บล.หยวนต้า (ประเทศไทย):
Action BUY (Maintain)
TP upside (downside) +44.7%
Close Feb 6, 2023 Price (THB) 9.95
12M Target (THB) 14.40
Previous Target (THB) 14.40
What’s new?
- คาดกำไรปกติ 4Q65 ที่ 168 ล้านบาท ลดลง YoY และ QoQ และต่ำกว่าที่เราประเมินไว้ 1) ปริมาณขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่นที่ลดลง YoY และ QoQ หลังหิมะตกหนักกว่าคาด และ 2) ต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นมาก YoY และ QoQ
- กำไรปกติ 1Q66 มีแนวโน้มลดลง YoY จากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น แต่มีโอกาสฟื้นตัว QoQ จากการปรับอัตราดอกเบี้ยของเงินที่เบิกในช่วง 4Q65 ให้เป็นแบบคงที่ (ดอกเบี้ยลดลงราว 60-70bps)
Our view
- คงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2566 ที่ 14.40 บาท/หุ้น มี Upside +44.7% คงคำแนะนำ “ซื้อ”
- ในระยะสั้นราคาหุ้นมีโอกาสถูกกดดันจากกำไร 4Q65 ที่อ่อนแอ แต่คาดมี Downside จำกัด เนื่องจากราคาปัจจุบันซื้อรายบน PER2566 ที่ 11.6 เท่า ต่ำกว่ากลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ซื้อขายบน PER2566 ราว 13-21 เท่า
- ในระยะกลาง SSP มีประเด็นการเก็งกำไร คือ 1) การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรอบใหม่ของ กกพ. 2) การ ประกาศแผน PDP 8 ของเวียดนาม และ 3) การเข้าลงทุนในโครงการใหม่และธุรกิจใหม่
SERMSANG POWER กำไรปกติ 4Q65 อ่อนแอจากต้นทุนทางการเงินที่สูง
กําไรปกติ 4Q65 ถูกกดดันจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น
คาดกำไรปกติ 4065 ที่ 168 ล้านบาท (-35% QoQ, +6% YoY) ต่ำกว่าที่เราเคยประเมินไว้ก่อนหน้ามาก แม้ เริ่มเข้าสู่ช่วง High Season ของโรงไฟฟ้าพลังงานลมในไทยและเวียดนาม (ช่วงเดือน พ.ย. – ก.พ.) และมี การรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากวินชัย (เข้าลงทุนใน 1065) แต่คาดกำไรปกติลดลง YoY จาก 1) คาดปริมาณ ขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่นลดลงราว -8% YoY เพราะหิมะที่ตกมากขึ้น YoY เป็นปัจจัย กดดัน Capacity Factor ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และ 2) คาดต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น +81% YoY หลังมีการเบิกเงินกู้เพิ่มเติมเพื่อนำไปจ่ายค่า EPC Financing ของโครงการในเวียดนาม (ราว 2 พันล้านบาท) คาดกำไรปกติลดลง QoQ เพราะ 1) ปัจจัยฤดูกาลของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่น 2) การปิดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าชีวมวล UPT ราว 7 วัน และ 3) ต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นราว -61% QoQ หากกำไรปกติ 4065 ออกมาใกล้เคียงคาด จะส่งผลให้ประมาณการปี 2555 ของเรามี Downside ราว 6%
คาดกำไร 1Q66 สามารถฟื้นตัวได้ QoQ
กำไรปกติ 1Q66 มีแนวโน้มลดลง YoY จากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น YoY และการรับรู้ผลกระทบจากการขายโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Hidaka ออกไปในช่วง 2Q65 ขณะที่ QoQ คาดกำไรปกติสามารถฟื้นตัวได้จาก 1) การได้รับอานิสงส์จากการปรับขึ้นค่า Ft ของ กกพ. รอบเดือน ม.ค. – เม.ย. 2566 2) ปัจจัยฤดูกาลของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่น 3) รายได้จากโรงไฟฟ้าชีวมวล UPT ที่ฟื้นตัว QoQ หลังไม่มีการปิดซ่อมบำรุงเหมือนใน 4Q65 และ 4) ต้นทุนทางการเงินที่มีแนวโน้มลดลง QoQ หลังมีการปรับให้เงินกู้ที่เบิกเพิ่มในช่วง 4Q65 มีอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ ตามสัญญาการกู้เงินกับธนาคารพาณิชย์ (ต้องมีการปรับอัตราดอกเบี้ยจากแบบลอยตัวเป็นแบบคงที่ภายใน 6 เดือนหลังมีการเบิกเงินกู้) และทำให้ต้นทุนทางการเงินสำหรับเงินกู้ดังกล่าวลดลงราว 60-70bps
ในระยะสั้นอาจถูกกดดันจากงบ 4Q65 ที่ไม่สดใส..แต่ Downside มีไม่มากแล้ว
คงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2566 ที่ 14.40 บาท/หุ้น มี Upside +44.7% ในระยะสั้นราคาหุ้นมีโอกาสถูกกดดันจากแนวโน้มงบ 4Q65 ที่อ่อนแอ อย่างไรก็ตาม ราคาปัจจุบันซื้อขายบน PER2566 เพียง 11.5 เท่า ต่ำกว่ากลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ซื้อขายบน PER2566 ราว 13-21 เท่า จึงมองว่าหุ้นมี Downside ที่ค่อนข้างจำกัดแล้ว นอกจากนี้ในระยะกลาง SSP มีประเด็นการเก็งกำไร 3 ประเด็นคือ 1) การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรอบใหม่ของ กกพ. โดยคาดจะได้รับกำลังผลิตใหม่ไม่ต่ำกว่า 50MWe (เทียบกับกำลังผลิตในปัจจุบันที่ราว 232MWe) 2) การประกาศแผน PDP 8 ของเวียดนามในช่วง 1H66 และ 3) การเข้าลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าใหม่และธุรกิจใหม่ (คาดมีความชัดเจนมากขึ้นภายใน 1H66) คงคำแนะนำ “ซื้อ”