KS Daily View 23.02.2023 > Fed Minutes ยังเห็นเงินเฟ้อลงยาก ดอกเบี้ยปรับขึ้นต่อ SET คาดแกว่งตัว 1,650-1,666 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ HENG

สรุปตลาดหุ้นเมื่อวาน

ในประเทศ: SET Index เมื่อวานแกว่งตัวลงและปิด 1659.48 จุด(-0.55%) เนื่องจากตลาดรอ Fed Minutes โดยหุ้นที่ปรับลงแรงและกดดัชนีคือ PTTEP -2.2%, PTT -1.5%, KTB -1.14%ฯลฯ หุ้นที่ปรับขึ้นเด่นคือ SINGER 7.6%, DOHOME 4.9%, JMT 1.58%  CPALL 1.53%ฯลฯ  ส่วนประเด็นอื่นๆหลักๆยังคงเป็นการรายงานงบ 4Q22 เป็นช่วงโค้งสุดท้าย โดยสรุปเมื่อวานบริษัทที่รายงานงบออกมาต่ำกว่าคาด(Miss) คือ PR9, BLA, BANPU ส่วนบริษัทที่รายงานงบออกมาดีกว่าคาด(Beat) คือ BJC, AMANAH, ASIAN, BDMS  บริษัทที่รายงานงบออกมาตามคาด(Inline) คือ HMPRO, OSP, AAI, BEM, BPP  โดยรวมบริษัทที่ KS ทำการศึกษารวมทั้งหมด 196 บริษัท รายงานงบออกมาแล้วเบื้องต้นรวม 91 บริษัทหรือคิดเป็น 46%ของบริษัททั้งหมด พบว่ากำไรสุทธิรวมงวด 4Q22 อยู่ที่ 9.84 หมื่นล้านบาท(-16%QoQ,-37%YoY)ต่ำกว่าที่ KS พรีวิว 21%และ Bloomberg consensus พรีวิว 20%

ต่างประเทศ : ตลาดหุ้นสหรัฐแกว่งตัวลงต่อ แต่ปรับลงไม่มาก อิง ดัชนี Dow Jones -0.26%, S&P500 -0.16%, ดัชนี Nasdaq 0.13% โดย Sector ในดัชนี S&P500 โดยส่วนใหญ่ปรับลง โดยกลุ่มที่ Underperform หลักๆ คือ กลุ่ม Real Estate -1.02%,กลุ่ม Energy -0.77%, Utilities  -0.42% ส่วน Sector ที่ Outperform หรือลงน้อยคือ กลุ่ม Materials +0.68%, Consumer Discretionary 0.52%ฯลฯ โดย Key คือเรื่อง Fed  โดยเมื่อคืนรายงาน Fed Minutes ของการประชุมเฟดในเดือน ม.ค.  (ในรอบนี้เรามองเป็นกลาง)  โดยโทนในรอบนี้เป็นไปตามความเห็นที่ KS เคยนำเสนอก่อนหน้า คือ  ภาพของเงินเฟ้อที่เริ่มเห็นการปรับลงแต่ยังทรงตัวสูง  ทำให้คณะกรรม Fed คาดการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐจะยังดำเนินต่อและทรงตัวสูง โดยมีคณะกรรมการ Fed 2  ท่าน แสดงความเห็นอยากให้เห็นการขึ้นดอกเบี้ย 50 bps โดยล่าสุด อิง FedWatch Tool  ของ CME Group ยังคงคาดจะเห็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในปี 2023 ที่ 5.25-5.5%  อย่างไรก็ตาม Fed ยังให้ความเห็นว่าขึ้นกับ Datadependece หรือข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐต่างๆที่จะออกมาหลังจากนี้   ถ้าเห็นสัญญาณชะลอลง อาจเปลี่ยนแปลงมุมมอง (เราคาด U-turn policy)

ทิศทางตลาดหุ้นไทย : ประเมิน SET Index ช่วงที่เหลือของเดือนจะแกว่งตัวออกข้าง   คาดยังคงติดแนวต้านสำคัญบริเวณ 1691-1700 จุด  ยังคงมองแนวรับสำคัฐอยู่ที่ 1635 จุด หากดัชนีย่อลงมามองเป็นจังหวะทยอยสะสมหุ้น มุมมองที่เราคาดตลาดจะแกว่งตัวเนื่องจาก ยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ และตลาดยังรอดูทั้ง

1.) สถานการสงครามรัสเซีย-ยูเครน ล่าสุดประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนกำลังเตรียมตัวไปเยือนกรุงมอสโก พบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ภายในไม่กี่เดือนนี้ หวังแสดงบทบาทแข็งขันยุติสงครามที่ยืดเยื้อมาหนึ่งปี ด้านยูเอ็นจีเอเปิดอภิปราย ร่างข้อมติสันติภาพยูเครน

2.) คาด Flow ต่างชาติชะลอการไหลเข้า เนื่องจากเงินบาทยังแกว่งตัวอ่อนค่าต่อ ล่าสุดยืนเหนือ 34.5 บาท   3.) รอดูผลประกอบการงวด 4Q22 ในช่วงที่เหลือของเดือน ก.พ. โดยวันนี้ 23 ก.พ. จะมีการรายงาน AAV,  ANAN, BA, BAFS, BAM, BAREIT, BGC, CPALL, CPN, DIF, M, MEGA, QH, SAT, SYNEX, TEAMG, THG,TKN, VRANDA  24 ก.พ. BBIK, BOFFICE, BRI, B-WORK, CHAYO, CHG, CPF, DDD, EGCO,IIG , IVL, LHSC, MICRO ,MINT, PRM, RCL, SHR, SPRC, PRIME, TVO ,WHART

ประเมินตลาดหุ้นไทยวันนี้แกว่งในกรอบ 1650-1666 จุด หุ้นแนะนำ HENG

Top pick :

HENG (ราคาพื้นฐาน 3.8 บาท)

1.) หลังการประชุมนักวิเคราะห์เมื่อวานนี้ด้วยมุมมองเชิงบวกเนื่องจากเป้าหมายในปี 2023ส่วนใหญ่ดีกว่าที่คาดไว้ ผู้บริหารตั้งเป้า

1.1) สินเชื่อปี 2023 เติบโต 30% เปิดสาขาใหม่ 151 สาขา

1.2) อัตราผลตอบแทนสินเชื่อ 19-19.5% เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จากสัดส่วนสินเชื่อสินเชื่อจำนำทะเบียนสูงขึ้น

2.) เราชอบ HENG ในด้านคุณภาพสินทรัพย์ที่ควบคุมได้ แนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่งด้วย CAGR ที่ 30% ซึ่งเท่ากับ PEG ที่ 0.6 เท่า ตามราคาหุ้นปัจจุบัน

3.) การเติบโตแข็งแกร่งที่สุดในกลุ่ม ประเมิน ROE เป็นขาขึ้นสวนทางเพื่อนๆในกลุ่ม

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันพฤหัสฯ ติดตามตัวเลขส่งออกและนำเข้าของไทย เดือน ม.ค. คาด -6.2% YoY และ -8.2% YoY ตามลำดับ และยอดขาดดุลการค้าของไทยเดือน ม.ค. คาด -1,524 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ -1,034 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตัวเลข Initial Jobless Claim ของสหรัฐฯรายสัปดาห์คาด +200K ถ้อยแถลงของ Fed Bostic และตัวเลขปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ
  • วันศุกร์ ติดตามตัวเลขยอดขายรถยนต์ของไทยเดือน ม.ค. ตัวเลขเงินเฟ้อญี่ปุ่นเดือน ม.ค. คาด +0.2% MoM และ +4.2% YoY ตัวเลข Gfk Consumer Confidence ของอังกฤษ เดือน ก.พ. คาด -42 จุด (ดีขึ้นจาก -45 จุด) ตัวเลข Gfk Consumer Confidence ของเยอรมัน เดือน ก.พ. คาด -30.4 จุด (ดีขึ้นจาก -33.9 จุด) ตัวเลข GDP 4Q22 ของเยอรมัน (ปรับปรุงรอบสอง) คาด -0.2% QoQ แต่ +1.1% YoY ตัวเลข Personal income ของสหรัฐฯ เดือน ม.ค. คาด +0.9% MoM ตัวเลข Personal spending ของสหรัฐฯ เดือน ม.ค. คาด +1.3% MoM ตัวเลข Core PCE Price Index ของสหรัฐฯ เดือน ม.ค. คาด +0.4% MoM และ +4.3% YoY ตัวเลข New Home Sales ของสหรัฐฯ เดือน ม.ค. คาด +0.4% MoM เป็น 0.615mn ตัวเลข Michigan Consumer Sentiment index เดือน ม.ค. คาด 66.4 จุด (+2.3% MoM) ถ้อยแถลงของ Fed Jefferson และ Fed Mester
- Advertisement -