สรุปภาวะตลาด

วันพุธที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวลงลบต่ำสุดราว -19 จุด ทดสอบบริเวณ 1,600 จุด สินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวลง หลังจากประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงกว่าคาด อย่างไรก็ตาม SET Index ทยอยฟื้นตัวในช่วงบ่าย ทำให้ดัชนีลดช่วงลบลง แรงขายหลักมาจากหุ้นกลุ่มพลังงาน และธนาคาร ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,612.60 จุด -5.91 จุด -0.37% มูลค่าการซื้อขาย 59,250 ลบ.ต่างชาติ -3,987.97 ลบ. TFEX -18,996 สัญญา ตราสารหนี้ -2,041.88 ลบ.

ปัจจัยบวก +

+ ผู้บริหารบริษัทโทรคมนาคมและเทคโนโลยีรายใหญ่ที่สุดของโลกบางแห่งกล่าวกับส่านักข่าวซีเอ็นบีซีว่า มีแนวโน้มที่จะเปิดตัวบริการ 6G ในปี 2573 โดย 6G เป็นบริการอินเตอร์เน็ตไร้สายรุ่นใหม่ถัดจาก 5G

+ คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เตรียมเสนอให้รัฐบาลต่างๆ ในประเทศ EU กำหนดเป้าหมายลดการขาดดุลงบประมาณในปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้ประเทศสมาชิกหาแนวในทางการลดยอดขาดดุลและลด ตัวเลขหนี้สินของประเทศ

+ เกาหลีใต้ส่ังยกเลิกมาตรการตรวจเชื้อโควิด-19 ก่อน เดินทางเข้าประเทศสำหรับนักเดินทางที่มาจากจีน ฮ่องกง และมาเก๊า โดยจะเริ่มตั้งแต่วันเสาร์น้ี (11 มี.ค.) เป็นต้นไป

+ กระทรวงการคลังคาดการณ์เงินเฟ้อไทยทยอยลดกลับเข้ากรอบ มองท้ังปีทรงตัวระดับ 3% หลังรัฐบาลออกมาตรการดูแลต้นทุน-ค่าครองชีพต่อเนื่อง

+/- FETCO รายงานดัชนีความเช่ือมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้า (ก.พ. – เม.ย. 66) ลดลง 24.3%MoM แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ “ร้อนแรง” มีปัจจัยหนุนจากภาคท่องเท่ียวและการเลือกตั้ง ปัจจัยฉุดคือโควิด-19 กลับมาระบาด และหนี้ภาคครัวเรือนสูง

ปัจจัยลบ –

– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 58.06 จุด -0.18% ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดบวก หลังจากประธานเฟดเสร็จส้ินการแถลงนโยบายการเงินต่อสภาคองเกรส ในวันที่ 2 ขณะเดียวกันนลท.จับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรและข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐ เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดในอนาคต

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 92 เซนต์ -1.19% ปิดที่ 76.66 ดอลลาร์/บาร์เรล นลท.กังวลว่าการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยเชิงรุกของเฟดจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน บดบังปัจจัยบวกจากรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่ลดลงมากกว่าคาด

– FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนัก 80% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 21-22 มี.ค. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 70% ในวันอังคาร และจากระดับ 31% ก่อนที่นายพาวเวลจะแถลงต่อสภาคองเกรสในวันแรก

– การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐพุ่งขึ้น 242,000 ต่าแหน่งในเดือนก.พ. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 205,000 ตำแหน่ง จากระดับ 119,000 ตำแหน่ง ในเดือนม.ค.

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีวันนี้ยังแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยมีแรงกดดันจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกของเฟด ขณะที่นักลงทุนยังจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรและข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐ มองกรอบดัชนีในวันน้ีที่ 1,605- 1,620 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • จีนเปิดประเทศ+เราเท่ียวด้วยกันเฟส 5 : MINT CENTEL ERW SPA AU SHR
  • หุ้น mai เด่นปี 66 : SPA D CEYE AU
  • หุ้นเชื่อมโยงการเมือง : TKS SIRI PR9 SC STEC STPI
  • BOI ส่งเสริมการลงทุนช้ินส่วน EV : EA GPSC BCP DELTA PIMO FPI
  • หุ้นปันผลดี : ADVANC TISCO SCB PT SMIT

หุ้นรายงานพิเศษ

TQM (ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 41 บาท) กำไรปี 66 มีโอกาสพลิกเติบโตจากที่หดตัว 9%YoY

  • ปี 65 TQM มีรายได้รวม 3,727 ล้านบาท +1.2%YoY หาก เปรียบเทียบกับ) และมีกำไรสุทธิ 809 ล้านบาท -9%YoY (+8.7%YoY +1.3%YoY ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกำไรปกติในปี 64 ที่ไม่รวมรายการพิเศษ รายได้เติบโตจากธุรกิจหลักจากยอดขายประกันรถยนต์และบ้าน ประกันอุบัติเหตุและสุขภาพ ประกันเดินทาง และประกันชีวิต (Non-life 92% : Life 8%) อัตรากำไรสุทธิ 23.8% ลดลงจาก 26.9% ในปี 64 (24.4% ไม่รวมรายการพิเศษ) ธุรกิจสินเช่ืออีซี่เลนดิ้ง (เริ่มดำเนินธุรกิจให้สินเช่ือแบบมีหลักประกันโดยลงทุน 99.99% ในบจ.แคชนาวพลัส) มีแนวโน้มดีต่อเนื่อง ทำกำไรได้ต้ังแต่เร่ิมดำเนินการและเติบโตสูงจากปี 64 โดยมีต้นทุนต่ำและความเสี่ยงต่ำ (NPL = 0) เป็น synergy จากการควบรวมกิจการต้ังแต่ปลาย 2Q65
  • ปี 66 ตั้งเป้ารายได้เติบโตอย่างต่ำ 5% (5-10% ในปี 2566 – 2568) โดยมีตัวขับเคลื่อนจากภาคท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่องสนับสนุนความต้องการซื้อประกันการเดินทาง และขยายสู่ผลิตภัณฑ์ครบวงจรในเรื่องสุขภาพและธุรกิจการเงินในอนาคต ท้ังนี้ Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 66 เฉลี่ย 949 +17%YoY
  • ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวก จากศักยภาพในการเติบโตจากภาพรวมเศรษฐกิจฟื้นตัว ราคาหุ้นที่ลดลง 17% ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ downside risk มีจำกัด โดยซื้อขายที่ P/E 27x ต่ำกว่าอดีต (28x ในปี 65, 34x ในปี 64) แนะนำซื้อ

หุ้นมีข่าว

(+) CPALL (Bloomberg consensus 75.00 บาท) ปีนี้สดใสยอดขายต่อสาขาเดิมจะโต 5-7% ตั้งงบ 2.7 หมื่นล้านบาท ลุยขยาย 7-11 ในไทยเพิ่ม 700 สาขา ถึงเวลารุกกัมพูชาราว 30 สาขา และประเดิมเข้าสู่สปป.ลาว 1-2 สาขา อย่าวิตกต้นทุน ย้ำสามารถบริหารต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายเฉลี่ยไม่เกิน 4% ต่อปี และบริหารต้นทุนดำเนินงานได้มีประสิทธิภาพ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) NRF (Bloomberg consensus 4.30 บาท) ชูเป้ารายได้ปี 2566 แตะ 3,000-4,000 ล้านบาท ชูธุรกิจอาหารสัตว์เติบโตแบบก้าวกระโดดไม่ต่ำกว่า 25% ดีมานด์ลูกค้าเพิ่ม-ส่งออกหนุน แถมรับอานิสงส์จีนเปิดประเทศ “แดน ปฐมวาณิชย์” สั่งลุยลงทุนเสริมแกร่งธุรกิจทั้งในและต่างประเทศต่อเนื่อง (ที่มา ทันหุ้น)

(+) TU (Bloomberg consensus 22.00 บาท) ปักเป้าปี 2566 รายได้เติบโต 5-6% จากปีก่อน รับธุรกิจใหม่หนุน-คุมเข้มต้นทุนหวังดันมาร์จิ้นแตะ 18.5% พร้อมเล็งควักงบลงทุน 6-6.5 พันล้านบาท แถมล่าสุดมีแผนการซื้อหุ้นคืน 200 ล้านหุ้น หวังบริหารจัดการต้นทุน-รักษาผลตอบแทนให้อยู่ระดับที่เหมาะสม (ที่มา ทันหุ้น)

(+) BRI (Bloomberg consensus 13.70 บาท) อวดยอดขาย 2 เดือนแรก ปี 2566 พุ่งกว่า 2 พันล้านบาท หนุน Q1/2566 โดดเด่น วางเป้ายอดขายทั้งปี 2566 โต 20% แตะ 1.3 หมื่นล้านบาท และรายได้โต 40% ไม่ต่ำกว่า 9 พันล้านบาท เล็งเปิดตัวโครงการใหม่ 20 โครงการ มูลค่ารวม 2.25 หมื่นล้านบาท กระจายตัวทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 9 มี.ค. หอการค้าไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย
    • ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 2/2566
  • สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
  • สัปดาห์ที่ 4 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
  • สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
    • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
  • 29 มี.ค.ประชุม กนง.ครั้งที่ 2/2566
  • 31 มี.ค.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงาน ภาวะเศรษฐกิจไทย
  • 7 พ.ค. เลือกตั้ง

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 9 มี.ค. จีน รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดอืนก.พ. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ.
    • สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
  • 10 มี.ค. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย
    • สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือนก.พ.
  • 13 มี.ค. สหรัฐ เปิดเผยตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อผู้บริโภคเดือนก.พ.
  • 14 มี.ค. สหรัฐ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.พ.
  • 21-22 มี.ค.กำหนดการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (FED)
  • 3 เม.ย. กำหนดการประชุมของกลุ่มโอเปกพลัส เกี่ยวกับนโยบายการผลิตน้ำมัน
- Advertisement -