บล.หยวนต้า (ประเทศไทย): 

Action TRADING (Maintain)

TP upside (downside) +2.2%

Close Feb 10, 2023 Price (THB) 156.50

12M Target (THB) 160.00

Previous Target (THB) 165.00

What’s new?

  • ประกาศงบ 4Q65 ขาดสุทธิที่ 902 ล้านบาท อ่อนแอลง QoQ และ YoY ต่ำกว่าที่ตลาดประเมินไว้
  • แม้รายได้จะขยับขึ้นจากการปรับเพิ่มราคาขาย แต่ไม่สามารถชดเชยต้นทุนวัตถุดิบ, ถ่านหินไฟฟ้า และการซ่อมบำรุงที่เพิ่มขึ้น ทำให้ GPM ต่ำสุดรอบ 24 ปี นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายพิเศษจากขาดทุน FX และการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี ในประเทศศรีลังกา 798 ล้านบาทเข้ามากดดัน

Our view

  • ปี 2506 คาดอุปสงค์การใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศไทย-เวียดนามดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม เรายังเห็นความเสี่ยงจากประเด็นด้านต้นทุนพลังงาน (ถ่านหิน-ไฟฟ้า) ส่งผลให้เราปรับลดคาดการณ์กำในปี 2566 ล’ 21% เป็น 2.9 พันล้านบาท
  • ราคาเหมาะสมใหม่ 160.00 บาท คงคําแนะนำ TRADING เพราะหุ้นจ่ายเงินปันผลสูงสม่ำเสมอ (8-10 บาทในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา) ทั้งนี้ ระยะสั้นยังไม่ต้องรีบเข้าลงทุน คาดหุ้นตอบรับเชิงลบจากงบที่ต่ำกว่าคาด และตลาดมีโอกาส Downgrade กำไรปี 2566 ลง

SIAM CITY CEMENT พลิกขาดทุนแย่กว่าคาด

รายงานงบอ่อนแอกว่าคาด เผชิญแรงกดดันจากต้นทุน ค่าใช้จ่ายพิเศษ

ประกาศงบ 4Q65 ขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 902 ล้านบาท (พลิกจากกำไร 603 ล้านบาทใน 3Q65 และกำไร 1.1 พันล้านบาทใน 4Q64) ต่ำกว่าที่ Bloomberg Consensus ประเมินว่าจะมีกำไรราว 1-2 ร้อยล้านบาท ภาพรวมแม้รายได้จะเพิ่มขึ้น QoQ และ YoY เล็กน้อย ซึ่งเป็นผลจากการปรับขึ้นราคาจำหน่ายปูนซีเมนต์ อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานหลักอ่อนแอ เพราะการขึ้นราคาขายยังไม่เพียงพอชดเชยต้นทุนวัตถุดิบ ถ่านหิน, ค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังมีต้นทุนการซ่อมบำรุงเตาเผาปูนซีเมนต์เข้ามาเพิ่ม ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นทำได้เพียง 19.6% (-350bps QoQ, -1,290bps YoY) ต่ำสุดรอบ 24 ปี ขณะที่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ยังอยู่ระดับต่ำ สำหรับตลาดในประเทศไทยยังถูกกดดันจากการก่อสร้างภาคที่อยู่อาศัย และภาคพาณิชย์ที่ยังไม่ฟื้นตัว ตลาดในเวียดนามได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดการปล่อยสินเชื่อของอสังหาริมทรัพย์ ตลาดในศรีลังกาได้รับปัจจัยลบจากปัญหาเศรษฐกิจ, อัตราเงินเฟ้อ, และการแข่งขันที่รุนแรง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยกดดันจากรายการพิเศษ 798 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุหลักมาจากขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน และการบันทึกผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีในประเทศศรีลังกาจาก 18% เป็น 30%

ปี 2566 ยังเห็นความเสี่ยงด้านต้นทุนพลังงาน

สำหรับปี 2566 เรามองว่ารายได้ยังมีการเติบโต YoY หนุนจากการปรับราคาขายขึ้นให้สะท้อนต้นทุน และการเพิ่มขึ้นของปริมาณขาย โดยเฉพาะธุรกิจในประเทศไทย (สัดส่วนรายได้ราว 65%) ที่ได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจตามอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทำให้การก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย – โครงการเชิงพาณิชย์ขยายตัว และการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังมีทิศทางที่ดี รวมทั้งธุรกิจในเวียดนาม (สัดส่วนรายได้ราว 15%) ฟื้นตัวจากการก่อสร้าง Infrastructure Projects และการย้ายฐานผลิตของภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกข้างต้นจะถูกชดเชยด้วย 1) ปัญหาการเมือง – ค่าเงินในศรีลังกา กระทบต่อความต้องการใช้ 2) แรงกดดันด้านต้นทุนพลังงาน โดยเฉพาะการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า Ft ท่ามกลางต้นทุนถ่านหินยังอยู่ระดับสูง 3) ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทลูกลดลง (LANNA)

ปรับประมาณการ ระมัดระวังมากขึ้น

จากเหตุผลข้างต้น เราปรับปรุงสมมติฐานให้มีความระมัดระวังมากขึ้น โดยปรับอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ลงเป็น 24% (เดิม 30%) ส่งผลให้ประมาณการปี 2566 ลดลง 21% มาอยู่ที่ 2.9 พันล้านบาท (+55% YoY) จากฐานต่ำในปี 2565 ที่มีปัจจัยถ่วงจากรายการพิเศษ

ประเมินราคาเหมาะสมใหม่ 160.00 บาท

ปรับราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2566 ลงเป็น 160.00 บาท (เดิม 165.00 บาท) อ้างอิง PER ที่ 16.5 เท่า ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หุ้นมีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ 8-10 บาท/หุ้น (Payout ratio 63-164%) หากอ้างอิงคาดการณ์ เงินปันผลปี 2566 ของเราที่ 8.00 บาท/หุ้น (Payout 83%) ราคาเหมาะสมของเราจะ Implied ได้ Dividend Yield สูง 5% จึงมองว่ามูลค่าพื้นฐานของเราที่ 160.00 บาท มีความเหมาะสม

หุ้นปันผลสูง แต่ระยะสั้นเผชิญความเสี่ยงปรับลดประมาณการ

คงคำแนะนำ TRADING สำหรับการลงทุนรับเงินปันผล โดยบริษัทฯ ประกาศจ่ายเงินปันผลงวดปี 2565 ที่ 9.00 บาท/หุ้น (Yield 5.8%) ขึ้น XD วันที่ 23 ก.พ. และจ่ายเงินวันที่ 12 เม.ย. อย่างไรก็ตาม ระยะสั้นคาดหุ้นตอบรับเชิงลบจากงบต่ำกว่าคาด และตลาดมีโอกาสปรับลดประมาณการปี 2566 ลง

- Advertisement -