KS Daily View 21.03.2023 >>> คาดหุ้นไทยฟื้นตัวตามหุ้นโลก หลัง ECB ออกถ้อยแถลง ว่าผู้ถือหุ้น ต้องรับผลขาดทุนก่อนผู้ถือตราสารหนี้ CoCos ทำให้ตลาดคลายกังวล SET คาดฟื้นตัวในกรอบ 1,555-1,570 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ BCP

สรุปภาวะตลาดเมื่อวานนี้

ต่างประเทศ: ดัชนี DJIA +1.20%, S&P 500 +0.89%, NASDAQ +0.39% โดย Sector ที่ outperform ใน S&P 500 ได้แก่ Energy (+2.11%), Materials (+2.01%), Financial (+1.20%) เป็นต้น Sector ที่ underperform ใน S&P 500 ได้แก่ IT (+0.23%), Consumer Discretionary (+0.39%), และ Communication Service (+0.48%) เป็นต้น

ในประเทศ: SET Index ปรับตัวลง -8.22 จุด หรือ -0.7% ปิดที่ 1,555.45 จุด โดยหุ้นที่ปรับขึ้นแรง ได้แก่ JTS (+15.5%), SCGP (+1.6%), ADVANC (+1.46%) เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ปรับลงแรง ได้แก่ KCE (-2.3%), HANA (-2.1%), BBL (-1.95%), DELTA (-1.6%) เป็นต้น

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ : เราประเมินสัปดาห์นี้ตลาดหุ้นไทยคาดจะแกว่งตัว Sideway up ในกรอบ 1555- 1585 จุด เพราะแม้การตัดสินใจครั้งนี้เป็นเรื่องยากสำหรับเฟดที่จะต้อง trade-off ระว่าง Price Stability และ Financial Stability แต่ไม่ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยต่ออีก 25bps. ตามที่ตลาดคาดเพื่อกดเงินเฟ้อต่อ หรือไม่ขึ้นเลยเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดของตลาดการเงินล้วนเป็นกลางถึงบวกกับตลาดหุ้นในภาพรวม นอกจากนี้เรามองว่าตลาดหุ้นไทยมีโอกาสทะลุกลับไปแถวๆ 1635-1644 ได้เหมือนกันหากผลการประชุมเฟดเป็นไปตามที่เราคาดการณ์ (น้ำหนัก 30-40%) กล่าวคือ

1.) เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 25bps.

2.) คง Terminal rate ในกรอบ 5-5.25% ซึ่งใกล้เคียงกับรอบเดือน ธ.ค. ที่ 5.1% และใกล้เคียงกับคาดการณ์ของตลาด

3.) ปรับตัวเลขเงินเฟ้อปี 2023 ลงเหมือน ECB (คาดการณ์ PCE และ Core PCE inflation ปี 2023 อยู่ที่ 3.1% และ 3.5% ตามลำดับ)

4.) อาจลดวงเงินในการทำ QT ลงเพื่อช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของตลาดการเงิน ส่วนกรณีที่จะแย่กว่าเราคาดคือเฟดขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าคาดเพราะเงินเฟ้อกดยาก หรือทำให้ตลาดสงสัยว่าวิกฤตสถาบันการเงินรอบล่าสุดยังไม่จบ

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน

1.) คณะกรรมมาธิการที่ดูแลสถาบันการเงินของ ECB ออกถ้อยแถลงว่าผู้ถือหุ้น (Equity) ต้องรับผลขาดทุนก่อนผู้ถือตราสารหนี้ CoCos (Contingent Convertible Bonds) ต่างจากกรณีของ CS ที่ปล่อยให้ตราสารหนี้ CoCos มูลค่า US$17bn เป็นศูนย์ แต่ยังอุ้มผู้ถือหุ้น โดย UBS ซื้อหุ้น CS ที่ราคา US$3.25bn ทำให้ตลาดคลายกังวลว่าวิกฤต CS จะลามในยุโรป เพราะธนาคารยุโรปนิยมออกตราสารหนี้ CoCos มากในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ในส่วนของแบงค์ไทยมีตราสารหนี้ CoCo น้อยคิดเป็นสัดส่วนเพียง 3% อีกทั้งมีเงินกองทุนชั้นที่ 1 (CET1) อยู่ในระดับสูงที่ 16.68% เทียบขั้นตำ่ตามเกณฑ์ที่ 8.0% ไม่จำเป็นต้องพึ่งการออกตราสารหนี้ CoCos แต่อย่างใด นอกจากนี้แม้ราคาตลาดของตราสารหนี้ CoCos จะปรับตัวลดลงก็ไม่จำเป็นต้อง mark to market ในส่วนนี้ เพราะธนาคารเป็นผู้ออกตราสาร มิใช่ผู้ถือตราสารดังกล่าว โดยสรุปปัจจัยพื้นฐานธนาคารไทยเรามองว่าไม่เปลี่ยนแปลง แนะนำระหว่างความผันผวน ทยอยหาจังหวะลงทุนเพิ่มในกลุ่มธนาคาร โดยมี Top pick คือ KTB และ TTB

2.) สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ปธน. ปูตินไม่ปฏิเสธข้อเสนอของทาง ปธน. สีจิ้นผิง โดยบอกได้ศึกษาข้อเสนอของจีน และพร้อมยุติความขัดแย้งในยูเครน ทั้งนี้ ปธน. สีจิ้นผิงมีกำหนดการเดินทางเยือนรัสเซีย 3 วัน และจะพูดคุยกับ ปธน. เซเลนสกี้ของยูเครนแบบ Virtual conference ด้วย ซึ่งหากสันติภาพในยูเครนเกิดขึ้นเรามองจะเป็นบวกกับตลาดในภาพรวมจากเศรษฐกิจโลกทั้งประเด็นการเติบโต และแรงกดดันเงินเฟ้อลดลง

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้ แนะนำ หุ้น Defensive ที่จะช่วยลดความผันผวน/ความเสี่ยงของพอร์ทการลงทุนรวม หรือหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวหนุนให้สามารถ outperform ตลาดได้ ได้แก่

1.) กลุ่มโรงไฟฟ้า แนะนำ BGRIM ราคาพื้นฐาน 64.5  บาท ได้กระแสบวกจาก Bond Yields ปรับลง และเงินบาทแข็งค่า

2.) กลุ่มโรงพยาบาล แนะนำ BCH ราคาพื้นฐาน 23.8  บาท   คาดมีปัจจัยบวกหนุนจากในเดือน เม.ย.  คาดการปรับอัตราค่าบริการเหมาจ่าย SSO จะถูกปรับขึ้น 8-10%

3.) กลุ่มค้าปลีก แนะนำ CPALL  ราคาพื้นฐาน  73.5 บาท ราคาหุ้นอยู่ในโซนล่าง และมีปัจจัยบวกจากกระแสการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น

4.) กลุ่มเรือเทกอง แนะนำ PSL  ราคาพื้นฐาน  18.5 บาท ค่าระวางฟื้นตัวจากการเปิดเศรษฐกิจของจีน และหากสงครามรัสเซีย-ยูเครนจบ ต้องบูรณะยูเครนจะมีความต้องการเรือเทกองมาก

ประเมินตลาดหุ้นไทยวันนี้คาดแกว่งในกรอบ 1555 – 1570 จุด หุ้นแนะนำ  BCP

Top pick

BCP (ราคาพื้นฐาน 42.5 บาท)

BCP รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าบริษัท OKEA ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ BCP ถือหุ้น 45% ได้เข้าลงทุนในแหล่ง Statfjord ของ Equinor จำนวน 28% ด้วยเงินลงทุนที่ 220 ล้านเหรียญฯ  เรามองเป็นบวกต่อการลงทุนนี้ เนื่องจาก OKEA คาดจะใช้กระแสเงินสดที่ได้จากโครงการเองก่อนที่ดีลจะแล้วเสร็จช่วงสิ้นปีนี้มาจ่ายเป็นเงินลงทุนเริ่มต้น ดังนั้น จึงถือว่าการลงทุนครั้งนี้มีความเสี่ยงต่ำ ประกอบกับต้นทุนการผลิตเองค่อนข้างต่ำทำให้โครงการมีโอกาสสร้างกำไรได้ตลอด อีกทั้ง เปิด upside หากราคาน้ำมันอยู่สูงหรือต่ำกว่าช่วงที่ตกลงกันไว้   เราคาดการเข้าลงทุนครั้งนี้จะแล้วเสร็จสิ้นปี 2566 (รอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอนุมัติ) แต่จะมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 โดย OKEA จะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวหรือจาก 20-25KBD เป็น 40 KBD และมีสำรอง 2P เพิ่มจาก 60 ล้านบาร์เรลเป็น 100 ล้านบาร์เรล

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันอังคาร ติดตามตัวเลข Zew Economic Sentiment Index เดือน มี.ค. คาด 18.9 จุด (-33% MoM) และตัวเลข Existing Home Sales ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด 4.17mn (+4% MoM)
  • วันพุธ ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อของอังกฤษ เดือน ก.พ. คาด +9.6% YoY (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +10.1% YoY) ปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ และการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ คาดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25bps. เป็น 4.75-5.00% และ Terminal rate คาดอยู่ที่ 5.00-5.25% ใน 2Q23 โดยต้องจับตาว่าเฟดจะส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยหรือไม่ ซึ่งเรามองว่ามีโอกาสน้อย เพราะเงินเฟ้อยังยืนสูง แม้เกิดความเสี่ยงในระบบสถาบันการเงินสหรัฐฯ จากปัญหา SVB แต่เบื้องต้นปัญหาได้คลี่คลายไปแล้วหลังเฟดตั้งกองทุนเป็น backstop ทั้งนี้ตลาด Fed funds futures ได้คาดการณ์ไปแล้วว่าเฟดจะลดดอกเบี้ย 1% +/- ในช่วง 2H23
  • วันพฤหัสฯ ติดตามตัวเลขส่งออก และนำเข้าของไทยเดือน ก.พ. คาด -5.1% YoY และ +2.0% YoY ดุลการค้าของไทยเดือน ก.พ. คาด -US$1,150mn (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ -US$4,650mn) การประชุมธนาคารกลางอังกฤษคาดขึ้นดอกเบี้ย 25bps. เป็น 4.25% ตัวเลข Eurozone consumer confidence flash เดือน มี.ค. คาด -18.3 จุด (ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ -19 จุด) ตัวเลข Initial Jobless Claim รายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ตัวเลข New home sales ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด 0.64mn (-4.5% MoM)
  • วันศุกร์ ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเดือน ก.พ. คาด 3.3% YoY (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 4.3% YoY) ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นเดือน ก.พ. คาด 3.1% YoY (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 4.2% YoY) ตัวเลข Gfk Consumer Confidence ของอังกฤษ เดือน มี.ค. คาด -36 จุด (ดีขึ้นจาก -38 จุด เดือนก่อนหน้า) ตัวเลข Jibun Manufacturing PMI ของญี่ปุ่น เดือน มี.ค. คาด 48.8 จุด (+2.3% MoM) ตัวเลข Jibun Service PMI ของญี่ปุ่น เดือน มี.ค. คาด 52 จุด (-3.7% MoM) ตัวเลข Retail sales ของอังกฤษ เดือน ก.พ. คาด +1.2% MoM ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI ของเยอรมัน เดือน มี.ค. คาด 47 จุด (+1.5% MoM) ตัวเลข S&P Global Service PMI ของเยอรมัน เดือน มี.ค. คาด 51.2 จุด (+0.6% MoM) ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI ของยุโรป เดือน มี.ค. คาด 49 จุด (+1.0% MoM) ตัวเลข S&P Global Service PMI ของยุโรป เดือน มี.ค. คาด 52.5 จุด (flat MoM) ตัวเลข S&P Global Service PMI ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด 47.3 จุด (flat MoM) ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI ของยุโรป เดือน มี.ค. คาด 50.3 จุด (flat MoM) และตัวเลข Durable Goods orders ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +1.7% MoM
- Advertisement -