KS Daily View 19.04.2023 >>> จับตา Sell on fact หุ้นที่ประกาศงบ SET ไม่ผ่านทดสอบแนวต้านจิตวิทยา 1,600 จุด SET คาดแกว่งตัวในกรอบ 1,585-1,625 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ SAT, KTC
ต่างประเทศ: ดัชนี DJIA -0.03%, S&P 500 +0.09%, และ NASDAQ -0.04% โดย Sector ที่ outperform ใน S&P500 ได้แก่ Industrials (+0.46%), Energy (+0.45%), IT (+0.41%) ส่วนSector ที่underperform ได้แก่ Healthcare (-0.66%), Communication services (-0.65%), Utilities (-0.51%)
ในประเทศ: SET Index ปรับตัวลดลง -6.56 จุด หรือ -0.41% ปิดที่ 1,593.85 จุด โดยหุ้นที่ปรับขึ้นแรงได้แก่ DOHOME (+4.44%), TU (+2.92%), RBF (+2.73%) เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ปรับลงแรง ได้แก่ TCAP (-5.49%), KTB (-3.47%), BCP (-3.15%) เป็นต้น
แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ:
เราประเมินตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้แกว่งตัวในกรอบ 1,585 – 1,625 จุด หลังจากขึ้นไปทดสอบแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุดไม่ผ่าน ระวังการ Sell on fact ในหุ้นที่รายงานผลประกอบการไตรมาส 1 ออกมาแล้ว และนักลงทุนอาจจะหมุนเปลี่ยนตัวเล่น โดยกลุ่ม Financial ที่รายงานงบวานนี้ได้แก่ KTC, TISCO ส่วนหุ้นตัวอื่นอย่าง TTB, BBL, KKP, KBANK, และ SCB ที่จะทยอยประกาศงบออกมา ทั้งนี้คาดว่ากลุ่มธนาคารพาณิชย์จะรายงานกำไร 1Q23 โต QoQ และ YoY โดยตัวที่กำไรโตเด่นได้แก่ KTB และ BBL ขณะที่ภาพใหญ่นักลงทุนจะยังรอประเมินทิศทางเศรษฐกิจโลก (Soft Landing / Recession / Stagflation) และผลการเลือกตั้งทั่วไปของไทยในวันที่ 14 พ.ค. โดยเริ่มเห็นการเก็งกำไรหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว เช่น กลุ่ม Quality Growth บนแรงหนุนจากโอกาสที่ดอกเบี้ยใกล้จุดพีค กลุ่ม Finance ซึ่งได้ประโยชน์จากนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ กลุ่มพลังงานต้นน้ำจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น และกลุ่มที่คาดว่ากำไร 1Q23 จะออกมาดีและแนวโน้มดีต่อใน 2Q23 เป็นต้น ในเชิงกลยุทธ์ทาง KS ยังแนะนำผสานการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Quality growth , Defensive, และกลุ่มพลังงาน ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:
1.) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านลดลง 0.8% ในเดือนมี.ค. สู่ระดับ 1.42 ล้านยูนิต แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.40 ล้านยูนิต ส่วนการอนุญาตก่อสร้างบ้านดิ่งลง 8.8% สู่ระดับ 1.413 ล้านยูนิตในเดือนมี.ค.
2.) นายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟด สาขาแอตแลนตา กล่าวว่า เขาคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 1 ครั้ง ก่อนที่จะพักการดำเนินการด้านดอกเบี้ยเพื่อพิจารณาถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการที่เฟดใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงิน “หากข้อมูลออกมาตามคาด เราก็จะคงอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลาระยะหนึ่ง โดยเราจะไม่ดำเนินการอะไร นอกจากจับตาเศรษฐกิจตลอดทั้งปีนี้ และขณะเข้าสู่ปี 2567”
3.) รายงานกำไรบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐ 1Q23 EPS/Forecast($) J&J 2.65/2.5, Bank of America 0.94/0.81, Netflix 2.88/2.86, Lockheed Martin 6.61/6.07, Goldman Sachs 8.79/8.24
4.) บีเอ็นพี พาริบาส์ ซึ่งเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยูโรโซน เปิดเผยว่า ทางธนาคารจะเปิดตัวการให้บริการ Wealth Management หรือการบริหารจัดการความมั่งคั่ง ในประเทศไทย เพื่อขยายการดำเนินงานในตลาดเอเชีย โดยการใช้แพลตฟอร์มของบีเอ็นพี พาริบาส์ในสิงคโปร์
Theme การลงทุนสัปดาห์นี้
1.) หุ้นที่มีปัจจัยบวกหนุนหรือทิศทางผลประกอบเติบโต (Quality Growth) ได้แก่
1.1) KTC ราคาพื้นฐาน 62 บาท กำไร 1Q23 ที่ 1.87 พันลบ. (+7% YoY, 12% QoQ) จาก credit cost ที่ลดลง และสินเชื่อเติบโต 15% YoY หนุนโดยการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจากการบริโภคและการท่องเที่ยวฟื้น รวมถึงธุรกิจใหม่อย่างสินเชื่อจำนำทะเบียน
1.2) CHAYO ราคาพื้นฐาน 10.10 บาท จากแนวโน้ม cash collection ที่ดีต่อเนื่องใน 1Q23 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่คาดว่ากำไรปี 2023 จะโต 50% YoY เป็น 451 ลบ.หนุนจากการขายทรัพย์ชิ้นใหญ่
1.3) AMATA ราคาพื้นฐาน 26.50 บาท คาดกำไรปกติปี 2023 เติบโต 11% YoY เป็น 1.65 พันลบ. ขณะที่ AMATA ตั้งเป้ายอดขายที่ดินปีนี้โต 50% YoY เป็น 2,250 ไร่หนุนจากการย้ายฐาน และความเชื่อมั่นภาคเอกชนฟื้นตัวหลังเลือกตั้งกลางปี
2.) กลุ่ม Defensive ที่จะช่วยลดความผันผวน/ความเสี่ยงของพอร์ทการลงทุนรวม แนะนำ
2.1) AOT ราคาพื้นฐาน 73.50 บาท มีค่า beta 0.7x ได้ประโยชน์จากแนวโน้มนักท่องเที่ยวที่คาดว่าเร่งตัวขึ้นใน 2Q23 โดยเฉพาะจากกลุ่มทัวร์จีนหลังจำนวน flight บินมากขึ้นและตั๋วถูกลง
2.2) CK ราคาพื้นฐาน 33.34 บาท มีค่า beta 0.5x คาดงานโครงการรัฐฟื้นตัวหลังเลือกตั้งกลางปี รอรถไฟฟ้าสายสีส้มอนุมัติ หนุน upsides มากกว่า 50% จาก backlog ปี 66 ที่ = 5.3 เท่า ของปี 62 และสูงสุดเป็นประวัติการณ์, กำไรปกติปี 66/67 = 1.8/7.3 เท่า และ MV/EV ปัจจุบันอยู่ที่ 1.16/1.27 เท่า นอกจากนี้ด้วยโมเมนตัมกำไรที่ดี และรายได้จากบริษัทในเครือที่สูงขึ้น ทำให้คาดว่าหุ้นจะเทรดด้วย holding discount ที่ลดลง
2.3) BBL ราคาพื้นฐาน 180 บาท มีค่า beta 0.8x คาดกำไร 1Q23 ที่ 8.8 พันลบ เติบโต 16.5%QoQ และ 24% YoY มองได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และส่วนต่างดอกเบี้ยที่ขยายตัวต่อจากคาดการณ์ กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 25bps. ในเดือน พ.ค.
3.) กลุ่มพลังงาน แนะนำ PTTEP ราคาพื้นฐาน 172 บาท เพื่อ hedge กับทิศทางราคาน้ำมันดิบที่คาดว่าจะปรับตัวขึ้นทดสอบระดับ U$90/bbl
หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:
- SAT (ราคาพื้นฐาน 22.00 บาท) คาดกำไรสุทธิไตรมาส 1/2566 จะอยู่ที่ 240 ลบ. ลดลง 7.4% YoY จาก GPM ที่หดตัวลง แต่เพิ่มขึ้น 13.5% QoQ จากรายได้และ GPM ที่สูงขึ้น จากราคาเหล็กในประเทศที่ลดลงและการประหยัดต่อขนาดที่สูงขึ้น คาดว่ากำไรไตรมาส 1 นี้คิดเป็น 25% ของประมาณการกำไรทั้งปี 2566 เราปรับคำแนะนำจากถือเป็น “ซื้อ” เชื่อว่าต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นและค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยลบต่อ GPM ของบริษัทฯ เมื่อปีที่ผ่านมาได้สิ้นสุดลงแล้ว เราเชื่อว่ากำไรสุทธิปี 2566 น่าจะทรงตัวจากปีที่แล้วตามแรงกดดันจากค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น แต่เรามีมุมมองเป็นบวกต่อครึ่งหลังของปี 2566 มากกว่าครึ่งปี โดยได้แรงหนุนจากการผลิตรถยนต์ทั้งปีจะอยู่ที่ 1.95 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 4% จากปีทีแล้ว
- KTC (ราคาพื้นฐาน 62.00 บาท) ราคาปรับตัวลดลงมาหลังขึ้นเครื่องหมาย XD และเมื่อวานประกาศงบหลังตลาดปิดทำการกำไรไตรมาส 1/2566 ที่ 1.87 พันลบ. (+7% YoY, 12% QoQ) คิดเป็น 25% ของประมาณการกำไรปี 2566 สูงกว่าประมาณการของเรา 5% แต่เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ เผยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรแข็งแกร่งกว่าคู่แข่งในช่วง 2M66 คุณภาพสินทรัพย์ยังคงอยู่ในระดับดี กำไรไตรมาส 2/2566 ดีขึ้นเล็กน้อย QoQ และ YoY โดยได้แรงหนุนจากอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ที่สูงขึ้น NII ที่สูงขึ้นจากการเติบโตของสินเชื่อ และ credit cost ที่คงที่
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันพุธ ติดตาม ตัวเลขเงินเฟ้อของอังกฤษ เดือน มี.ค. คาด +9.8% YoY (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 10.4% YoY) และปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ
- วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขส่งออกของญี่ปุ่น เดือน มี.ค. คาด +2.6% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 6.5% YoY) ตัวเลขดุลการค้าของญี่ปุ่นเดือน มี.ค. คาด -Y1295bn (เทียบเดือนก่อนที่ -Y898bn) ตัวเลข Loan Prime Rate ของจีน 1 ปี และ 5 ปี คาดคงดอกเบี้ยที่ 3.65% และ 4.3% ตามลำดับ ตัวเลข PPI เดือน มี.ค. ของเยอรมัน คาด -0.4% MoM และ +9.9% YoY (ลดลงจาก +15.8% YoY เดือนก่อน) ตัวเลข Consumer Confidence Flash ของยูโรโซนเดือน เม.ย. คาด -18.5 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ -19.2 จุด) ตัวเลข Initial Jobless Claim ของสหรัฐฯ รายสัปดาห์คาด +240K (เทียบสัปดาห์ก่อนหน้าที่ +239K) ตัวเลข Existing home sales ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด 4.4mn (-4.2% MoM) และถ้อยแถลงของ Fed Waller
- วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลขเงินเฟ้อญี่ปุ่นเดือน มี.ค. คาด 3.2% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 3.3% YoY) ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือน มี.ค. คาด +3.1% YoY (ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า) ตัวเลข Retail sales ของอังกฤษเดือน มี.ค. คาด -0.5% MoM และ -3.1% YoY ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI Flash ของเยอรมัน เดือน เม.ย. คาด 45.6 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 44.7 จุด) ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI Flash ของยูโรโซน เดือน เม.ย. คาด 48 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 47.3 จุด) S&P Global Service PMI Flash ของยูโรโซน เดือน เม.ย. คาด 54.5 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 54 จุด) ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI Flash ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด 49 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 49.2 จุด) S&P Global Service PMI Flash ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด 51.5 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 52.6 จุด) และถ้อยแถลงของ Fed Cook