KS Daily View 12.04.2023 >>> รอดูตัวเลข CPI สหรัฐ คืนนี้ ! คาด SET ทดสอบแนวต้านจิตวิทยาที่ 1,600 จุด SET คาดแกว่งตัวในกรอบ 1,596-1,630 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ BCH, SNNP
สรุปภาวะตลาดเมื่อวานนี้
ต่างประเทศ: ดัชนี DJIA +0.29%, S&P 500 -0.00%, และ NASDAQ -0.43% โดยSector ที่ outperform ใน S&P500 ได้แก่ Energy (+0.89%), Financials (+0.85%) และ Materials (+0.73%) ส่วน Sector ที่ underperform ได้แก่ IT (-1.03%), Communication Services (-0.42%), Consumer Discretionary (+0.02%)
ในประเทศ: SET Index ปรับตัวขึ้น +3.97 จุด หรือ +0.25% ปิดที่ 1,597.10 จุด โดยหุ้นที่ปรับขึ้นแรงได้แก่ KTB (+2.99%), MTC (+2.84%), MEGA (+2.37%) เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ปรับลงแรง ได้แก่ JMART (-2.25%), CBG (-2.24%), BANPU (-1.96%) เป็นต้น
แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ: เราประเมินหุ้นไทยสามารถทะลุกรอบแนวต้าน 1,596 ขึ้นมาได้ แต่อาจจะเจอแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด มูลค่าการซื้อขายเมื่อวานนี้เพียง 36,044.98 ล้านบาท คาดว่ามูลค่าการซื้อขายวันนี้น่าจะเบาบางต่อ จากการเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาว เทศกาลสงกรานต์ และตลาดรอดูตัวเลขเงินเฟ้อ (CPI) ของสหรัฐฯ คืนนี้ หากออกมาเป็นไปตามคาดคือ CPI ปรับตัวลดลงที่ 5.2% ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) จะปรับขึ้นเล็กน้อยที่ 5.6% และที่สำคัญหากเงินเฟ้อพื้นฐาน ปรับลดลงจะเป็นผลดีกับตลาดหุ้น เพราะเฟดจะสามารถลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยพยุงในภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่คาดว่าจะเผชิญในช่วงครึ่งปีหลังได้ แต่หากเงินเฟ้อกดไม่ลดจะส่งผลลบต่อตลาดหุ้น ทำให้เฟดไม่สามารถลดอัตราดอกเบี้ยได้ นอกจากนี้ให้ติดตามแนวโน้ม ตัวเลข GDP ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน 1Q23 ทั้งบริษัทในสหรัฐและไทย ในเชิงกลยุทธ์ยังแนะนำเลือกหุ้นตามธีมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว และเน้นผสานการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Quality growth , Defensive, และกลุ่มพลังงาน ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:
1.) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) โดยคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วง 5 ปีข้างหน้าที่ระดับ 3% ซึ่งเป็นตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะกลางที่ต่ำสุดในรอบกว่า 30 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 2533 ส่วนในระยะสั้น IMF คาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2566 และ 2567 ที่ระดับ 2.8% และ 3% ตามลำดับ ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ในเดือนม.ค.ที่ระดับ 2.9% และ 3.1% คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะมีการขยายตัว 1.6% ในปีนี้ ขณะที่ยูโรโซนขยายตัว 0.8% แต่สหราชอาณาจักรหดตัว 0.3% ส่วนเศรษฐกิจจีนคาดว่าจะมีการเติบโต 5.2% ขณะที่อินเดียขยายตัว 5.9% และไทยขยายตัว 3.4%
2.) IMF มองการเติบโตของเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากมรสุมครั้งใหญ่ ทั้งรัสเซียรุกรานยูเครน การแพร่ระบาดของโควิด-19 จีนกำลังฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งจากการเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานกำลังคลี่คลายลง ราคาพลังงานและอาหารลดลงจากภาวะสงคราม และนโยบายการเงินที่ตึงตัวของธนาคารกลางส่วนใหญ่น่าจะเริ่มทีผลทำให้เกิดเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย
3.) สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่มขึ้นเพียง 0.7% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนก.พ.ที่ปรับตัวขึ้น 1% และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1% ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดต้นทุนสินค้าที่หน้าประตูโรงงาน ปรับตัวลง 2.5% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งลดลงติดต่อกันเดือนที่ 6 และเป็นการปรับตัวลงมากกว่าเดือนก.พ.ที่ลดลงเพียง 1.4%
4.) นายแพททริก ฮาร์กเกอร์ (Patrick Harker) และ นายจอห์น วิลเลียมส์ (John Williams) ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดเฟีย และสาขานิวยอร์ก มีความเห็นสอดคล้องกันว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเกิน 5% เพื่อต้องการดึงเงินเฟ้อกับมาที่ 2% และการที่เฟดมีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 1 ครั้งในปีนี้ โดยจะปรับขึ้น 0.25% ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่นโยบายเฟดจะขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจที่เฟดได้รับ (Data dependent)
Theme การลงทุนสัปดาห์นี้
1.) หุ้นที่มีปัจจัยบวกหนุนหรือทิศทางผลประกอบเติบโต (Quality Growth) ได้แก่ 1.1) KLINIQ ราคาพื้นฐาน 48.10 บาท ตั้งเป้ารายได้ปี 2566 ที่ 2 พันลบ. เติบโต 22% YoY ด้วยอัตรากำไรสุทธิ 13% เพิ่มขึ้นจาก 12.5% จากการเปิด10 สาขาใหม่ในปีนี้ เพิ่มกิจกรรมการตลาด เปิดศูนย์ศัลยกรรมใหม่รองรับความต้องการลูกค้าต่างชาติ และควบคุมต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 1.2) TKN ราคาพื้นฐาน 10.80 บาท และ SNNP ราคาพื้นฐาน 30.30 บาท สินค้าของทั้งสองบริษัทเป็นของฝากที่คนจีนนิยมซื้อกลับไปที่บ้าน และคาดจะเห็นยอดขายเร่งตัวขึ้นใน 2Q23 จากการกลับมาของกลุ่มทัวร์จีน 1.3) D ราคาพื้นฐาน 8.93 บาท คาดกำไร 1Q23 จะเติบโตต่อเนื่อง การขึ้นค่ารักษา 10% ไม่มีผลกระทบลูกค้ายังแนวโน้มดีต่อเนื่องจากลูกค้าต่างชาติกลับมามากขึ้น และคาดจะเร่งตัวใน 2Q23 หลังลูกค้าจีนกลับมา(สัดส่วนประมาณ 20% ก่อนโควิด) และ 1.4) AEONTS ราคาพื้นฐาน 214 บาท มองเป็นหุ้นที่ได้ประโยชน์ทางตรงจากนโยบายหาเสียงล่าสุดของพรรคการเมือง ทั้งการอัดฉีดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจฐานราก และการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
2.) กลุ่ม Defensive ที่จะช่วยลดความผันผวน/ความเสี่ยงของพอร์ทการลงทุนรวม แนะนำ 2.1) AOT ราคาพื้นฐาน73.50 บาท ได้ประโยชน์จากแนวโน้มนักท่องเที่ยวที่คาดว่าเร่งตัวขึ้นใน 2Q23 โดยเฉพาะจากกลุ่มทัวร์จีนหลังจำนวนflight บินมากขึ้นและตั๋วถูกลง และ 2.2) BDMS ราคาพื้นฐาน 33.90 บาท คาดผู้ป่วยต่างชาติยังฟื้นตัวต่อกลับไปสู่ระดับก่อนโควิด ขณะที่ราคาหุ้นซื้อขายที่ระดับค่าเฉลี่ยประมาณ 32x
3.) กลุ่มพลังงาน แนะนำ PTTEP ราคาพื้นฐาน 172 บาท เพื่อ hedge กับทิศทางราคาน้ำมันดิบที่คาดว่าจะปรับตัวขึ้นทดสอบระดับ U$90/bbl
หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:
- BCH (ราคาพื้นฐาน 24.7 บาท) ได้ประโยชน์จากการขึ้นค่ารักษาโดยสำนักงานประกันสังคม รวมถึงการปรับประมาณการกำไรปกติขึ้น 1-3% ในปี 2566-68 คาดกำไรขั้นต้น (GPM) ที่ 32-33% ใกล้เคียงกับระดับในไตรมาส 4/2565
- SNNP (ราคาพื้นฐาน 30.30 บาท) เราคาดว่ากำไรไตรมาสที่ 1 ปีนี้จะอยู่ที่ 165 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 45.4% YoY, 4.4% QoQ โดยกำไรไตรมาส 1 นี้คิดเป็น 23.1% ของการประมาณการทั้งปี ผู้บริหารคาดว่ายอดขายปีนี้จะโตขึ้น 16% QoQ จากการเพิ่มขึ้นใน 2Q23 และ 3Q23 และสูงสุดใน 4Q23 จากนักท่องเที่ยวชาวจีนฟื้นตัว
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ:
- วันพุธ ติดตาม ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.2% MoM และ +5.2% YoY (vs. เดือนก่อนหน้าที่ +0.4% MoM และ +6.0% YoY) และเงินเฟ้อพื้นฐานที่ +0.4% MoM และ +5.6% YoY เงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค. 2023 การประชุมธนาคารกลางแคนาดาคาดคงดอกเบี้ยที่ 4.5% ปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ รายสัปดาห์ และ FOMC minutes
- วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขส่งออกของจีนเดือน มี.ค. คาด -1.1% YoY และตัวเลขนำเข้าของจีนเดือน มี.ค. คาด +6.5% YoY ตัวเลข PPI ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.1% MoM และ +3.1% YoY (จากเดือนก่อนหน้าที่-0.1% MoM) ตัวเลข Initital Jobless Claim คาด +205K (จากสัปดาห์ก่อนที่ +228K)
- วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลข Retail sales ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด -0.4% MoM และตัวเลข Retail sales ex auto ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด -0.2% MoM ตัวเลข Industrial production ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.2% MoM ตัวเลข Michigan Consumer Sentiment เดือน เม.ย. คาด 62.7 จุด (+1.1% MoM) และถ้อยแถลงของ Fed Waller