สรุปภาวะตลาด
วันอังคารที่ผ่านมา ในภาคเช้าดัชนีแกว่งตัวในแดนลบเป็นส่วนใหญ่ แต่ในภาคบ่ายแรงซื้อเร่งตัวขึ้น จากกรณีที่นายก ออกมายอมรับว่าแนวโน้มการยุบสภาน่าจะเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือน มี.ค. ทำให้มีแรงซื้อในหุ้นกลุ่มค้าปลีก และอาหาร ที่ได้ประโยชน์จากการจับจ่ายใช้สอย ในช่วงเลือกตั้ง ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,668.63 จุด +10.94 จุด +0.66% มูลค่าการซื้อขาย 66,040 ลบ. ต่างชาติ-4,247.95 ลบ. TFEX +4,562 สัญญา ตราสารหน้ี +4,845.40 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ IMF เผยรายงานว่า อุปสรรคทางเศรษฐกิจที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเผชิญเมื่อปีที่ผ่านมานั้นเริ่มลดน้อยลงบ้าง แล้ว โดยภาวะทางการเงินโลกเริ่มผ่อนคลาย ราคาอาหารและน้ำมันปรับตัวลง และเศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัวขึ้น
+ กิจกรรมเศรษฐกิจของฝรั่งเศสขยายตัวเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่เดือนต.ค.ปีที่แล้วในเดือนก.พ. โดยได้แรงหนุนจากแรงกดดันเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงเล็กน้อยและตลาดงานที่แข็งแกร่ง
+ ครม. มีมติเห็นชอบโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ หรือโครงการบ้านล้านหลังระยะที่ 3 ของธนาคาร อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โดยมีวงเงินโครงการ 20,000 ล้านบาท
+ ส.อ.ท. เปิดเผยว่า ยอดการผลิตรถยนต์เดือนม.ค 2566 ผลิตได้ 157,844 คัน เพิ่มขึ้น 4%YoY จากการผลิตเพื่อส่งออก 91,532 คัน เพิ่มขึ้น 7%YoY
+ นายกรัฐมนตรีชี้แจงไทม์ไลน์การเลือกตั้งต่อที่ประชุม ว่ากำหนดการยุบสภาจะมีภายในเดือน มี.ค.2566 ส่วน กรอบเวลาเลือกตั้งเป็นไปตามที่ กกต.ประกาศไว้ คือ 7 พ.ค. 2566
ปัจจัยลบ –
– ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลง 697.10 จุด หรือ -2.06% นลท. กังวลว่าข้อมูลที่บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของกิจกรรมทางธุรกิจในสหรัฐจะผลักดันให้เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นเวลานานขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดัน จากผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทค้าปลีก และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน
– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 18 เซนต์ -0.24% ปิดที่ 76.16 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน
– ดัชนี PMI รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นเดือน ก.พ.ของสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับ 50.2 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน จากระดับ 46.8 ในเดือนม.ค. โดยดัชนีที่สูงกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคธุรกิจของสหรัฐมีการขยายตัว
– อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี พุ่งขึ้นแตะระดับ 3.95% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. 2565 เมื่อคืนนี้
– ปธน.วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียกล่าวแถลงนโยบายประจำปีต่อสมัชชาแห่งชาติว่ารัสเซียจะยังคงเดินหน้าทำ สงครามในยูเครนต่อไป
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีวันน้ีมีโอกาสปรับตัวลงตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยมีแรงกดดันจากความกังวลว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นเวลานานขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ขณะที่ปัจจัยในประเทศมีแรงหนุนจากการที่นายกฯ ประกาศยุบสภาภายในเดือนมี.ค. มองกรอบดัชนีในวันน้ีที่ 1,660-1,675 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- จีนเปิดประเทศ+เราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 : MINT CENTEL ERW SPA AU SHR
- หุ้น mai เด่นปี 66 : SPA D CEYE AU
- หุ้นเช่ือมโยงการเมือง : TKS SIRI PR9 SC STEC
- หุ้นเข้าคำนวณ MSCI Global Standard : เข้า BANPU ออก – , MSCI Global Small Cap : เข้า AURA BTG ONEE SNNP และ THCOM ออก BANPU COM7 TIDLOR และ TISCO มีผล 28 ก.พ.นี้
- BOI ส่งเสริมการลงทุนช้ินส่วน EV : EA GPSC BCP DELTA PIMO FPI
หุ้นรายงานพิเศษ
READY – บริษัท เรดดี้แพลนเน็ต จำกัด (มหาชน) mai / TECH (ราคา IPO 7.30 บาท) ราคาเหมาะสม consensus 9.30-10.20 บาท
- READY ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการขาย และการตลาดดิจิทัลแบบรวมเป็นหนึ่งเดียว (All-in-One Sales and Marketing Platform) ที่ครอบคลุมด้านเว็บไซต์ (Website), โฆษณาออนไลน์ (Online Advertising), ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) และ ระบบจองโรงแรมโดยตรง (Hotel Direct Booking) โดยให้บริการผ่านแพลตฟอร์มที่บริษัทเป็นผู้พัฒนาขึ้นเองพร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา
- บริษัทมีรายได้ปี 62-64 และงวด 9M65 เท่ากับ 256 ลบ. 143 ลบ. 146 ลบ. และ 118 ลบ. ตามลำดับ และ รายงานผลประกอบการ ปี 62-64 และงวด 9M65 มีกำไรสุทธิที่ 34 ลบ. -99 ลบ. 14 ลบ.และ 14 ลบ. ตามลำดับ สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ดีขึ้นในช่วงปี 2565 ทำให้รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการ ต่างๆ และเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ รวมถึงมีการออกโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ตทยอยฟื้นตัวขึ้น บริษัทฯ จึงมีรายได้จากการให้บริการแพลตฟอร์มการจองโรงแรมโดยตรง เพิ่มขึ้น
- จำนวนหุ้น IPO ไม่เกิน 35.0 ล้านหุ้น คิดเป็นไม่เกิน 35.0% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด มูลค่าที่ตราไว้ 0.50 บาท ต่อหุ้น โดยราคา IPO คิดเป็น historical P/E ที่ประมาณ 31.74 เท่า คิดเทียบกับ P/E บริษัทที่ใกล้เคียงกัน ได้แก่ HUMAN 59.06x IIG 42.64x และ NETBAY 33.76x วัตถุประสงค์การระดมทุน 1) ใช้สำหรับพัฒนา ผลิตภัณฑ์ 2) ใช้สำหรับขยายทีมขายและทีมการตลาด ในการหาลูกค้าใหม่ 3) เป็นเงินทุนหมุนเวียน
หุ้นมีข่าว
(+) GPSC (Bloomberg consensus 80.00 บาท) จ่อรับรู้รายได้จากกำลังการผลิตใหม่เพิ่ม 350 เมกะวัตต์ อัดฉีดงบ 1.5 หมื่นล้านบาท เดินหน้าหาการลงทุนโครงการใหม่ 300 เมกะวัตต์ วางเป้าเพิ่มยอดขายไฟฟ้า 10% และไอน้ำ 3% ให้กับลูกค้าอุตสาหกรรม ด้านต้นทุนก๊าซธรรมชาติ-ถ่านหินเข้าสู่เทรนด์ขาลง หนุนต้นทุนปีนี้ปรับตัวดีขึ้น (ที่มา ทันหุ้น)
(+) GLORY (Bloomberg consensus – บาท) โชว์แคสโฟลว์เต็มมือ 180 ล้านบาท พร้อมลงทุน เอสเอ็มอี ปักเป้าเข้าลงทุน 8-12 บริษัทภายใน 3 ปี ฟากผู้บริหารตั้งเป้าดันรายได้ปี 2566 โต 20- 50% แย้มเตรียมบุ๊กรายได้ระบบซีเคียวริตี้ ปีนี้มีลุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (ที่มา ทันหุ้น)
(+) GLOBAL (Bloomberg consensus 23.00 บาท) ตั้งเป้ายอดขายเติบโต 5-10% พร้อมวางอัตรากำไรขั้นต้นแตะ 25% ปูพรมขยายสาขาในประเทศ 7 สาขา และต่างประเทศ ทั้งกัมพูชา-ลาว- เมียนมา-อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เพิ่มหลังเข้า JV กลับพันธมิตรท้องถิ่นรายใหญ่ เตรียมผุดสาขาแรกต้นปี 2567 (ที่มา ทันหุ้น)
(+) SVI (Bloomberg consensus 10.50 บาท) เดินหน้าสร้างการเติบโตสู่เป้าหมาย 30,000 ล้านบาท ชูฐานการผลิตในไทยและกัมพูชา รับดีมานด์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ในเมกะเทรนด์โลกพุ่ง ประกาศรุกผลิตแท่นชาร์จรถอีวีภายใต้แบรนด์ตัวเอง รับกระแสรถยนต์อีวีในไทยมาแรง หนุนอัตราการทำกำไรที่ดีขึ้น ตั้งเป้ายอดขายปีละ 1,500 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- สัปดาห์ที่ 4 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
- 28 ก.พ. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- กำหนดวันสุดท้ายบริษัทจดทะเบียนส่งงบปี 65
- 7 พ.ค. เลือกตั้ง
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 22 ก.พ. คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. (เช้าวันที่ 23 ก.พ.)
- 23 ก.พ. อียู รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนม.ค.
- สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ GDP 4Q65 (ประมาณการครั้งที่ 2) สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ และดัชนีกิจกรรมเศรษฐกิจทั่วประเทศเดือนม.ค.
- 24 ก.พ. สหรัฐ รายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนม.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ. ยอดขายบ้านใหม่เดือนม.ค.
- 27 ก.พ. อียูรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนธ.ค.
- สหรัฐ รายงานยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนม.ค.