ASL ANALYSIS GUIDE
ประเมิน SET แกว่งตัว sideway หลังปรับตัวขึ้นเหนือเส้นกลาง Bollinger band ที่ 1,540 ได้มั่นคง ระยะสั้นลุ้นทดสอบแนวต้าน (จุดสูงหลังวันเลือกตั้ง) 1,570 เป็นจุดพิจารณาเล่นรอบ แนวรับ 1,552/1,540
- วันนี้เคาะ GLOBAL แนวโน้มปี 66 คาดว่ายังทรงตัว YoY ตามแนวโน้ม SSSG ที่อ่อนแอในช่วง 1H66 แต่จะเริ่มเห็นการฟื้นตัวในช่วง 2H66
MARKET STRATEGY
สรุปตลาดวานนี้ SETI ปิดที่ 1,555.11 จุด ลดลง 4.39 จุด (-0.28%) มูลค่าการซื้อขาย 43,293.70 ล้าน บาท มีแรงขายทำกำไรออกมาหลังปรับตัวขึ้นแรง
Research Highlight: ติดตามการประชุมเฟดคาดคงอัตราดอกเบี้ย
ตลาดประเมินเฟดคงอัตราดอกเบี้ย
- ข้อมูลจาก Fed Watch Tool ระบุตลาดให้น้ำหนักสูงถึง 75% ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00-5.25% ในวันที่ 14 มิ.ย. นี้ แต่ให้แนวโน้มเกิน 50% ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุมในเดือน ก.ค. ก่อนจะคงที่ระดับดังกล่าวไปจนถึงเดือน ก.ย. อย่างไรก็ดี ประเมินว่าเฟดอาจคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.00-5.25% ไปจนถึงสิ้นปีนี้ โดย ณ ขณะนี้ตลาดส่วนใหญ่ยังไม่มองการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้ชะลอตัวลงรุนแรงกว่าที่ประเมินอย่างมีนัยสำคัญ
- ตลาดคาดว่ามติจากการประชุมครั้งนี้จะไม่เป็นเอกฉันท์ เพื่อรอดูแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า หลังจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในช่วงผ่านมา ทั้งนี้เริ่มเห็นแนวโน้มเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง ขณะที่ตลาดแรงงานเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง ท่ามกลางความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจากปัญหาภาคธนาคารสหรัฐฯ ที่นํามาซึ่งภาวะสินเชื่อตึงตัว (credit tightening)
- ทั้งนี้เรามองว่าตลาดรอข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญอย่าง CPI พ.ค. สหรัฐฯ ตลาดคาดว่าจะชะลอตัวลงเหลือ +0.3%MoM จากเดือนก่อนที่ +0.4%MoM หากออกมาตาม คาดจะเป็นปัจจัยหนุนให้เฟดคงอัตราดอกเบี้ย
สัปดาห์นี้ติดตาม
- 13 มิ.ย. Core CPI – CPI พ.ค. สหรัฐฯ
- 14 มิ.ย. PPI พ.ศ. สหรัฐฯ
- 15 มิ.ย. แถลงการณ์ FOMC และการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย // ดัชนียอดขายปลีกพื้นฐาน (Core Retail Sales) พ.ค.// จำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก // ดัชนีภาคการผลิตจากธนาคารกลางรัฐฟิลาเดลเฟีย (มิ.ย.) // ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีน YoY( พ.ค.) // แถลงการณ์นโยบายการเงินของ ECB และการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย EU (มิ.ย.)
- 16 มิ.ย. CPI พ.ศ. EU
Investment Strategy
- ประเมิน SET แกว่งตัว sideway หลังปรับตัวขึ้นเหนือเส้นกลาง Bollinger band ที่ 1540 ได้มั่นคง ระยะสั้นสั้นทดสอบแนวต้าน (จุดสูงหลังวันเลือกตั้ง) 1570 เป็นจุด พิจารณาเล่นรอบ แนวรับ 1552/1540
- ในเชิงกลยุทธ์ เราแนะนำ Selective buy หุ้นในกลุ่ม Cyclical play KBANK KTB TRUE BJC LH AOT ADVANC BDMS PTG และ DCA KBANK BJC TRUE CBG
Global Markets
(+) ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (9 มิ.ย.) ขณะที่นักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่การเปิดเผยดัชนี ราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในวันอังคารหน้า และการลงมตินโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใน วันพุธหน้า
(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบในวันศุกร์ (9 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายหุ้นก่อนการประชุมของ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในสัปดาห์หน้า
(-) สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปิดลบในวันศุกร์ (9 มิ.ย.) โดยถูกกดดันจากการที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน ในแคนาดาเพิ่มขึ้นอย่างมาก
(-) สัญญาทองคำตลาด COMEX ปิดลดลงในวันศุกร์ (9 มิ.ย.) เนื่องจากราคาปรับฐานจากแรงเทขายทํากําไร หลังจากสัญญาทองคำพุ่งขึ้นต่อเนื่องจากระดับต่ำสุดในไตรมาส 4/2565
หุ้นเคาะไป คุยไป…GLOBAL
- แนวโน้มปี 66 คาดว่ายังทรงตัว YoY ตามแนวโน้ม SSSG ที่อ่อนแอในช่วง 1H66 แต่จะเริ่มเห็นการฟื้นตัวในช่วง 2H66 ตามภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่ยังคงเดินหน้าขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง โดยเตรียมเปิดใน ประเทศอีก 6 สาขา จากปัจจุบันที่มี 78 สาขา ส่วนในกัมพูชา เป็นตลาดที่ใหญ่และมีศักยภาพในการเติบโตสูง ตามความต้องการวัสดุก่อสร้างและของตกแต่งบ้าน ตั้งเป้าเปิดสาขาใหม่อีก 1 สาขา ช่วงปลายปี ในลาวมีสาขา แล้ว 7 สาขา จะปิดเพิ่มอีก 1 สาขา ส่วนเมียนมาร์ ปัจจุบันมี 12 สาขา สิ้นปีนี้ จะเปิดเพิ่มอีก 1 สาขา
- แนวโน้ม 2Q66 คาดว่า SSSG ที่ฟื้นตัว เทียบ 1Q66 ที่ระดับ -8% แต่เป็น ช่วง low season ของธุรกิจ ตามวันหยุดที่เยอะและงานโครงการภาครัฐที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้แนวโน้มกำไรสุทธิลดลง QoQ และ YoY (จากฐานที่สูงของ SSSG) อย่างไรก็ดี ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมากว่า 20%YTD สะท้อนผลประกอบการที่ไม่โดดเด่นในปีนี้ไปพอสมควรแล้ว แต่ในเชิง Valuation ราคาซื้อขายปัจจุบันอยู่บน PE เพียง 26.8x เท่า ต่ำที่สุดในกลุ่ม home improvement (PE HMPRO =28.5x, PE DOHOME =70x) มีความน่าสนใจ ซึ่งราคาเป้าหมายเฉลี่ยจาก IAA consensus อยู่ที่ 20 บาท
- ในเชิง Sentiment เรามองว่าตลาดเริ่มรับรู้ผลกระทบที่เป็นเชิงบวกของแนวโน้มต้นทุนในช่วง 2H66 เป็นต้นไป กล่าวคือ ค่า Ft ที่ลดลง ส่งผลให้ต้นทุนพลังงาน ค่าไฟฟ้ามีแนวโน้มปรับตัวลง และประเมินว่าจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าแนวโน้มการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ส่งผลให้แนวโน้มต้นทุนใน 2H66 จะลดลง ประกอบกับมีรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค.66 อยู่ที่ระดับ 55.07 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 และสูงสุดในรอบ 39 เดือน สะท้อนแนวโน้ม 3-6 เดือนข้างหน้า ภาพการบริโภคยังแข็งแกร่ง หนุนภาพรวมอุตสาหกรรมค้าปลีก