 และ 4Q64 ที่ 19.5% และ 18.2% ตามลำดับ
ปี 2566 คาดกำไรทําระดับสูงสุดใหม่ในรอบ 8 ปี
เราคาดกำไรปกติของ ICHI ในปี 2566 จะเติบโตทำระดับสูงสุดใหม่ในรอบ 8 ปี และเห็นการเติบโต YoY ได้ทุกไตรมาส จากรายได้ที่จะเติบโตทั้งจากกลุ่มสินค้าหลักเดิมที่คาดจะเติบโตต่อตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ รวมถึงการส่งออกที่กลับมาเติบโต YoY และรับรู้รายได้จากสินค้าตัวความหวังใหม่ Tansansu ได้เต็มปี โดยบริษัทตั้งเป้ารายได้ที่ 600 ลบ. รวมถึงรายได้จากการรับจ้างผลิต (OEM) ที่จะทยอยมีสูงขึ้น ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาลูกค้าใหม่ต่อเนื่อง หนุน U-rate นอกจากนี้เราประเมินว่าแนวโน้มต้นทุนของบริษัทได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ซึ่งจะฟื้นตัวมากขึ้นในปี 2566 ประกอบกับรับรู้ผลของการปรับลดปริมาณน้ำตาล ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีความหวานในกลุ่มเครื่องดื่มไซส์เล็กได้เต็มปี หนุน GPM
ปรับประมาณการกำไรปี 2565-2566 ขึ้นอีกครั้ง
เรามีมุมมองเป็นบวกมากขึ้นต่อแนวโน้มผลกำไรของ ICHI ที่รายได้จะเติบโตได้มากขึ้นจากสินค้าใหม่ และอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงขึ้นตาม Urate และการปรับสูตรลดน้ำตาล จึงปรับประมาณการกำไรปี 2565-2566 ขึ้นอีกครั้งที่ 3% และ 5% เป็น 645 ลบ. (+18.0 %YoY) และ 740 ลบ. (+14.7% YoY) ตามลำดับ ซึ่งยังเป็นการปรับขึ้นแบบระมัดระวัง และเป็นระดับที่ต่ำกว่าเป้าหมายของบริษัท (บริษัทตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ในปี 2566 ที่ 15% YoY และ GPM ไม่ต่ำกว่า 20%)
ปรับราคาเหมาะสมขึ้น และเลือกเป็น Top pick กลุ่มเครื่องดื่ม
ผลของการปรับประมาณการกำไรขึ้น ทำให้ราคาเป้าหมายใหม่ ณ สิ้นปี 2566 ถูกปรับขึ้นเป็น 14.80 บาท (อิงวิธี DCF, Wacc 9.2%, t.g. 3.0%) เทียบเท่ากับ PER ที่ 26.0 เท่า คาดปันผลจ่ายงวดปี 2565 ที่ 0.55 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend Yield 4.4% ช่วยจำกัด Downside risk ของราคาหุ้น ราคาปัจจุบันซื้อ ขายที่ PER66 เพียง 22.0 เท่า คงคำแนะนำ “ซื้อ” และเลือกเป็น Top pick กลุ่มเครื่องดื่มสำหรับ 1H66
มอง Tansansu เป็นสินค้าความหวังหลักที่จะหนุนการเติบโตรอบใหม่ของ ICHI
Tansansu เครื่องดื่มอัดลมสไตล์บาหลีตัวแรกของบริษัท ได้รับผลตอบรับที่ดีมากตั้งแต่เริ่มวางจำหน่าย ในช่วงปลายเดือนต.ค. และมีการขาดตลาดเป็นบางช่วง โดยเจาะตลาดกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบในวัฒนธรรมเกาหลี ซึ่งคาดหนุนรายได้เดือนละราว 30 – 50 ลบ. แม้จะยังไม่ได้ทำการตลาดจริงจัง (มีเพียงโปรโมชั่น ณ จุดขาย + สื่อ Outdoor และออนไลน์) และออกวางจำหน่ายเพียง 2 SKUs เท่านั้น โดยเรามองว่าสินค้าชนิดนี้ยังเติบโตได้อีกมาก เนื่องจาก
1) ปัจจุบันยังมีช่องทางการจำหน่ายหลัก คือ ร้านสะดวก 7-Eleven และเพิ่งเริ่มขยายสู่ Modem Trade (MT) เจ้าอื่นๆ อาทิ TOP, BigC, Max Value เป็นต้น ในเดือนธ.ค. จึงมองว่ายังมีโอกาสในการเติบโตผ่านการขยายช่องทางจัดจำหน่ายได้ทั้งบนช่องทาง MT และร้าน Traditional Trade (TT) อาทิ ร้านค้าทั่วไป, ร้านโชว์ห่วย เป็นต้น ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
2) เป็น First Movers ในสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มอัดลมสไตล์เกาหลีที่ไม่มีน้ำตาล ทำให้มีโอกาสในการขยายตลาดได้ก่อนคู่แข่ง และสร้างการรับรู้แบรนด์ของลูกค้าได้มากกว่า โดยตลาดภาพรวมของน้ำอัดลมในประเทศ 9M65 (อิง Nielsen) มีการเติบโต 5.5% YoY โดยกลุ่มที่มีการเติบโตสูงสุด คือ กลุ่มน้ำอัดลมประเภทไม่มีน้ำตาลที่มีการเติบโตสูงถึง 57.2% YoY ดังนั้นมองว่า Tansansu จึงเป็นสินค้าที่อยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีการเติบโตโดดเด่น
3) เพิ่งวางจำหน่ายเพียง 2 SKUs เทียบกับเครื่องดื่มโซจูที่มีรสชาติไม่ต่ำกว่า 10 รสชาติในตลาด จึงคาดจะได้เห็นสินค้า Tansansu รสชาติใหม่เพิ่มมากขึ้นตลอดปี 2566
4) มองว่าการตลาดยังทำได้อีกมากจากปัจจุบัน โดยเราประเมินว่าบริษัทจะทำการตลาดจริงจังเพิ่มขึ้นในปี 2566 กระตุ้นยอดขายและสร้างการรับรู้แบรนด์ โดยบริษัทยังตั้งเป้าค่าใช้จ่ายการขายต่อรายได้รวมที่ 4.5 – 5.0% ในปี 2566 เทียบกับ 4.5% ในปี 2565 มองว่าไม่ใช่ปัจจัยที่ต้องกังวล เนื่องจากเป็นสินค้าที่เห็นผลตอบรับว่าสามารถทำการตลาดได้ดี เบื้องต้นบริษัทให้ข้อมูลว่าอยู่ระหว่างการเจรจากับศิลปินรายใหญ่ในวงการ K-Pop คาดจะมีการเซ็นสัญญาและเปิดตัวเร็วๆ นี้ คาดจะได้รายละเอียดเพิ่มเติมในประชุมนักวิเคราะห์ครั้งถัดไปในวันที่ 8 มี.ค. 2566
5) หากได้ศิลปิน K-Pop รายใหญ่มาเป็น Presenter สินค้าจริง เรามองว่าจะเป็นการสร้างการเติบโตของยอดขายได้อย่างก้าวกระโดดในระยะยาว จาก Soft Power ของวงการ K-Pop ที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นไทยค่อนข้างมาก นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสในการขยายตลาดต่างประเทศได้อีกทาง เพราะอุตสาหกรรม K-Pop เป็นที่นิยมทั่วโลก รวมไปถึงตลาด CLMV ที่บริษัทมีการส่งออกไปอยู่แล้ว ตลาดอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่บริษัทมี MV อยู่ รวมถึงกลุ่มประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ซึ่งจะเป็น Upside ต่อประมาณการ
จะได้ประโยชน์จาก Operating Leverage มากขึ้น ตามปริมาณขายที่สูงขึ้น
นอกจากสินค้าใหม่ คาดจะได้รับผลตอบรับที่ดีต่อเนื่อง และตลาดชาเขียวพร้อมดื่มทั้งในประเทศและต่างประเทศ กลับมาสู่โหมดการเติบโตตามการฟื้นตัวของภาคการบริโภคแล้วนั้น สัดส่วนรายได้จากการรับจ้างผลิตให้กับผู้ประกอบการรายอื่นที่สูงขึ้น ล้วนแต่เป็นส่วนหนุนอัตราการใช้กำลังการผลิต (U-rate) ของบริษัท ซึ่งเป็นบวกต่อประสิทธิภาพการทำกำไร เนื่องจาก ICHI เป็นบริษัทมีต้นทุนคงที่ที่สูง และมีค่าเสื่อมต่อรายได้สูงถึงราว 11% เทียบกับกลุ่มเครื่องดื่มที่ราว 2-5% ดังนั้น U-mate ที่สูงขึ้นจะเป็นปัจจัยหนุน GPM และอัตรากำไรสุทธิของบริษัท โดยปัจจุบันบริษัทมี U-rate อยู่ที่เพียง 60-65% ซึ่งยังเพียงพอที่จะรองรับการเติบโต 3-5 ปี โดยที่ไม่ต้องมีการลงทุนขนาดใหญ่เพิ่มเติม
ปรับสูตรลดน้ำตาลทำให้จะโดนผลกระทบของภาษีความหวานที่จะถูกปรับขึ้น
การปรับสูตรลดปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มเป็นสิ่งที่บริษัทพัฒนาสูตรและดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นผลสำเร็จแล้วตั้งแต่ 4Q65 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้เครื่องดื่มเทียบ Portfolio บริษัท ไม่ต้องเสียภาษีความหวานจากเดิมที่เสียอยู่เฉลี่ยราว 0.3 บาท/ขวด โดยเหลือเพียงกลุ่ม SKU ที่เป็นไซส์ใหญ่ที่ยังเสียค่าภาษีความหวาน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเพียงราว 7-10% ของรายได้รวมของบริษัท คาดจะหนุน GPM ของ ICHI ได้ราว 30 bps ต่อปี เพิ่มประสิทธิภาพการทำกำไรของบริษัท และทำให้บริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบของการปรับขึ้นอัตราภาษีความหวานของกรมสรรพสามิตรที่จะมีผลตั้งแต่เดือน เม.ย. 2566 เป็นต้นไป
ดังนั้น ประกอบกับแนวโน้มราคาต้นทุนบรรจุภัณฑ์ที่ผ่านจุดสูงสุดตามทิศทางราคาเม็ดพลาสติกและราคาพลังงานในตลาดโลกจะหนุนให้ GPM ในปี 2566 คาดฟื้นตัวเป็น 19.4% ใกล้เคียงกับระดับปี 2564 ที่ยังไม่โดนผลกระทบด้านราคาต้นทุน ซึ่งยังเป็นระดับที่ Conservative กว่าเป้าหมายของบริษัทที่ไม่ต่ำกว่า 20.0% ทำให้มองว่าประมาณการของเรายังมี Upside