Our View? “เหงา เหงา”

คาดตลาดวันนี้ “Sideways” มองแนวรับที่บริเวณ 1,567 / 1,560 และแนวต้านที่บริเวณ 1,578 1,585 เมื่อคืนนี้กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานตัวเลขผู้ขอยื่นรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ออกมาอยู่ที่ระดับ 2.28 แสนราย มากกว่าที่ตลาดคาด สะท้อนตลาดแรงงานสหรัฐเริ่มชะลอตัวลงแล้ว สอดคล้องกับ  ADP ที่รายงานตัวเลขการจ้างงานของ ภาคเอกชนสหรัฐเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นเพียง 1.45 แสนราย ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ระดับ 2.10 แสนรายและต่ำ กว่าเดือนก่อนหน้า ขณะที่การรายการตัวเลขดัชนีภาคบริการของสหรัฐเดือน มี.ค. โดย ISM ออกมาอยู่ที่ระดับ 51.2 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ระดับ 53.8 สะท้อนภาคบริการของสหรัฐก็ชะลอตัวลงเช่นกัน ถือเป็น การบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานสหรัฐกำลังได้รับผลกระทบสะสมจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของธนาคาร กลางสหรัฐ (FED) แล้ว และยังเป็นปัจจัยชี้นำถึงแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสชะลอตัว-ถดถอยจากระดับอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูงต่อไป ภาคการผลิตที่ยังหดตัว ตลาดแรงงานและภาคการบริการสหรัฐที่อ่อนแอลง คาดจะกดดันทิศทางราคาสินทรัพย์เสี่ยงอ่อนตัวลงได้ คาดตลาดมีโอกาสแกว่งตัวในกรอบแคบต่อไปเพื่อรอดูการเปิดเผยรายงานการประชุม FOMC รอบเดือน มี.ค. ที่ผ่านมาในคืนวันที่ 13 เม.ย. นี้ คาดจะส่งผลให้ตลาดคาดการณ์เกี่ยวกับทิศทางอัตราเงินเฟ้อของ FED ได้มากขึ้น เป็นปัจจัยจํากัด Upside การเคลื่อนไหวของทิศทางราคาสินทรัพย์เสี่ยงได้อยู่

ทางด้านราคาสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI. ส่งมอบเดือน พ.ศ. เมื่อคืนนี้ยังคงแกว่งตัวออกด้านข้างในกรอบแคบอยู่ที่บริเวณ 80.0 เหรียญ+/- ปิดที่ระดับ 80.70 ดอลลาร์/บาร์เรล +0.09 ดอลลาร์ (+0.11%) คาดยังคงได้รับแรงหนุนให้ประคองตัวอยู่ด้านบนต่อไปจากมาตรการปรับลดกำลังการผลิตนํ้ามันของ OPEC+ รวมทั้งรายงานตัวเลขสต็อกนํ้ามันดิบรายสัปดาห์โดย EIA ออกมาลดลง 3.7 ล้าน บาร์เรล มากกว่าที่ตลาดคาดและสะท้อนอุปสงค์น้ำมันในสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง มองยังเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นในกลุ่มพลังงานต้นน้ำรวมทั้งโรงกลั่น (TOP, SPRC และ BCP) จากการได้รับประโยชน์ทางอ้อมจากกําไรของสต็อกน้ำมันฟื้นตัวขึ้น

สำหรับปัจจัยในประเทศ เรามีมุมมองเชิงบวกต่อตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน มี.ค. ของไทยที่ออกมาเพียง +2.83% YoY และ -0.27% MoM ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ระดับ +3.25% และ +0.14% MoM บ่งชี้เงินเฟ้อของไทยผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องพยายามปรับตัวลง เริ่มเข้าใกล้กรอบเป้าหมายของ ธปท. ที่ระดับ 2,00% เรามองเป็นปัจจัยสะท้อนความสามารถในการควบคุมเงินเฟ้อของไทย รวมทั้งยังลดทอนแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของ ธปท. ในระยะถัดไป ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินในประเทศไม่ได้เร่งตัวขึ้นแรง เป็นปัจจัยหนุนทิศทางเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวขึ้นได้ต่อ ขณะที่เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อการรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจเดือน ก.พ. ของ ธปท. โดยพบว่าเศรษฐกิจไทยเดือน ก.พ. ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องในเกือบทุกรายการ โดยการส่งออกดีขึ้นสอดคล้องกับการผลิตและการลงทุนรวมถึงการบริโภคของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของภาคบริการยังได้รับแรงหนุนจากจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ มองเป็นจิตวิทยาเชิงบวกต่อทิศทางตลาดหุ้นไทยได้ต่อ อีกทั้งเรายังมองประเด็นในการเลือกตั้งของไทยเดือน พ.ค. ที่มีความชัดเจนขึ้นต่อเนื่องและคาดว่าการหาเสียงในช่วง เดือน เม.ย. นี้ คาดจะเป็นสีสันให้เศรษฐกิจไทยเช่นกัน เป็นจิตวิทยาเชิงบวกต่อทิศทางตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มค้าปลีก (CPALL, BJC และ MAKRO) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง (STEC และ CK) และกลุ่มสื่อโฆษณา (PLANB และ VGI) รวมทั้งการออกมาทยอยปรับเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยขึ้นสู่ระดับ 25-30 ล้านรายภายในสิ้นปี’66 ของหลายๆ หน่วยงาน คาดจะหนุนหุ้นในกลุ่มสายการบิน (AAV และ BA) ฟื้นตัวขึ้นได้

ธีมการลงทุน “Selective Play”

หุ้นแนะนำาวันนี้ “GPSC”

กลยุทธ์ รอซื้อที่แนวรับ แนวรับ 65.50 / 64.50 Target 70.00 / 75.50 Stop <63.00

- Advertisement -