ตลาดหุ้นวานนี้

SET Index ลดลง 1 จุด (-0.04%) ปิดที่ระดับ 1,534 จุด แต่มูลค่าการซื้อขายหนาแน่น 9 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมี MSCI Rebalance มีผลบังคับโดยใช้ราคาปิด 31 พ.ค.2023

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้ 

ประเมิน SET  แกว่งตัว 1,525  1,545 จุด เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่กระตุ้นอีกทั้งคาดว่านักลงทุนจะชะลอการซื้อขายเพื่อติดตามผลโหวตเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐ นอกจากนี้ Fund flow ต่างชาติที่ขายต่อเนื่องและราคาน้ำมันดิบที่ทรุดตัวลงหลัง PMI ภาคการผลิตของจีนเดือนพ.ค.หดตัวลงจะกดดันต่อกลุ่มพลังงานและทิศทางการลงทุน จึงแนะนำ Selective buy ต่อไป

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy
  • BBL KTB TTB KBANK SCB SAPPE ICHI แนวโน้มกำไร 2Q23 ยังคงเติบโต
  • AMATA WHA ROJNA NYT อานิสงส์ค่ายรถ EV ตั้งฐานการผลิตในไทย
  • คาดการณ์หุ้นเข้ารอบใหม่ SET50 ( TLI, WHA ) / SET100 ( AEONTS, AURA, BA, BTG, MBK, SISB, SNNP, TASCO, TLI
หุ้นแนะนำวันนี้
  • SAWAD (ปิด 55.75 ซื้อ/เป้า IAA Consensus  61 บาท) แรงกดดันจากดอกเบี้ยขาขึ้นใกล้สิ้นสุด ประชุม กนง.วานนี้ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาดแต่ในมุมมองของเราคาดว่าจะเป็นการปรับขึ้นครั้งสุดท้ายเป็นบวกต่อกลุ่มไฟแนนซ์
  • ERW (ปิด 4.14 ซื้อ/เป้า 5.80) ราคาหุ้นปรับลงกังวลงบ 2Q23 ชะลอตัวจาก low season แต่หากมองในเชิงโมเมนตัมคาดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วและจะเร่งขึ้นอีกครั้งตั้งแต่ มิ.ย.จากการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินให้กับจีน

บทวิเคราะห์วันนี้: ALLY (UNRATED), Commerce sector

ประเด็นสำคัญวันนี้

(-) ดาวโจนส์ปรับตัวลงกังวลเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยจากตัวเลขตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง: ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ลดลง 135 จุด (-0.41%) ปิดที่ระดับ 32,908 จุด ตลาดปรับโอกาสที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% ขึ้นเป็น 66.4% หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลขเปิดรับสมัครงาน (JOLTS) เพิ่มขึ้น 358,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 10.1 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 9.375 ล้านตำแหน่ง

(+/-) แบงก์ชาติปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด และคงคาดการณ์ GDP ปีนี้และปีหน้าตามเดิม: กนง.มีมติเป็นเอกฉัณฑ์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็น 2% (ทิศทางดอกเบี้ยอนาคตขึ้นอยู่กับข้อมูลและปัจจัยแวดล้อม หรือ data dependent) ส่วนมุมมอง ศก. แบงก์ชาติคงคาดการณ์ GDP ปีนี้และปีหน้าตามเดิมที่ระดับ 3.6% และ 3.8% ตามลำดับ

(-) ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเดือน เม.ย.พลิกเป็นขาดดุลครั้งแรกในรอบ 3 เดือน: โดยไทยมียอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน เม.ย.ที่ 476 ล้านเทียบ เทียบกับเดือน มี.ค.เกินดุลที่ 4,779 ล้านเหรียญ เป็นผลจากไทยมียอดเกินดุลการค้าลดลง ขณะที่ดุลบริการและเงินโอนพลิกเป็นขาดดุล (ต่างชาติโอนเงินกลับหลังได้รับเงินปันผล และ รายรับจากท่องเที่ยวลดลงเพราะส่วนใหญ่เป็นกลุ่มระยะใกล้ (Short haul)

ข่าวในประเทศและต่างประเทศ

สรุปข่าวเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ

ไทย

(-) กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.75% เป็น 2.00% ต่อปี

(-) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน เม.ย.66 อยู่ที่ระดับ 83.51 หดตัว 8.14%yoy ส่งผลให้ 4 เดือนแรกหดตัว -4.7%yoy

(+/-) กนง. คงคาดการณ์ GDP ปี 66 โต 3.6 % ปี 67 โต 3.8%

สหรัฐ

(+/-) กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลข JOLTS พบว่าตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น 358,000 ตําแหน่ง สู่ระดับ 10.1 ล้านตําแหน่งในเดือนเม.ย. สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 9.375 ล้านตําแหน่ง หลังจากปรับตัวลงติดต่อกัน 3 เดือน

ยุโรป

(+) CPI เยอรมันนี +6.1%yoy ในพ.ค. ต่ำกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ +6.5%

เอเชีย

(-) NBS รายงาน PMI ภาคการผลิต พ.ค.ของจีนอยู่ที่ระดับ 48.8 ลดลงจากระดับ 49.2 ในเม.ย. โดยดัชนียังต่ำกว่า 50 ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการเดือนพ.ค. ลดลงสู่ระดับ 54.5 จากระดับ 56.4 ในเดือนเม.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 54.9

- Advertisement -