สรุปภาวะตลาด
วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหว sideway ในแดนบวกสลับลบ เนื่องจากตลาดขาดปัจจัยบวกใหม่ โดยมีแรงซื้อมาจากหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่ปรับตัวขึ้นตามบริษัทที่ทำธุรกิจชิป อย่าง Nvidia ซึ่งมียอดขายที่แข็งแกร่งจากชิป ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,535.42 จุด -1.09 จุด -0.07% มูลค่าการซื้อขาย 48,514 ลบ. ต่างชาติ -2,759.72 ลบ. TFEX +2,546 สัญญา ตราสารหนี้ -4,441.49 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับประจำไตรมาส 1/2566 ในวันนี้ โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐ ขยายตัว 1.3% ในไตรมาสดังกล่าว สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ ระดับ 1.1%
+ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 4,000 ราย สู่ระดับ 229,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 245,000 ราย
+ ‘อีอีซี’มั่นใจรถไฟส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ภายใน ต.ค.นี้ รอแจ้งเอกชนเริ่มก่อสร้างได้ภายในปีนี้ เผยอยู่ระหว่างเจรจาผลกระทบโควิด เอกชนคู่สัญญาขอแก้สัญญาการร่วมทุนให้รัฐจ่ายค่าก่อสร้างเร็วขึ้น แบบก่อสร้างไปจ่ายไป
ปัจจัยลบ-
– ดัชนีดาวโจนส์ปิด ลดลง 35.27 จุด หรือ -0.11% โดยนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจรจาปรับเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐที่ยังคงยึดเยื้อ อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ทะยานขึ้นกว่า 200 จุด หลังจากหุ้นอินวิเดีย (Nvidia) พุ่งขึ้นขานรับผลประกอบการที่ดีเกินคาด
– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 2.51 ดอลลาร์ หรือ 3.38% ปิดที่ 71.83 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากรัสเซียประกาศขวางการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันเพิ่มเติมในการประชุมของกลุ่มโอเปกพลัส ในวันที่ 4 มิ.ย.
– สำนักงานสถิติเยอรมนีระบุในวันนี้ว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีหดตัว 0.3% ในไตรมาส 1/2566 เทียบกับช่วง 3 เดือนก่อนหน้า ทำให้เยอรมนีเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
– สศอ. EU เอาจริง จ่อใช้มาตรการภาษีคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน 1 ต.ค.นี้ แนะผู้ประกอบการไทยปรับตัวขยายตลาดส่งออก
– รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผู้ส่งออกมีความเป็นห่วงเรื่องนโยบายการขึ้นค่าแรงของรัฐบาล จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กระทบต่อการส่งออกของไทย เพราะหากค่าแรงขึ้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่ม และการแข่งขันยากกว่าเดิม
– บริษัทฟิทช์ เรทติ้งส์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลกได้ ออกรายงานโดยระบุว่าความไม่แน่นอนด้านการเมืองและการคลัง อาจจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีวันน้ีมีโอกาสแกว่งตัวในลักษณะ Sideway ออกข้าง โดยนักลงทุนวิตกกังวลเก่ียวกับการเจรจาปรับเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐท่ียังคงยืดเยื้อ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวลงแรงกดดันหุ้นกลุ่มพลังงานมองกรอบดัชนีในวันน้ี 1,525-1,540 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- จำนวนนักท่องเที่ยวปรับตัวเพิ่มขึ้น : AOT BAFS AAV BA MINT CENTEL ERW SPA
- หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BBL COM7 CPALL
- หุ้นเข้าคำนวณ MSCI Equity Indexes เข้า MAKRO ออก JMT, TU และ MSCI Small Cap Indexes เข้า JMT, TIDLOR, SAPPE, SISB ,TU ออก – มีผลวันที่ 31 พ.ค.
หุ้นรายงานพิเศษ
ASIAN – “ซื้อเมื่ออ่อนตัว” (Bloomberg Consensus 10.80 บาท)
- งวด 1Q66 บริษัทมีกำไรสุทธิ เท่ากับ 51 ลบ. -80%YoY, -82%QoQ มาจากรายได้จำนวน 2,272 ลบ. -20%YoY, -10%QoQ สาเหตุหลักมาจากยอดขาย pet food กับ frozen ที่ลดลง เนื่องจากลูกค้าหลักของบริษัทยังมี stock สินค้าคงเหลือจำนวนมาก สัดส่วนยอดขายแบ่งเป็น Pet food 479%, Frozen 26%, Tuna 16%, Aqua Feed 11% มี %GPM ที่ระดับ 9.2% เพิ่มขึ้น YoY แต่ลดลงมาก QoQ จากระดับ 8.8% ใน 1Q65 และ 16.5% ใน 4Q65 ผลกระทบจากธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงซึ่งเป็นธุรกิจที่มี margin สูงมีรายได้ลดลง
- Outlook 2Q66 ผบห.คาดธุรกิจ Pet food และธุรกิจ Frozen จะเติบโต QoQ เนื่องจากปัญหา stock ที่มีมากของลูกค้าในสหรัฐคลี่คลาย ธุรกิจ Tuna จะลดลง QoQ เนื่องจากคำสั่งชื้อจาก Pet food เพิ่มขึ้น และธุรกิจ Aqua Feed คาดเพิ่มขึ้น QoQ เนื่องจากเป็นฤดูเพาะเลี้ยงกุ้ง สำหรับทั้งปี 66 ผบห.ปรับเป้าการเติบโตของรายได้จากเดิม 13 พันลบ. เหลือ 10.7 พันลบ. หรือลดลง -4.5%YoY จากการปรับลดเป้าการเติบโตของธุรกิจ Pet Food และ Frozen และคาด %GP รวมของบริษัทจากคาดการณ์เดิมที่ระดับ 18-19% เหลือ 13-14%
- ความเห็น เรามีมุมมองเป็นกลางค่อนไปทางบวก แม้ว่า Bloomberg Consensus คาดกําไรเฉลี่ยปี 66 ราว 765 ลบ. -26%YoY แต่เนื่องจากราคาหุ้นที่ปรับตัวลงต่อเนื่อง YTD ปรับตัวลง -27% เราคาดว่าราคาได้สะท้อนประเด็นลบแล้ว พร้อมทั้งเราคาดว่าผลการ ดำเนินงานใน 1Q66 จะเป็นจุดต่ำสุดของปี และจะทยอยปรับตัวขึ้น QoQ เราจึงแนะนำ “ซื้อเมื่ออ่อนตัว”
หุ้นมีข่าว
(+) GFPT (Bloomberg consensus 13.10 บาท) มั่นใจผลงานโค้งสองโตต่อเนื่อง และจะเร่งตัวขึ้นในช่วง ครึ่งหลังของปี 2566 หนุนจากช่วงไฮซีซันการส่งออกในช่วงไตรมาส 3/2566 และยอดส่งออกไปจีนเร่งตัวแตะ ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ได้แล้ว พร้อมติดตามสถานการณ์ไข้หวัดนกในบราซิลอย่างใกล้ชิด เตรียมแผนขยายตลาดรองรับโรงเชือดใหม่เสร็จปลายปี (ที่มา ทันหุ้น)
(+) FORTH (Bloomberg consensus 37.75 บาท) เจรจา “เป๊ปซี่” ต่อยอดธุรกิจ พร้อมจัดโปรโมชั่นปลุก กระแสตู้เต่าบิน เล็งยื่นไฟลิ่งเข้าตลาดหุ้นปลายปีนี้ เร่งอัพยอดแตะ 2 หมื่นตู้ ขณะที่ธุรกิจ EMS ยื่นไฟลิ่ง มิถุนายนนี้ เตรียมประมูลงานอีก 6.8 พันล้านบาท พร้อมคงแผนขยายตู้ชาร์จไฟฟ้า “กิ้งก่า อีวี” คาดปีนี้ติดตั้ง ได้ 5 พันหัวจ่าย เร่งหนักครึ่งปีหลัง (ที่มา ทันหุ้น)
(+) KWM (Bloomberg consensus – บาท) คาดโรงสกัดสาร CBD ลูกค้าแห่ใช้บริการเพียบ หลังพรรคร่วม รัฐบาล ประกาศดันกัญชากลับไปสู่ยาเสพติด หนุนลูกค้าหันมาสู่กัญชงเพิ่ม แย้มเตรียมคลอดโปรดักต์กลุ่มเครื่องสำอางที่มีส่วนผสม CBD ลงตลาดเร็วๆ นี้ คาดรับทรัพย์ปีละ 3-4 ล้านบาท ด้านธุรกิจเกษตรไปได้สวย รุกสยายปีกต่างแดน (ที่มา ทันหุ้น)
(+) MOSHI (Bloomberg consensus 47.00 บาท) ฉายแวว ผลงานไตรมาส 2/2566 เด่น รับอานิสงส์เปิด ประเทศท่องเที่ยว โควิด-19 คลายตัว เศรษฐกิจฟื้น และเงินบาทที่แข็งค่าเอื้อต่อการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ พร้อมคงความสามารถในการรักษาระดับ SSSG ให้อยู่เหนือ 20% ได้ต่อเนื่อง อัดฉีดงบ 130-150 ล้านบาท ขยายสาขาใหม่และรองรับระบบไอที ยังคงเป้าหมายรายได้ปี 2566 โตไม่ต่ำกว่า 20% (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค สสอ.แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
- 31 พ.ค. กําหนดประชุมกนง.ครั้งที่ 3/2566
- ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- 13 ก.ค. กกต.รับรองผลเลือกตั้งวันสุดท้าย
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 26 พ.ค. สหรัฐ รายงานยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนเม.ย. ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนเม.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
- 30 พ.ค. สหรัฐ รายงานดัชนีราคาบ้านเดือนมี.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค.จาก Conference Board ดัชนีการผลิตเดือนพ.ค.จากเฟดดัลลัส
- 31 พ.ค. จีน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการเดือนพ.ค.จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (NBS)
- สหรัฐ รายงานตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนเม.ย.
- เช้าวันที่ 1 มิ.ย. รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
- 1 มิ.ย. วันสุดท้ายของการบรรลุข้อตกลงการเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐ
- จีน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนพ.ค.จากไฉชิน
- สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนพ.ค.จาก ADP
- 4 มิ.ย. โอเปก และชาติพันธมิตรประชุมเพื่อกำหนดนโยบายการผลิตน้ำมัน