- ประเมิน SET Index ยืน 1518 ได้มั่นคงความเสี่ยงขาลงยังจำกัดถ้าต่ำกว่ารอเล่นรอบใหม่ที่จุดต่ำก่อนหน้าที่ 1,507 แนวต้าน 1,530/1,540
ประเด็นการลงทุน
- วันนี้เคาะ BBL แนวโน้ม 2Q66 คาดว่าจะดีขึ้นทั้ง QoQ และ YoY
MARKET STRATEGY
สรุปตลาดวานนี้ SET ปิดที่ 1,526.69 จุด เพิ่มขึ้น 3.95 จุด (+0.26%) มูลค่าการซื้อขาย 54,749.78 ล้านบาท ปรับขึ้นหลังลงยาวต่อเนื่อง 3 วันรับความกังวลทางการเมือง โดยได้รับปัจจัยบวกจากการ จัดตั้งรัฐบาลซัดเจนขึ้น พร้อมรับ Sentiment จากสหรัฐคาดหวังผลเจรจาขยายเพดานหนี้สหรัฐ บรรลุข้อตกลงได้หนุนตลาดหุ้นเอเชีย
Research Highlight: กังวลเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย // จับตาการเมืองไทย
ปัญหาเพดานหนี้สหรัฐฯ มีทิศทางในเชิงบวก
- ตลาดได้ปัจจัยบวกจากความคืบหน้าในการเจรจาปรับเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐ โดยนาย เควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐได้แสดงความเชื่อมั่นว่าสหรัฐจะไม่ผิดนัดชำระหนี้ โดยขณะนี้คณะทำงานของทำเนียบขาวและสภาคองเกรสมีความคืบหน้าในการเจรจา และมีความเป็นไปได้ที่จะมีการบรรลุข้อตกลงภายในปลายสัปดาห์นี้ ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะจัดการลงมติในญัตติดังกล่าวในสัปดาห์หน้า
- ส่งผลให้ dollar index แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง รวมถึง US bond yield ที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง
ตลาดลดความเชื่อมั่นว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย
- ก.แรงงานรายงานตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 22,000 ราย สู่ระดับ 242,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และต่ำกว่าที่ตลาดคาด
- สะท้อนภาพความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน และแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งไม่ได้สนับสนุนให้เฟดชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย.
- ติดตามถ้อยแถลงของเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด ซึ่งมีกำหนดกล่าวสุนทรพจน์ในงานเสวนา Thomas Laubach Research Conference ว่าด้วยนโยบายการเงิน ซึ่งเฟดจะจัดขึ้นในวันพรุ่งนี้ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี เพื่อจับทิศทางแนวโน้มการใช้นโยบายการเงิน
- ล่าสุดรายงานจาก Fed watch tool ตลาดให้น้ำหนักที่ลดลงว่าเฟดจะยังคงอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.
การจัดตั้งรัฐบาลไทย เริ่มมีความเป็นไปได้
- วานนี้พรรคก้าวไกลได้แถลงจะเซ็น MOU กับพรรคร่วมรัฐบาล ในวันที่ 22 พ.ค. โดยปัจจุบันมีเสียง ส.ส. แล้ว 313 เสียง ขาดอีก 63 เสียง ถึงจะจัดตั้งรัฐบาลได้
- มองกลุ่มค้าปลีก ธนาคาร-หารเงิน ท่องเที่ยว ยังได้ประโยชน์จากนโยบายพรรก้าวไกล-เพื่อไทย
สัปดาห์หน้าติดตาม
- 23 พ.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการบริการ ( พ.ศ.) // ยอดขายบ้านใหม่ (เม.ย.)
- 24 พ.ค. สินค้าคงคลังน้ำมันดิบ 25 พ.ค. รายงานการประชุม FOMC // GDP Q1 // จำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงาน คร้งแรก
- 26 พ.ค. ยอดค่าสั่งชื้อสินค้าคงทน (เดือนต่อเดือน) (เม.ย.) // ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล (PCE Price Index) (เม.ย.)
Investment Strategy
- เงินบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่อง หากเทียบกับในภูมิภาคถือว่าอ่อนแอ แม้ว่าส่วนหนึ่งจะได้รับ ผลกระทบจาก Dollar index ที่แข็งค่า แต่เรามองว่าความเสี่ยงระหว่างการจัดตั้งรัฐบาล หลังการเลือกตั้งของไทยยังมีอยู่ ส่งผลต่อตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในโหมด Overhang
- อย่างไรก็ดีเรามองว่า downside risk เริ่มจำกัด เนื่องจากตลาดรับรู้ผลประกอบการ 1Q66 และประเด็นทางการเมืองไปพอสมควรแล้ว รวมถึง EYG ทีดีดตัวขึ้นเป็นบวกในเชิง Valuation หากยืน 1518 ได้มั่นคง ความเสี่ยงขาลงยังจำกัด ถ้าต่ำกว่ารอเล่นรอบใหม่ที่จุด ก่อนหน้าที่ 1507 แนวต้าน 1530/1540
Global Markets
(+) ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวก ขานรับผลประกอบการที่ แข็งแกร่งเกินคาดของบริษัทวอลมาร์ท ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวมทั้งความคืบหน้าในการเจรจาเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐ
(+) ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก โดยได้แรงหนุนจากความหวังที่ว่าสหรัฐจะสามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องเพดานหนี้ ขณะที่ดัชนี DAX ของตลาดหุ้นเยอรมนีพุ่งขึ้น แตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 1 ปี
(-) สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปิดลบ โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า
(-) สัญญาทองคำตลาด COMEX ปิดลบ เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์และความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เป็นปัจจัยฉุดตลาด
หุ้นเคาะไป คุยไป…BBL
- แนวโน้ม 2Q66 คาดว่าจะดีขึ้นทั้ง QoQ และ YoY จาก 1.แนวโน้มสินเชื่อที่ขยายตัว 2. คาดจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของกนง. หนุนให้ NIM ปรับขึ้น 3. แนวโน้มการตั้ง Credit cost ที่ลดลง และ 4. ฐานที่ต่ำในปี 65 แต่ทั้งนี้ในช่วง 2Q และ 4Q มักเป็นช่วง High season ของค่าใช้จ่าย หาก C/I มีสัดส่วนที่สูงกว่า 52% จะเป็นปัจจัยกดดันผลประกอบการ ขณะที่ประเมินกำไร สุทธิปี 66-67F เท่ากับ 3.46 หมื่นล้านบาท (+18.3%YoY) และ 3.9 หมื่นล้านบาท (+12.5%YoY) ตามลำดับ
- ทั้งนี้เราได้ทำ sensitivity ของปี 66 ล้าน NIM จากประมาณการของเราที่ 2.54% หากมีการปรับเพิ่มขึ้น 0.10% จะทำให้กำไรสุทธิปี 66 เพิ่มขึ้นอีก 3.8%
- เรายังคงแนะนำ “ซื้อ” BBL และราคาเป้าหมายปี 66 ที่ 183.50 บาท (อิง PBV66 ที่ 0.64 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี – 0.5 SD) ด้วยการเติบโตของกำไรสุทธิที่สูงสุดในกลุ่มแบงค์ใหญ่กว่า 18%YoY แนวโน้มการตั้งสำรองที่ลดลง และ ROE ที่เป็นขาขึ้นหลังแตะระดับ 8% ในงวด 1Q66 สูงที่สุด ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับยังมี upside จากแนวโน้มการปรับเป้า NIM ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง สูงที่สุดในกลุ่มแบงค์ขนาดใหญ่ และคุณภาพสินทรัพย์ยังอยู่ในระดับที่จัดการและบริหารได้ เนื่องจากพอร์ทส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความทนทานต่อภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และภาวะอัตราเงินเฟ้อ เชื่อว่าแนวโน้มจะปรับตัวลงในช่วงที่เหลือของปี
- ในเชิง valuation ยังน่าสนใจ ราคาปัจจุบันซื้อขายบน PBV เพียง 0.62 เท่า และต่ำกว่า BVPS ที่ 264.7 บาท ส่วนแนวโน้มระยะ 1 เดือนข้างหน้า เราประเมินการเคลื่อนไหวของราคามีลักษณะแบบ sideway up