KS Daily View 12.06.2023 >>> ติดตามประชุม FOMC พุธนี้ เพื่อยืนยันจบรอบดอกเบี้ยขาขึ้น คาด SET แกว่งตัวในกรอบ 1,555-1,565/1,585 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ BANPU MAJOR
สรุปภาวะตลาดเมื่อวานนี้
ต่างประเทศ : ดัชนี DJIA +0.13%, S&P 500 +0.11%, NASDAQ +0.16% โดย Sector ที่ outperform ใน S&P500 ได้แก่ IT (+0.46%), Consumer discretionary (+0.44%), Health care (+0.19%) ส่วน Material (-0.82%), Energy (-0.58%), Utilities (-0.58%)
ในประเทศ: SET Index -4.39 pts. หรือ -0.28% เป็น 1555.11 จุด ตัวขับเคลื่อนสำคัญคือ AOT (+1.4%), ADVANC (+0.9%), JMT (+8.9%), BDMS (+0.9%) ตัวฉุดคือ DELTA (-5.3%), SCC (-1.5%), CPN (-1.4%), MINT (-2.2%)
แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ:
คาด SET Index เคลื่อนไหวในกรอบ 1,555-1,565/1,585 มองต้นสัปดาห์ตลาดอาจเคลื่อนไหวในกรอบแคบเพื่อรอความชัดเจนจากทาง Fed และประเด็นทางการเมืองภายในประเทศก่อนที่น่าจะสามารถปรับตัวขึ้นได้ตามแวดล้อมการลงทุนที่เรามองว่าจะเป็นบวกมากขึ้นหาก Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ยหรือส่งสัญญาณผ่อนคลายจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม FOMC ช่วงกลางสัปดาห์
ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:
1.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเอกฉันท์ 6 เสียง ไม่รับคำร้องกรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล มีคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญในการสมัครรับเลือกตั้งส.ส.จากการถือหุ้นบริษัทไอทีวี อย่างไรก็ดี คำร้องมีข้อมูลรายละเอียดเพียงพอที่จะสืบสวนต่อไปว่านายพิธา เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 42 (3) และมาตรา 151 พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. จึงสั่งให้ดำเนินการไต่สวนในกรณีนี้ต่อไป
2.) สำนักข่าวรายงานว่า กกต. อาจเสนอเรื่องการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งส.ส. ในที่ประชุมวันอังคารที่ 13 มิ.ย. นี้ โดยจะเสนอในส่วนของผู้ได้รับเลือกตั้งที่ไม่มีเรื่องร้องเรียนให้พิจารณาก่อน เนื่องจากกกต.ไม่สามารถสอบสวนได้ครบทันภายในกำหนด 60 วัน อีกทั้งจะมีกกต. 1 ท่านครบวาระดำรงตำแหน่ง อย่างไรก็ดีต่อมาแหล่งข่าวระดับสูงของทางกกต. ได้ให้สัมภาษณ์ชี้แจ้งกับทางสำนักข่าวว่าน่าจะเป็นเพราะกระบวนการการตรวจสอบเบื้องต้นของกกต.ได้ข้อสรุปแล้วว่าสามารถประกาศผลได้ตาม มาตรา 127 มากกว่าสาเหตุเพราะจะมีกกต. 1 ท่านพ้นจากตำแหน่ง โดยตอนนี้กระบวนการตรวจสอบใกล้ได้ข้อสรุปแล้ว แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะประกาศวันไหน
3.) นอกเหนือจากประเด็นข่าวการเมืองภายในประเทศ ทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆยังคงเป็นประเด็นหลักในการกำหนดแวดล้อมของการลงทุนในระยะถัดไป โดยเฉพาะผลการประชุม FOMC สัปดาห์นี้ในช่วงข้ามคืนวันพุธที่ตลาดส่วนใหญ่มองกันว่า Fed จะยุติการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25% หลังแรงกดดันเงินเฟ้อปรับตัวลดลงต่อเนื่องทั้งจากราคาพลังงานที่ลดลงและการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราค่าจ้างแรงงานที่เริ่มชะลอตามภาวะตลาดแรงงานที่มีสัญญาณเริ่มผ่อนคลายมากขึ้น
Theme การลงทุนสัปดาห์นี้
1.) เลือกหุ้นกลุ่ม Global play ที่ก่อนหน้านี้ปรับตัวลงมาเยอะจน valuation เริ่มน่าสนใจคาดว่าจะได้ประโยชน์จากการ Restocking รอบใหม่บนมุมมอง Soft Landing และโอกาสที่จีนจะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ผสานกับกลุ่ม Finance และ Quality growth ที่ได้ sentiment บวกจากโอกาสที่ Fed จะชะลอ หรือหยุดขึ้นดอกเบี้ย
1.1) IVL (ราคาพื้นฐาน 37 บาท)
1.2) PTTGC (ราคาพื้นฐาน 46.70 บาท)
1.3) HANA (ราคาพื้นฐาน 49 บาท)
1.4) TIDLOR (ราคาพื้นฐาน 30 บาท)
1.5) BE8 (ราคาพื้นฐาน 69.68 บาท)
หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:
BANPU (ราคาพื้นฐาน 9.4 บาท) ราคาเชื้อเพลิงให้ความร้อนมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำสุดแล้วในตอนนี้ และอุปสงค์ของเชื้อเพลิงต่างๆ มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้ในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว กอปรกับปัญหาทางธรณีวิทยาของเหมืองถ่านหินในออสเตรเลียได้ทยอยแก้ไข โดยปริมาณการผลิต ต้นทุนต่อหน่วย และราคาขายได้เริ่มปรับดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2/2566 ขณะที่ด้าน valuation เรามองว่าค่อนข้างถูกเนื่องจาก BANPU เทรดที่ PE ต่ำเพียงไม่ถึง 5x, PB ราว 0.6x และให้ dividend yield สูง 5.7%
MAJOR (ราคาพื้นฐาน 19.1 บาท) เรามองบริษัทมีความน่าสนใจในหลายประเด็นเช่น 1) คาดเงินปันผลพิเศษจากการขายเงินลงทุน 2) ช่วงไฮซีซั่นของภาพยนตร์ blockbuster ใน 2Q23 3) ตัวแปรขับเคลื่อนกำไรใหม่จาก packaging food หรือ การขาย popcorn ที่มีแนวโน้มขายได้ดีและถือเป็นรายได้ที่มีความต่อเนื่อง (recuring income) จากเดิมที่ขายได้ราว 30% ของที่นั่งในช่วงก่อน Covid สามารถขายได้เพิ่มเป็นถึง 60% ของที่นั่งจากข้อมูลล่าสุด อีกทั้งบริษัทมีแผนจะนำผลิตภัณฑ์ popcorn เข้าขายใน 7-11 ในอนาคตซึ่งถือเป็นตัวแปรใหม่ที่จะสร้างการเติบโตที่น่าสนใจให้กับบริษัท
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันจันทร์ ติดตามตัวเลข New Yuan loans ของจีน โดยตลาดคาด New Yuan loans จะปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 980 พันล้านหยวน (เทียบ 718.8 พันล้านหยวน ในเดือนก่อนหน้า) ตัวเลขการปล่อยสินเชื่อของธนาคารจีนมีความสำคัญในการประเมินว่าการปรับลด RRR ของ PBOC ลงในช่วงต้นปีนั้นเพียงพอหรือไม่ในการพยุงเศรษฐกิจ
- วันอังคารติดตามตัวเลขอัตราเงินฟ้อสหรัฐฯ CPI ของเดือน พ.ค. ตลาดคาดการณ์ที่ 4.1% YoY (เทียบจาก 4.9% YoY ในเดือนก่อนหน้า) และ Core CPI ตลาดมองที่ 5.3% YoY (เทียบจาก 5.5% YoY ในเดือนก่อนหน้า)
- วันพุธ ติดตาม การประชุมธนาคารกลางของสหรัฐฯ FOMC โดยตลาดประเมิน Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25% ซึ่งตลาดมองเป็นการสิ้นสุดรอบการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed หลังมีการปรับขึ้นมาต่อเนื่องนับตั้งแต่ มี.ค. 2022 กอปรกับแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
- วันพฤหัสฯ มีหลายปัจจัยต้องติดตาม เริ่มจากช่วงเย็นมีการประชุมธนาคารกลางของยุโรป ECB ตลาดคาดจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 25bps จาก 3.75% เป็น 4.00% ตามด้วยตัวเลขค้าปลีกของสหรัฐ (retail sales) ตลาดมองทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (เทียบจาก +0.4% MoM ในเดือนเม.ย.) และตัวเลขภาคการผลิตของสหรัฐฯรายภูมิภาค Empire State และ Philly Fed manufacturing index ตลาดมองที่ -15.6% (เทียบจาก -31.8% ในเดือนก่อนหน้า) และ -12.3% (เทียบจาก -10.4% ในเดือนก่อนหน้า) ตามลำดับ
- วันศุกร์ ติดตาม การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตลาดคาดยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ -0.10% Monetary policy divergence ของ BOJ ที่ยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ขณะที่ธนาคารกลางอื่นทั่วโลกต่างปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังคงเป็น trading theme หลักที่ทำให้ดัชนี Nikkei ปรับตัวเพิ่มขึ้นและค่าเงิน JPY อ่อนค่าลง การประชุมรอบนี้มีความสำคัญในการติดตามว่า policy stance ของ BOJ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่