KS Daily View 17.04.2023 >>> คาด SET ปรับเพิ่มขึ้นตามตลาดหุ้นโลก CPI สหรัฐ +5 % YoY ดีกว่าคาด SET คาดแกว่งตัวในกรอบ 1,585-1,625 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ BBL, KTB

สรุปภาวะตลาดเมื่อวันศุกร์

ต่างประเทศ: ดัชนี DJIA -0.42%, S&P 500 -0.21%, และ NASDAQ -0.35% โดย Sector ที่ outperform ใน S&P500 ได้แก่ Communication Services (+0.31%), Energy (+0.19%) ส่วน Sector ที่ underperform ได้แก่ Real estate (-1.68%), Utilities (-1.11%), Health care (-0.79%)

ในประเทศ: SET Index ปรับตัวลดลง -4.43 จุด หรือ -0.28% ปิดที่ 1,592.67 จุด โดยหุ้นที่ปรับขึ้นแรงได้แก่ BLA (+3.64%), BTS (+2.01%), TIPH (+1.85%)  เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ปรับลงแรง ได้แก่ JMT (-4.00%), TTB (-3.45%), OSP (-3.36%)  เป็นต้น

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ:

เราประเมินตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้แกว่งตัวในกรอบ 1,585 – 1,625 จุด มูลค่าการซื้อขายปรับตัวเพิ่มขึ้นบ้างหลังผ่านพ้นช่วงวันหยุดยาว ประเมินเฉลี่ยที่ 4-5 หมื่นลบ.ต่อวัน การรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนของไทยใน 1Q23  เริ่มด้วยกลุ่ม Financial ได้แก่ KTC, TTB, TISCO, BBL, KKP, KBANK, และ SCB ทั้งนี้คาดว่ากลุ่มธนาคารพาณิชย์จะรายงานกำไร 1Q23 โต QoQ และ YoY โดยตัวที่กำไรโตเด่นได้แก่ KTB และ BBL ขณะที่ภาพใหญ่นักลงทุนจะยังรอประเมินทิศทางเศรษฐกิจโลก (Soft Landing/Recession/Stagflation) และผลการเลือกตั้งทั่วไปของไทยในวันที่ 14 พ.ค. โดยเริ่มเห็นการเก็งกำไรหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว เช่น กลุ่ม Quality Growth  บนแรงหนุนจากโอกาสที่ดอกเบี้ยใกล้จุดพีค กลุ่ม Finance ซึ่งได้ประโยชน์จากนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ กลุ่มพลังงานต้นน้ำจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น และกลุ่มที่คาดว่ากำไร 1Q23 จะออกมาดีและแนวโน้มดีต่อใน 2Q23 เป็นต้น ในเชิงกลยุทธ์ทาง KS ยังแนะนำผสานการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Quality growth , Defensive, และกลุ่มพลังงาน ตามลำดับ

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

1.) ตัวเลข CPI สหรัฐฯ เดือนมี.ค. ออกมาที่ +0.1% MoM และ +5.0% YoY (ต่ำกว่าคาดที่ +0.2% MoM และ +5.1% YoY จากราคาหมวดพลังงานปรับตัวลงแรง) ตัวเลข Core CPI ออกมาตามคาดที่ +0.4% MoM และ +5.6% YoY และตัวเลข PPI ออกมาที่ -0.5% MoM (เทียบคาดการณ์ที่ 0% MoM) ด้านตัวเลข Retail sales ของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาดที่ -1.0% MoM (vs. คาดการณ์ที่ -0.4% MoM และ -0.2% MoM เดือนก่อนหน้า)

2.) นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ ประเมินว่าเฟดมีโอกาสในการปรับขึ่้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งสุดท้ายในเดือนพ.ค. อีก 25bps (โอกาสประมาณ 70-80%) และหลังจากนั้นคาดว่าจะคงดอกเบี้ย ก่อนปรับลดในช่วง 2H23 ประมาณ 1-2 ครั้งรวมกัน 50bps

3.) การประกาศผลประกอบการ 1Q23 นำโดยกลุ่มธนาคาร ตปท (BofA, GS, MS, AXP, และ USB หลัง JPmorgan, CITI และ Wells Fargo ต่างรายงานกำไร 1Q23 ดีกว่าคาดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา) กลุ่ม Real sector (J&J, LMT, Abbott, P&G) และกลุ่ม Technology (Netflix, IBM, Lam Research, AT&T) เป็นต้น

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้

1.) หุ้นที่มีปัจจัยบวกหนุนหรือทิศทางผลประกอบเติบโต (Quality Growth) ได้แก่

1.1) KTC ราคาพื้นฐาน 62 บาท คาดกำไร 1Q23 ที่ 1.79 พันลย. (+7% QoQ และ +2% YoY) จาก credit cost ที่ลดลง และสินเชื่อเติบโต 13% YoY vs. เป้าหมายที่ 15% YoY หนุนโดยการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจากการบริโภคและการท่องเที่ยวฟื้น รวมถึงธุรกิจใหม่อย่างสินเชื่อจำนำทะเบียน

1.2) CHAYO ราคาพื้นฐาน 10.10 บาท จากแนวโน้ม cash collection ที่ดีต่อเนื่องใน 1Q23 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่คาดว่ากำไรปี 2023 จะโต 50% YoY เป็น 451 ลบ.หนุนจากการขายทรัพย์ชิ้นใหญ่

1.3) AMATA ราคาพื้นฐาน 26.50 บาท คาดกำไรปกติปี 2023 เติบโต 11% YoY เป็น 1.65 พันลบ. ขณะที่ AMATA ตั้งเป้ายอดขายที่ดินปีนี้โต 50% YoY เป็น 2,250 ไร่หนุนจากการย้ายฐาน และความเชื่อมั่นภาคเอกชนฟื้นตัวหลังเลือกตั้งกลางปี

2.) กลุ่ม Defensive ที่จะช่วยลดความผันผวน/ความเสี่ยงของพอร์ทการลงทุนรวม แนะนำ 2.1) AOT ราคาพื้นฐาน 73.50 บาท มีค่า beta 0.7x ได้ประโยชน์จากแนวโน้มนักท่องเที่ยวที่คาดว่าเร่งตัวขึ้นใน 2Q23 โดยเฉพาะจากกลุ่มทัวร์จีนหลังจำนวน flight บินมากขึ้นและตั๋วถูกลง 2.2) CK ราคาพื้นฐาน 33.34 บาท มีค่า beta 0.5x คาดงานโครงการรัฐฟื้นตัวหลังเลือกตั้งกลางปี รอรถไฟฟ้าสายสีส้มอนุมัติ หนุน upsides มากกว่า 50% จาก backlog ปี 66 ที่ = 5.3 เท่า ของปี 62 และสูงสุดเป็นประวัติการณ์, กำไรปกติปี 66/67 = 1.8/7.3 เท่า และ MV/EV ปัจจุบันอยู่ที่ 1.16/1.27 เท่า นอกจากนี้ด้วยโมเมนตัมกำไรที่ดี และรายได้จากบริษัทในเครือที่สูงขึ้น ทำให้คาดว่าหุ้นจะเทรดด้วย holding discount ที่ลดลง และ 2.3) BBL ราคาพื้นฐาน 180 บาท มีค่า beta 0.8x คาดกำไร 1Q23 ที่ 8.8 พันลบ เติบโต 16.5%QoQ และ 24% YoY มองได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และส่วนต่างดอกเบี้ยที่ขยายตัวต่อจากคาดการณ์ กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 25bps. ในเดือน พ.ค.

3.) กลุ่มพลังงาน แนะนำ PTTEP ราคาพื้นฐาน 172 บาท เพื่อ hedge กับทิศทางราคาน้ำมันดิบที่คาดว่าจะปรับตัวขึ้นทดสอบระดับ U$90/bbl

หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:

BBL (ราคาพื้นฐาน 180.0  บาท) ได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้ NIM สูงขึ้น  ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2566-67 ขึ้น 6% และ 9% เป็น 3.66 หมื่นล้านบาท และ 4.34 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ พร้อมปรับ PBV ระยะยาวเป็น 0.65 เท่า ส่งผลให้ราคาเป้าหมายเป็น 180.0 บาท

KTB (ราคาพื้นฐาน 20.4 บาท) ได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้ NIM สูงขึ้น ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2566-67 ขึ้น 4% และ 1% เป็น 3.61 หมื่นล้านบาท และ 4.03 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ ที่ PBV ปี 2023 0.71 เท่า ส่งผลให้ราคาเป้าหมายเป็น 20.4 บาท

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์ ติดตาม NY Empire State Manufacutruing index เดือน เม.ย. คาด -18 จุด (ดีขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ -24.6 จุด) และ NAHB housing market index เดือน เม.ย. คาด 44 จุด (ทรงตัว MoM)
  • วันอังคาร ติดตาม GDP 1Q23 ของจีน คาด +2.2% QoQ และ +4% YoY (เทียบไตรมาสก่อนที่ +2.9% YoY) ตัวเลข Retail sales ของจีนเดือน มี.ค.​ คาด +4.5% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ +3.5% YoY)  ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีน เดือน มี.ค.​ คาด +2.7% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ +2.4% YoY) ตัวเลข Fixed asset investment ของจีนใน 1Q23 คาด 5.3% YoY ตัวเลข Zew Economic sentiment index ของเยอรมัน เดือน เม.ย.​ คาด 15.1 จุด (+16% MoM) ตัวเลข Building Permits ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค.​ คาด 1.45mn (-6% MoM) ตัวเลข Housing starts ของสหรัฐฯ​ เดือน มี.ค. คาด 1.4mn (-1% MoM) และถ้อยแถลงของ Fed Bowman
  • วันพุธ ติดตาม ตัวเลขเงินเฟ้อของอังกฤษ เดือน มี.ค. คาด +9.8% YoY (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 10.4% YoY) และปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ
  • วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขส่งออกของญี่ปุ่น เดือน มี.ค. คาด +2.6% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่    6.5% YoY) ตัวเลขดุลการค้าของญี่ปุ่นเดือน มี.ค. คาด -Y1295bn (เทียบเดือนก่อนที่ -Y898bn) ตัวเลข Loan Prime Rate ของจีน 1 ปี และ 5 ปี คาดคงดอกเบี้ยที่ 3.65% และ 4.3% ตามลำดับ ตัวเลข PPI เดือน มี.ค. ของเยอรมัน คาด -0.4% MoM และ +9.9% YoY (ลดลงจาก +15.8% YoY เดือนก่อน) ตัวเลข Consumer Confidence Flash ของยูโรโซนเดือน เม.ย. คาด -18.5 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ -19.2 จุด) ตัวเลข Initial Jobless Claim ของสหรัฐฯ รายสัปดาห์คาด +240K (เทียบสัปดาห์ก่อนหน้าที่ +239K) ตัวเลข Existing home sales ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด 4.4mn (-4.2% MoM) และถ้อยแถลงของ Fed Waller
  • วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลขเงินเฟ้อญี่ปุ่นเดือน มี.ค. คาด 3.2% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 3.3% YoY) ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือน มี.ค. คาด +3.1% YoY (ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า) ตัวเลข Retail sales ของอังกฤษเดือน มี.ค. คาด -0.5% MoM และ -3.1% YoY ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI Flash ของเยอรมัน เดือน เม.ย. คาด 45.6 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 44.7 จุด) ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI Flash ของยูโรโซน เดือน เม.ย. คาด 48 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 47.3 จุด) S&P Global Service PMI Flash ของยูโรโซน เดือน เม.ย. คาด 54.5 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 54 จุด) ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI Flash ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด 49 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 49.2 จุด) S&P Global Service PMI Flash ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด 51.5 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 52.6 จุด) และถ้อยแถลงของ Fed Cook
- Advertisement -