กลุ่มบริษัทเจมาร์ท เชื่อมั่น Q1/66 ผ่านจุดต่ำสุด คาดครึ่งปีหลังเห็นสัญญาณดี เร่งปั้น Key Driver ใหม่ – ต่อยอดพลัง Synergy
JMART เชื่อมั่นการเติบโตบริษัทในกลุ่ม พลังของ Power of synergy ที่แข็งแกร่งขึ้น จะสามารถสร้างการเติบโตในอนาคต และต่อยอดไปยังโอกาสใหม่ๆ รับปีนี้ผลกระทบจากกลุ่มบริษัท SINGER ไม่ได้อยู่ในสิ่งที่คาดหวังไว้ แต่เชื่อว่า จากการปรับกลยุทธ์ ตลอดจน ปรับโครงสร้างการบริหาร จะทำให้ในระยะยาว SINGER – SGC จะกลับมาแข็งแรงได้กว่าเดิม โดยจะเห็นสัญญาณบวกในครึ่งปีหลัง และผ่านจุดต่ำสุดใน Q1/66 มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะที่ภาพรวม JMT ยังเป็นหัวหอกการทำกำไร ส่วน JAS ASSET (J) ลุยเปิดคอมมูนิตี้มอลล์ ในไตรมาส 3 – 4 ปีนี้ และลงทุนในธุรกิจที่อยู่ในเทรนด์การเติบโตอย่าง Senior Wellness สู่ผู้นำตลาดในอนาคต
นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (JMART) เปิดเผยทิศทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทในปี 2566 ยังคงเดินหน้าตามกลยุทธ์ที่เราวางไว้ และมุ่งเน้น “New Partner” “New Technology” “New Ecosystem” ด้วยฐานทุนธุรกิจที่มีความแข็งแกร่งทางด้านการเงิน และเตรียม spin off บริษัทในกลุ่มในหลายๆ บริษัทที่เราเข้าไปลงทุน เพื่อเป็น Growth driver ของ JMART ในอนาคต
ผลกระทบจากการขาดทุนในไตรมาส 1/2566 ที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญมาจากการรับรู้ผลกระทบจาก SINGER แต่เราเชื่อว่า สถานการณ์จะดีขึ้นในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ปีนี้ และพลิกผลการดำเนินงานกลับมาเป็นบวกได้ โดยเรามองว่า ไตรมาส 1/2566 คือช่วงที่ต่ำที่สุดของปี และได้ผ่านพ้นปัญหานี้ ด้วยการเร่งแก้เกม วางกลยุทธ์ให้เร็วที่สุด ประกอบกับ ในช่วงครึ่งปีหลัง จะได้เห็น JMART เข้าไปลงทุนในบริษัทใหม่ๆ และสามารถสร้างกำไรจากบริษัทที่เข้าไปลงทุนกลับมาได้อย่างแข็งแรง ทำให้ Ecosystem ของกลุ่มบริษัทขยายพอร์ตใหญ่มากขึ้น จากปี 2562 มีประมาณ 10 บริษัทในกลุ่ม อาทิ Jaymart Mobile – JMT – Jas Asset (J) และ SINGER แต่วันนี้เรามีบริษัทในกลุ่มรวมประมาณ 18 บริษัท ครอบคลุมธุรกิจค้าปลีก การเงิน และเทคโนโลยี เป็นขุมพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโต และการ Synergy โดยผลลัพท์ที่ชัดเจนที่สุด จะเห็นได้จากการเติบโตของ JMT ที่เป็นฐานกำไรที่ดีต่อเนื่อง
และการเติบโตของธุรกิจในเครือน้องใหม่อย่างสุกี้ตี๋น้อย ปัจจุบันมี 46 สาขา สามารถสร้างส่วนแบ่งกำไรให้บริษัทได้มากกว่า 60 ล้านบาท และตั้งเป้าสิ้นปีนี้จะมี 60 สาขา เดินหน้าแผนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบันได้แต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินเรียบร้อยแล้ว เพื่อเข้ามาเป็น Key Driver ขับเคลื่อนฐานกำไรให้เจมาร์ทอีกตัวหนึ่ง อีกทั้ง การเริ่ม Synergy ร่วมกับ บมจ.พีอาร์ทีอาร์ กรุ๊ป (PRTR) ในงานด้านจัดหาบุคลากร ระบบด้าน HR ต่างๆ และการเทรนนิ่ง จะเสริมศักยภาพการบริหารงานของกลุ่มบริษัทให้แข็งแกร่ง และเตรียมพร้อมสำหรับการเติบโตในอนาคต และหัวใจสำคัญของธุรกิจในกลุ่มเจมาร์ท คือ เทคโนโลยี โดยบริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด (JVC) นำโดยการบริหารของ นายธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเผยว่า เจ เวนเจอร์ส มีภารกิจในการช่วยทรานส์ฟอร์มกลุ่มเจมาร์ท พัฒนาระบบและแพลตฟอร์มต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยีเข้ามา และสนับสนุนผลการดำเนินงานในปี 2564 บริษัทสามารถเริ่มทำกำไรได้ 1.1 ล้านบาท ปี 2565 เราทำกำไรที่18.8 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2566 จะทำกำไรได้ 24.4ล้านบาท
สิ่งที่บริษัทกำลังพัฒนา เพื่อมุ่งหน้าสู่เทคโนโลยี Web3 และทรานส์ฟอร์มเจมาร์ทด้วยBlockchain โดยมี JFIN CHAIN รองรับเพื่อใช้ใน Jaymart Ecosystem ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเราพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบัน บริษัทมีกว่า 40 โปรเจ็กต์ เพื่อนำไปสู่การทรานส์ฟอร์ม และแพลตฟอร์มเราจะไปช่วยเจมาร์ททำ Virtual banking คือการนำฟินเทค ไปช่วยในฝั่งธุรกิจค้าปลีก เราจะเอาเทคโนโลยีทำให้กลไกการขายดีขึ้นได้ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้า Underserved ที่ไม่สามารถเข้าถึงสถาบันการเงินให้กลับเข้าสู่ระบบ สร้าง Commerce Tech ให้สมบูรณ์ เตรียมพร้อม แบงก์ชาติไฟเขียว Virtual banking และการเติบโตของเจมาร์ทบนโลกยุคดิจิทัลในฐานะภาคเอกชนที่มีความพร้อมที่สุดรายหนึ่งของประเทศ
รวมถึง บริษัท อวานติส แลบอราทอรี่ จำกัด ที่ JMART ได้เข้าไปลงทุนเพื่อตอบโจทย์การทำ Asset Tokenization หรือแปลงสินทรัพย์ในโลกความเป็นจริงให้เป็น Digital Asset โปรเจ็กต์แรกคือ Rket หรือ Stock Tokenization เป็นศูนย์กลางในการซื้อขายสินทรัพย์ในประเภทต่างๆ เริ่มจากหุ้นในตลาดสหรัฐ และตลาดในประเทศทั่วโลก ผ่าน Blockchain และ โปรเจ็กต์ที่สอง Sanka คือ การแปลงอสังหาริมทรัพย์เปนดิจิทัลโทเคน ทำให้นักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลกสามารถเข้าถึงอสังหาริมทรัพย์ด้วยต้นทุนต่ำ ในเวลาที่รวดเร็ว เริ่มต้นแล้วที่ญี่ปุ่น และอังกฤษ โดยตั้งเป้าจะมี Real-World Blockchain Use Cases มากขึ้น
นายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) (JMT) เปิดเผย ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้น เท่ากับ 453.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 86.1 ล้านบาท หรือเติบโต 23.5% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และอัตรากำไรสุทธิเติบโตอยู่ที่ 39.4% เนื่องจากการบริหารการจัดเก็บพอร์ตหนี้ด้อยคุณภาพที่ดี และไม่มีค่าเคลมประกันโควิด (รายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในปี 2565) ของบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจประกันภัย และได้รับส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค จำกัด (JK AMC) จำนวน 133.7 ล้านบาท ขณะที่ ภาพรวมรายได้เติบโตในทุกกลุ่มธุรกิจ รายได้รวมอยู่ที่ 1,149.7 ล้านบาท 6.6% จากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเติบโตของรายได้จากการทำสัญญากับลูกค้า รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล และรายได้จากการรับประกันภัย
โดยบริษัทฯ ได้ปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างพันธมิตรในการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ สะท้อนมาที่ความสำเร็จของยอดกระแสเงินสดจากจัดเก็บหนี้ (Cash Collection) กรณีรวมกระแสเงินสดที่จัดเก็บของ JK AMC เท่ากับ 1,944 ล้านบาท เติบโต 33% จากไตรมาส 1/2565 และเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ไตรมาส 4/2565 ที่ 11% ซึ่งเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายการจัดเก็บกระแสเงินสดของบริษัท ทำสถิติสูงสุดในการจัดเก็บหนี้ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และปีนี้ตั้งเป้านี้จะมี Cash Collection รวมอยู่ที่ 9,000 ล้านบาท จากสิ้นปี 2565 อยู่ที่ประมาณ 6,300
โดยในไตรมาส 1/2566 JMT มีพอร์ตบริหารหนี้ด้อยคุณภาพรวมอยู่ที่ 382,300 ล้านบาท ตอกย้ำ ผู้บริหารหนี้ด้อยคุณภาพแบบไม่มีหลักประกันเอกชนอันดับ 1 ของประเทศ และมองแนวโน้มหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และความเปราะบางของเศรษฐกิจในปัจจุบัน ยิ่งจะทำให้สถานการณ์หนี้ด้อยคุณภาพมีโอกาสเพิ่มขึ้น โดยกลุ่ม JMT และJK AMC ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับกลุ่มธุรกิจธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ที่เริ่มเดินหน้าซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเข้ามาบริหารแล้ว และทำได้ดีกว่าเป้าหมาย ด้วยต้นทุนที่แข่งขันได้
นายสุพจน์ สิริกุลภัสสร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเอเอส แอสเซ็ท จำกัด (มหาชน) หรือ J เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 มีกำไรสุทธิ 22.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน 78% ซึ่งเป็นผลมาจากการที่บริษัทฯ สามารถบริหารจัดการพื้นที่ในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนได้ดีขึ้น การบริหารต้นทุนทางการเงินลดลง พร้อมลุยพัฒนาโครงการใหม่ภายในปี 2566 บริษัทฯ ยังอยู่ระหว่างการเตรียมเปิดตัวโครงการ The JAS Green Village บางบัวทองในช่วงต้นไตรมาส 4/2566 และ รามคำแหง ซึ่งจะสร้างรายได้ค่าเช่าเพิ่มขึ้นให้กับบริษัทฯ ต่อไปในอนาคต สนับสนุนพื้นที่เช่ารวม 1 แสนตารางเมตร และ วางแผนเตรียมเปิดคอมมูนิตี้มอลล์ปี 2567 ต่อเนื่องอีก 3 โครงการ
สำหรับธุรกิจใหม่เพื่อรองรับกับสังคมผู้สูงวัย (Aged Society) โดยล่าสุด เปิดให้บริการ Senera Senior Wellness คู้บอน ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา และเตรียมเปิด Senera Senior Wellness ที่โครงการใหม่ที่ Jas Green Village บางบัวทองในช่วงปลายปี จึงคาดว่าปีนี้เราจะมีธุรกิจที่มาแรงรับเทรนด์ผู้สูงอายุจำนวน 2 โครงการ พร้อมมุ่งสู่ผู้นำในธุรกิจ Senior Wellness ต่อไปในอนาคต และสำหรับในปี 2566 บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้และกำไรเติบโตไม่น้อยกว่า 30%
นายนราธิป วิรุฬห์ชาตะพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) (SINGER) เปิดเผยว่า เราต้องการสร้างความมั่นใจในอนาคต ในการแก้ปันหา ให้ SINGER กลับมาเติบโตดังเช่นอดีตที่ผ่านมา อย่างมั่นคง และแข็งแรง โดยในงวดไตรมาส 1/2566 ผลกระทบขาดทุนประมาณ 843 ล้านบาท โดยสาเหตุหลักมาจากการตั้งสำรองที่สูง ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของกลุ่มบริษัทฯ เพิ่มขึ้นจำนวน 898 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจากลูกหนี้ที่เข้าโครงการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มทะยอยสิ้นสุดการได้รับความช่วยเหลือ
และปัจจุบันเราเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น มีการปรับโครงสร้างองค์กร และควบคุมการอนุมัติสินเชื่ออย่างรอบคอบ และรัดกุมมากขึ้น ภารกิจในตอนนี้คือ การให้ความสำคัญกับยอดขายที่กลับมาเติบโต และการลดค่าใช้จ่าย ผ่าน 4R Mission คือ “Reorganization” ด้วยทีมผู้บริหารใหม่ ลีนภายในองค์กร (LEAN) ปรับการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านการลดกระบวนการทำงานที่ไม่สร้างมูลค่า “Reduce Inventory” การตั้งสำรองผลขาดทุนจากการปรับลดมูลค่าสินค้าจำนวนกว่า 400 ล้านบาท ที่เกิดขึ้นในไตรมาส 1/2566 เริ่มทำในเดือนมีนาคม และจะค่อยๆเห็นการปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 2 และครึ่งปีหลัง จะไม่สูงเหมือนไตรมาส 1 วางเป้าเคลียสินค้าคงเหลือที่มีอยู่ให้ได้ครึ่งหนึ่ง หรือ 50% ภายในไตรมาส 2 และ ไตรมาส 3 เป็นต้นไป อาทิ สินทรัพย์ที่มีอยู่ที่เป็น Stock lost ในปัจจุบันอย่างตู้น้ำมัน ปัจจุบันมีราว 2,500 ชิ้น เราก็เริ่มทำโมเดลขายในชื่อปั๊มตามใจ
เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเดินหน้า “Reduce Cost” ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้ได้ 20% และ “Restart the new singer”เนื่องจาก เรามีสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง จากการพยายามเพิ่มยอดขาย และลดค่าใช้จ่าย เพื่ิอให้เห็นสัญญาณที่ดีขึ้นในไตรมาส 3/2566 เป็นต้นไป และให้ singer กลับมาเติบโต ควบคู่การต่อยอดไปยัง New Business ตามที่เคยวางเป้าหมายไว้ ควบคู่ พัฒนาช่องทางอีคอมเมิร์ซ ออนไลน์ รวมถึงการออกอีเวนท์ต่างๆ นำเทคโนโลยีมาช่วย เพื่อควบคุมหนึ้เสีย เพื่อฐานสินเชื่อเช่าซื้อใหม่ที่เข้ามา จะเป็นคุณภาพสินเชื่อที่สำคัญของ SINGER ต่อไปในอนาคต
ด้าน นายอโณทัย ศรีเตียเพ็ชร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (SGC) บริษัทในกลุ่ม SINGER เปิดเผยว่า ยอมรับว่าปีนี้ท้าทายในการบริหารลูกหนี้ โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า (Hire purchase) ที่มีปัญหา ขณะที่สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน ภายใต้แบรนด์ “รถทำเงิน” (C4C) ยังเติบโตดี และยังเป็นกลุ่มที่ SGC จะโฟกัสต่อไปในอนาคต
ณ ไตรมาส 1/2566 มีพอร์ตสินเชื่อรวมอยู่ที่ประมาณ 15,498 ล้านบาท จากสิ้นปี 2565 อยู่ที่ 14,897 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของพอร์ตสินเชื่อรถทำเงิน อยู่ที่ 10,259 ล้านบาท หรืออยู่ที่ประมาณ 66% ของพอร์ตรวม ขณะที่ สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงเหลือ 4,685 ล้านบาท จากปีก่อนอยู่ที่ 4,811 ล้านบาท หรืออยู่ที่ประมาณ 30% ของพอร์ตรวม จากการบริหารสินค้า และเงื่อนไขในการให้สินเชื่อใหม่อย่างรัดกุม
รอบคอบ ให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ฐานะการเงินแข็งแกร่ง เรามีเงินที่คงเหลือจากการระดมทุนจากการ IPO ในช่วงที่ผ่านมา ประมาณ 1,100 ลบ และมีวงเงินในการออกหุ้นกู้ เพียงพอรอบรับการขยายธุรกิจ
โดยคาดยอดลูกหนี้ใหม่ (New Booking) มุ่งเน้นมาจากสินเชื่อรถทำเงิน ปัจจุบันปล่อยสินเชื่อไปแล้วราว 1,400 ล้านบาท จากเป้าสิ้นปีนี้ 7,700 ล้านบาท สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าปล่อยไปแล้ว 355 ล้านบาท จากเป้า 1,600 ล้านบาท และอื่นๆ ปล่อยสินเชื่อไปแล้วราว 99 ล้านบาท จากเป้าสิ้นปีนี้ 400 ล้านบาท และวางแผนขยายฐานธุรกิจสินเชื่อรถทำเงิน เตรียมเปิดศูนย์ให้บริการ 4 แห่งในครึ่งปีหลัง ในไตรมาส 3/2566 คาดเปิด Hub C4C ที่นครราชสีมา และนครสวรรค์ ในไตรมาส 4/2566 บุกที่สงขลา และชลบุรี รวมถึงการ mou กับธุรกิจโรงงานผลิตปุ๋ย เพื่อขยายฐานลูกค้าสินเชื่อรถทำเงิน รวมถึงโครงการโปรเจ็กต์ที่ทำร่วมกับ BRR ที่จะชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ CLICK2GOLD บริการผ่อนทองผ่านไลน์ ได้ mou กับห้างทองเยาวราช กรุงเทพ คาดว่าาจะได้เห็นความชัดเจนเร็วๆ นี้