สรุปภาวะตลาด
วันพุธที่ผ่านมา ดัชนีรีบาวด์ต่อเนื่อง จากช่วงเปิดตลาด และดัชนีปรับตัว sideway up โดยบวกสูงสุด ราว +50 จุด มาจากแรงซื้อกลับในหุ้นกลุ่มที่ปรับตัวลงมามากในวันก่อนหน้า เช่น หุ้นกลุ่มพลังงาน ขนส่ง ค้าปลีก ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,565.00 จุด +41.11 จุด +2.70% มูลค่าการซื้อขาย 69,493 ลบ. ต่างชาติ +960.80 ลบ. TFEX +61,288 สัญญา ตราสารหนี้ +3,257.52 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 52% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.50- 4.75% ในการประชุมวันที่ 21-22 มี.ค. และให้น้ำหนักเพียง 48% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25%
+ หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของสวิตเซอร์แลนด์ ให้คำมั่นว่าจะจัดหาสภาพคล่องเพื่อช่วยเหลือธนาคารเครดิต สวิส หลังจากราคาหุ้นเครดิต สวิส ทรุดตัวลงอย่างหนัก
+ สหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิตประจำเดือนก.พ. ว่าดัชนี PPI ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้น 4.6%YoY ในเดือนก.พ. โดยชะลอตัวจากระดับ 5.7%YoY ในเดือน ม.ค.
+ ส.อ.ท. เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมประจำเดือน ก.พ.66 อยู่ที่ 96.2 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อนที่อยู่ระดับ 86.7 และเพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค. 66 ที่ระดับ 93.9 สูงสุดในรอบ 47 เดือน ตามการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ และการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวชัดเจนจากการได้รับอานิสงส์การเปิดประเทศของจีน
+/- ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จัดการประชุมฉุกเฉิน ร่วมกับธนาคารกลางและหน่วยกำกับดูแลด้านการเงิน ระหว่างประเทศ ท่ามกลางความวิตกกังวลที่เพิ่มสูงขึ้น หลังวิกฤตของธนาคารเครดิต สวิส จากสวิตเซอร์แลนด์ทวีความรุนแรง
ปัจจัยลบ –
– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 280.83 จุด หรือ -0.87% กังวลเกี่ยวกับสถานะการเงินของธนาคารเครดิต สวิส บดบังกระแสคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้ อย่างไรก็ดี ดัชนีดาวโจนส์ลดช่วงลบในช่วงท้ายตลาด หลังสื่อรายงานว่ารัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์จัดการประชุมเพื่อหาแนวทางสร้างเสถียรภาพการเงินของเครดิต สวิส
– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 3.72 ดอลลาร์ หรือ 5.2% ปิดที่ 67.61 ดอลลาร์/บาร์เรล ตลาดนิวยอร์กร่วงลงกว่า 5% ปิดที่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี ถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ด้านการเงินของธนาคารเครดิต สวิส
– ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เปิดผลสำรวจความต้องการบ้าน ชี้คนไทยกังวลภาวะเงินเฟ้อทำเงินตึง ผ่อนไม่ไหว 63% ชะลอแผนอีก 14% ล้มแผนมีบ้านของตัวเอง แนวโน้มเช่าบ้านขยับสูงขึ้น
– สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกลดลง 0.4% ในเดือน ก.พ. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลง 0.3% หลังจากพุ่งขึ้น 3.2% ในเดือนม.ค.
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีวันนี้มีโอกาสปรับตัวลงตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยมีแรงกดดันจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับ สถานะการเงินของธนาคารเครดิต สวิส ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวลงแรง มองกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,555-1,570 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- จีนเปิดประเทศ+เราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 : MINT CENTEL ERW SPA AU SHR
- หุ้น mai เด่นปี 66 : SPA D CEYE AU
- หุ้นเช่ือมโยงการเมือง : TKS SIRI PR9 SC STEC STPI
- BOI ส่งเสริมการลงทุนช้ินส่วน EV : EA GPSC BCP DELTA PIMO FPI
- หุ้นปันผลดี : ADVANC TISCO SCB PT SMIT
หุ้นรายงานพิเศษ
ONEE – ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 9.25 บาท”มุมมองบวกภาพรวมการดำเนินงานฟื้นตัวในปี 2566″
- งวด 4Q65 บริษัทมีรายได้รวม 1,451.6 ลบ. -6.0%YoY เนื่องจากรายได้โฆษณาของสื่อทีวี -12.4% ประกอบกับบริษัทใช้กลยุทธ์การรีรันแทนการเปิดคอนเทนต์ใหม่ ทําให้รายได้จากลิขสิทธิ์ต่างประเทศลดลง 39.4% และรายได้จากการรับจ้างผลิตและบริการลดลง 48% แต่รายได้การจัดคอนเสิร์ตและอีเวนต์ +325% และธุรกิจอื่นๆ +80% ในขณะที่ต้นทุนขายและบริการเพิ่มขึ้น 14% หลักๆ มาจากต้นทุนการผลิตรายการ การจัดคอนเสิร์ตและอีเวนต์ และต้นทุนการจ้างศิลปินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ GPM ลดลงเป็น 37.3% จาก 48.1% ใน 4064 และมีกําไรสุทธิ 145 ลบ. -30%YoY คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 10% ลดลง จาก 13.3% ใน 4Q64 สําหรับปี 2565 มีรายได้ 6,227 ลบ. +15%YoY กำไรสุทธิ 738 ลบ. -11%YoY สาเหตุมาจากต้นทุนขาย และบริการที่สูงจากการกลับมาจัดคอนเสิร์ตและอีเวนต์ อัตรากำไรขั้นต้นลดลงเหลือ 42% จาก 50.7% และอัตรากําไรสุทธิ 11.8% ลดจาก 14.8% ในปี 2564
- ในปี 2566 ตั้งเป้ารายได้เติบโต 3-5% ผ่านกลยุทธ์การสร้างคอนเทนท์รูปแบบใหม่ผ่าน Idol Marketing การทํา Co-Production กับค่ายต่างชาติและขายคอนเทนท์ไปต่างประเทศ พัฒนาคอนเทนต์หลักที่เป็นซีรีย์ เน้นบริหารศิลปิน
- ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกจาก ภาพรวมเศรษฐกิจฟื้นตัว ทําให้การจัด กิจกรรมคอนเสิร์ตและอีเวนต์ สามารถ กลับมาจัดได้ตามปกติควบคู่กับกลยุทธ์การ บริหารศิลปินช่วยให้รายได้มีศักยภาพเติบโตได้ดี หุ้น ONEE ได้เข้าคำนวณดัชนี MSCI Global Small Cap ตั้งแต่ 28 ก.พ. เป็น sentiment เชิงบวกด้านจิตวิทยา และการจัดคอนเสิร์ตและอีเวนต์ รวมถึงเข้าไปร่วมลงทุนในธุรกิจต่างๆ มากขึ้น ทั้งนี้ Bloomberg Consensus คาดกำไร ปี 2566 เฉลีย 862 ล้านบาท +17%YoY
หุ้นมีข่าว
(+) MFEC (Bloomberg consensus – บาท) ผลงาน Q1/2566 เด้ง จ่อรับรู้กำไรพิเศษจากการขายธุรกิจ Vulcan Digital Delivery ให้กับ BBIK ราว 500-600 ล้านบาท ดันผลงานปีนี้สดใส ตั้งเป้าโต 15% เตรียมนำเงินลงทุนธุรกิจต่อยอดธุรกิจซีเคียวริตี้ เป้าเป็นศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัย ลุยบริการรองรับ ESG (ที่มา ทันหุ้น)
(+) AH (Bloomberg consensus 44.00 บาท) ตั้งเป้ารายได้โต 10-15% และมาร์จิ้นระดับ 10- 12% จากยอดขายที่เติบโตทั้งในไทยและต่างประเทศ มั่นใจการย้ายฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามาไทย หนุนรายได้จากคำสั่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าโต 100% พร้อมอัดงบ 1,000 ล้านบาท ซื้อเครื่องจักรใหม่และซ่อมบำรุง (ที่มา ทันหุ้น)
(+) PLANB (Bloomberg consensus 9.42 บาท) มองอุตสาหกรรมสื่อ OOH ปี 2566 คึกคักกว่าปีก่อน หลังเปิดประเทศเต็มรูปแบบหนุนเม็ดเงินไหลเข้า OOH ชูเดือนม.ค.-ก.พ. 2566 Utilization rate แตะ 55-56% แม้เป็นโลว์ซีซั่นธุรกิจ วางเป้ารายได้ปี 2566 แตะ 7.2-7.5 พันล้านบาท คงความสามารถในการรักษาระดับอัตรากำไรขั้นต้นให้อยู่ที่ระดับเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 25-30% อัดฉีดงบปีนี้ 800-1,000 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
(+) ADVANC (Bloomberg consensus 239.00 บาท) ADVANC ได้เต็มๆ กรณีรัฐให้ NT เดินหน้าโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G/5G บนคลื่น 700 MHz จากการที่ NT คัดเลือกเป็นพันธมิตร ตั้งแต่กลางปี 2565 มีโอกาสรับแบ่งคลื่นเพิ่มอีก 5 MHz จากปัจจุบันมีคลื่นนี้ 15 MHz แถมคลื่น NT อยู่ติดกัน ช่วยเพิ่มศักยภาพ 5G (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- สัปดาห์ที่ 4 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
- สัปดาห์ที่ 5 สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
- สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
- 29 มี.ค. ประชุม กนง. ครั้งที่ 2/2566
- 31 มี.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- 7 พ.ค. เลือกตั้ง
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 16 มี.ค. สหรัฐ รายงานจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.พ. ดัชนีการผลิตเดือนมี.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย
- 17 มี.ค. อียู รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ.
- สหรัฐ รายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนมี.ค. จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ เดือนก.พ.จาก Conference Board
- 20 มี.ค. ธนาคารกลางจีนประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR)
- อียู รายงานดุลการค้าเดือนม.ค.
- 21-22 มี.ค. กําหนดการประชุมธนาคารกลาง สหรัฐ (FED)
- 3 เม.ย. กําหนดการประชุมของกลุ่มโอเปกพลัส เกี่ยวกับนโยบายการผลิตน้ำมัน