กังวล FED ขึ้นดอกเบี้ยแรง

ตลาดหุ้นวานนี้

SET Index เพิ่มขึ้น 12 จุด (+0.72%) ปิดที่ 1,619 จุด ตอบรับตัวเลขเงินเฟ้อลดลงมากกว่าที่คาด และนักลงทุนสถาบันเข้าช้อนซื้อหุ้น Big Cap ที่ราคาลดลงแรง และ Valuation เริ่มน่าสนใจ อาทิ กลุ่มโรงไฟฟ้า

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้   

ประเมิน SET อ่อนตัวแนวรับ 1,610 / 1,605 จุด หลังประธาน FED ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงกว่าคาดเพื่อฉุดเงินเฟ้อให้ลงสู่เป้าหมาย ทั้งนี้ Fedwatch ให้น้ำหนักว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สู่ 5.00-5.25% ในการประชุม 21-22 มี.ค.เป็นผลให้ US Bond yield เพิ่มขึ้น, เงิน USD แข็งค่า และราคาน้ำมันดิบทรุดตัวลงแรงซึ่งเป็นลบต่อ Fund flow และภาวะการลงทุน

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • GPSC BGRIM GULF ROJNA TASCO SCGP อานิสงส์ราคาพลังงานลดลง
  • PSL TTA ค่าระวางเรือเทกองปรับตัวขึ้น
  • หุ้น Defensive ช่วงตลาดผันผวน BDMS BCH INTUCH ADVANC BTS BEM

หุ้นแนะนำวันนี้

  • SAPPE (ปิด 52.25 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 60 บาท) แนวโน้มกำไรยังเป็นขาขึ้นยอดขายในประเทศกำลังเข้าสู่ High season ส่วนต่างประเทศได้ประโยชน์จากบาทอ่อนค่า (มียอดส่งออกคิดเป็น 65% ของรายได้รวม)
  • BDMS (ปิด 28.25 ซื้อ/เป้า 37 บาท) เป็นหุ้น Defensive เหมาะสำหรับพักเงินในภาวะที่ตลาดผันผวน แนวโน้มกำไรยังเป็นขาขึ้นคาดกำไรสุทธิปีนี้ที่ 1.4 หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้น 14%yoy

บทวิเคราะห์วันนี้: Property sector (Top pick: AP), Thailand Strategy

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (-) ประธานเฟดส่งสัญญาณเร่งขึ้นดอกเบี้ยกดเงินเฟ้อลงสู่กรอบเป้าหมาย: โดยมองว่า ศก. สหรัฐมีความแข็งแกร่งมากกว่าที่เคยประเมินไว้ ทำให้เฟดจะต้องคุมเข้มนโยบายการเงินต่อไป และเป็นไปได้ที่เฟดอาจจะต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งเพื่อควบคุมให้อัตราเงินเฟ้อลดลงสู่กรอบเป้าหมายที่ระดับ 2%
  • (+) เงินเฟ้อไทยต่ำสุดในรอบ 13 เดือน ลดแรงกดดันต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยของแบงก์ชาติ: ก.พาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) เดือน ก.พ.ลดลงสูระดับ 3.79% จาก 5.02% ในเดือน ม.ค. ลดลงมากกว่าที่ Consensus คาดไว้ที่ 4.2% เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ลดลงสู่ระดับ 1.93% จาก 3.04% ลดลงมากกว่าที่ Consensus คาดไว้ที่ 2.1%
  • (-) ส่งออก/นำเข้า จีนยังหดตัวตัว เป็นลบต่อภาคการส่งออกไทยในช่วงต้นปี: จีนซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของไทยมียอดส่งออกและนำเข้าในช่วงเดือน ม.ค.ถึง ก.พ. 23 หดตัว 6.8%yoy และ 10.2%yoy ตามลำดับ โดยยอดส่งออกหดตัวน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่หดตัว 9.4%yoy ส่วนนำเข้าหดตัวมากกว่าที่ตลาดคาดว่าจะหดตัว 5.5%yoy

ข่าวในประเทศและต่างประเทศ

สรุปข่าวเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ

ไทย

(+) การค้าภายใน แถลงสถานการณ์ราคาสินค้าช่วงสัปดาห์แรกของเดือน มี.ค. 66 เทียบกับเดือน ก.พ. 66 ที่ผ่านมา พบว่า ราคาหมู ไก่ และไข่ไก่ เฉลี่ยทั่วประเทศ ปรับตัวลดลง 2-9% เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง

(+) BOI อัดแพ็กเกจ EV – แบตเตอรี่ เข้าครม. ให้ทันก่อนนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา ลุยโรดโชว์จีน เมษายน 2566 เจาะมณฑลเซี่ยงไฮ้ กวางโจว และเซินเจิ้น ดึงดูดบิ๊กคอร์ปรายใหม่ในอุตสาหกรรม ‘EV อิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล’

สหรัฐ

(-) คณะกรรมาธิการการธนาคารประจําวุฒิสภาเมื่อวานนี้ โดยระบุว่าข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐแข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งบ่งชี้ว่าอัตราดอกเบี้ยขั้นสุดท้าย (Terminal Rate) ของเฟดจะอยู่สูงกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ และหากข้อมูลทั้งหมดบ่งชี้ว่าเฟดควรคุมเข้มนโยบายการเงินให้เร็วขึ้น เฟดก็จะเพิ่มความเร็วในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

(-) ข้อมูลจาก FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า หลังจากนายพาวเวลเสร็จสิ้นการแถลงต่อคณะกรรมาธิการฯวุฒิสภา นักลงทุนให้น้ําหนักมากกว่า 70% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 21-22 มี.ค. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเมื่อวันจันทร์ที่ระดับ 31%

ยุโรป

(-) นักเศรษฐศาสตร์ของซิตี้กรุ๊ปคาดการณ์ว่า ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ท้ังในเดือนมี.ค.และพ.ค. ซึ่งจะทําให้อัตราดอกเบี้ยแตะระดับประมาณ 4% ภายในเดือนก.ค. โดย ECB ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 จุดเปอร์เซ็นต์แล้วนับตั้งแต่เดือนก.ค.

เอเชีย

(+/-) ยอดส่งออกของจีนในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ.ปรับตัวลง 6.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสํารวจของสํานักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่าอาจลดลง 9.4% ขณะที่ยอดนําเข้าในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ.ร่วงลง 10.2% ซึ่งย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเพียง 5.5%

- Advertisement -