สรุปภาวะตลาด

วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีย่อตัวลง หลังจากปรับตัวขึ้นแรงในวันพฤหัสบดี โดยเห็น Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นไทยเมื่อวันพฤหัส โดยมีแรงขายมากในหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง DELTA -5.50 (-5.31%) ส่งผลต่อดัชนีราว -5.5 จุด ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,555.11 จุด -4.39 จุด -0.28% มูลค่าการซื้อขาย 43,294 ลบ. ต่างชาติ -1,503.56 ลบ. TFEX -20,343 สัญญา ตราสารหนี้ -281.62 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 43.17 จุด หรือ +0.13% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้น 0.33% ขณะที่นักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่การเปิดเผย CPI ของสหรัฐในวันอังคารที่ 13 มิ.ย. และการลงมตินโยบายการเงินของเฟด ในวันพุธที่ 14 มิ.ย.

+ Fedwatch tool ของ CMEGroup บ่งชี้ว่า บรรดาเทรดเดอร์ คาดการณ์ว่ามีโอกาส 72% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันที่ 5-5.25% ในการประชุมนโยบายการเงิน ในวันที่ 13-14 มิ.ย.

+ นายกฯ ส่งเสริมแพทย์แผนไทยต่อยอดระบบสุขภาพคุ้มครองภูมิปัญญา หนุนท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ปัจจัยลบ-

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 1.12 ดอลลาร์ -1.57% ปิดที่ 70.17 ดอลลาร์/บาร์เรล และปรับตัวลง 2.2% ในรอบสัปดาห์นี้ โดยถูกกดดันจากการที่แท่นขุดเจาะน้ำมันในแคนาดาเพิ่มขึ้นอย่างมาก

– จีนมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะเงินฝืด หลังจากมีการเปิดเผย ข้อมูลเงินเฟ้อที่ระดับใกล้ 0% ในเดือนพ.ค. ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเรียกร้อง ให้ธนาคารกลางจีนตัดสินใจผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจ

– สหรัฐมีแผนประกาศงบประมาณช่วยเหลือด้านอาวุธระยะยาวแก่ยูเครน โดยมุ่งเน้นไปที่ยุทโธปกรณ์ป้องกันภัยทางอากาศมูลค่ามากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์

– นายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ถูกคณะลูกขุนใหญ่ฟ้องร้องในคดีอาญา เขากล่าวโจมตีกระทรวงยุติธรรม และอัยการว่าฟ้องร้องโดยไม่มีหลักฐาน ซึ่งเป็นการตั้งเล่นใจเล่นงานเขาด้วยจุดประสงค์ทางการเมือง เพื่อกีดกันเขาออกจากทําเนียบขาว

– กกต.มติเอกฉันท์รับคำร้องสอบ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผิดม.151 เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

– ธปท.รายงานเศรษฐกิจไทยรายภูมิภาคเดือนเมษายนยังใช้จ่ายการอุปโภคบริโภคขยายตัวติดลบ

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีวันนี้มียังแกว่งตัวผันผวนในลักษณะ Sideway ออกข้าง โดยนักลงทุนยังจับตาการลงมตินโยบายการเงินของเฟด ในวันที่ 14 มิ.ย. นี้ ขณะที่ประเด็นการเมืองในประเทศยังกดดันตลาด หลังกกต.รับคำร้องสอบนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กรณีผิดม.151 มองกรอบดัชนีในวันนี้ 1,550-1,560 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นปันผลดี : TISCO INTUCH, หุ้นเด่นเกาะ Megatrend : BE8 BBIK GABLE, หุ้นยั่งยืน : EA WAVE, หุ้นเติบโตใน EEC : AMATA WHA ORI, หุ้นพื้นฐานเด่น : PJW XO
  • สินค้าส่งออกเดือน เม.ย. ที่ยังขยายตัวได้ดี : GFPT TFG
  • หุ้นเข้า FTSE SET Index : Large Cap เข้า MAKRO TRUE ออก BEM DIF Mid Cap เข้า BEM BTG DIF ITC SAPPE SISB SNNP SCAP ออก CPNREIT RAM SINGER TRUE VIBHA XPG มีผล 19 มิ.ย.

หุ้นรายงานพิเศษ

AUCT “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 12.10 บาท

“มุมมองบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการปี 66 และเตรียมปรับเพิ่มประมาณการ”

  • งวด 1Q66 มีรายได้ 307.4 ลบ. +48.3%YoY +6.99%QoQ โดยปัจจัยเติบโตหลักมาจากสถาบันการเงินทยอยจบมาตรการพักชำระหนี้ ส่งผลให้จำนวนรถยึดเข้าสู่ลานประมูลปรับสูงขึ้น และการปรับค่าบริการรถยนต์ 4 ล้อเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 บาท จาก 9,000 บาท และปรับค่าดำเนินการรถยนต์ 6 ล้อขึ้นไป เป็น 12,000 บาท จาก 10,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 65 และกลุ่มรถบิ๊กไบค์เป็น 3,000 บาท จากเดิม 1,500 บาท ตั้งแต่ 26 พ.ย. 65 สะท้อน %GPM ปรับดีขึ้นมาที่ 52.7% (1Q65 = 47.2%, 4Q65 = 53.3%) จาก Economies of Scale ส่งผลให้งวด 1Q66 มีกำไร 95.7 ลบ. +111.6%YoY +1.2%QoQ
  • ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการปี 66 ซึ่งกำลังพิจารณาปรับเพิ่มประมาณการกำไรเติมที่ราว 296 ลบ. +22.5%YoY หลังจากกำไร 1Q66 คิดเป็น 32% ของประมาณการทั้งปี ประกอบกับแนวโน้ม %NPL ประเภทรถยนต์ที่ยังมีแนวโน้มเร่งขึ้นซึ่งช่วง 1Q66 เพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 4.52% (1Q65 = 3.25%, 4Q65 = 4.42%) ส่งผลให้แนวโน้มปริมาณรถยึดจะยังคงไหลเข้าลานประมูลต่อเนื่อง สอดคล้องกับแผนการขยายลานประมูลเพิ่มอีก 6-7 แห่ง ทั้งนี้ เราคาดแนวโน้มกำไร 2Q66 ยังคงเติบโต YoY จากฐานต่ำและเป็นช่วงที่ยังไม่มีการปรับค่าบริการ แต่จะหดตัว QoQ จากปัจจัยฤดูกาลที่มีวันหยุดยาว โดยเรายังคงแนะนำ “ซื้อ” ราคา เหมาะสม 12.10 บาท อัพไซต์ 12% และจ่ายปันผลในอัตราราว 4-4.5% ต่อปี

หุ้นมีข่าว

(+) ILINK (Bloomberg consensus 10.00 บาท) รับทรัพย์ กลุ่มโรงแรมแห่รีโนเวตรับนักท่องเที่ยว หนุน แอดธุรกิจเทรด + ผู้บริหาร “วริสา อนันตรัมพร” ส่งซิก Q2/2566 ฟอร์มแจ่ม รับธุรกิจทุกไลน์โตต่อเนื่อง แถมลุยสอยงานใหม่เต็มพิกัด อัพแบ็กล็อกเพิ่มจากเดิม 2 พันล้านบาท รับรู้ยาวถึงปี 2567 (ที่มา ทันหุ้น)

(+) RS (Bloomberg consensus 14.95 บาท) ส่งสัญญาณไตรมาส 2/2566 ฟอร์มแจ่ม ย้ำทุกธุรกิจมาเด่น มั่นใจหลังโตต่อเนื่อง ดันรายได้รวมเติบโตตามเป้าวางไว้ สินค้าและบริการใหม่ๆ รวมถึง เม็ดเงินโฆษณาหนุน “เฮียฮ้อ” พร้อมปิดอีก 3 ดีลซื้อกิจการร่วมทุน ภายในสิ้นปี 2566 (ที่มา ทันหุ้น)

(+) ICN (Bloomberg consensus – บาท) เล็งศึกษาธุรกิจใหม่ต่อยอด คาดชัดเจนปี 2567 จับตารัฐบาลชุด ใหม่ทบทวนงบโครงสร้างพื้นฐานระบบสาธารณสุขเทเลเฮลธ์ มูลค่ากว่า 4 พันล้านบาท จ้องจรดปากกาเซ็นสัญญารับงานใหม่ 300 ล้านบาท ตุนแบ็กล็อกแน่น 2.8 พันล้านบาท มั่นใจผลงานเข้าเป้าโต 20% (ที่มา ทันหุ้น)

(+) MBK (Bloomberg consensus – บาท) ปลื้มโมเดล “โซน 24 ชั่วโมง” ประสบความสำเร็จ หนุนทราฟฟิกชาวต่างชาติ แนว13 12% ต่อวัน ทั้งยังเพิ่นเบ็ดเงินหมุนเวียนในอีก 4 ศูนย์การค้า ด้านธุรกิจโรงแรมทั้งอัตราการเข้าพักเฉลี่ย และราคาเฉลี่ยต่อห้องพักยังทรงตัวได้ราว 65-70% (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
  • สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ, การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน
    • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดผลิตและส่งออกรถยนต์
  • สัปดาห์ที่ 5 สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
    • สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
  • 30 มิ.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
  • 13 ก.ค. กกต.รับรองผลเลือกตั้งวันสุดท้าย

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 12 มิ.ย. สหรัฐ รายงานการคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคเดือนพ.ค.
  • 13 มิ.ย. อียู รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.
    • สหรัฐ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือนพ.ค. และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ค.
  • 13-14 มิ.ย. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ทราบผลเช้าวันที่ 15 มิ.ย. เวลาในประเทศไทย)
  • 14 มิ.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
  • (เช้าวันที่ 15 มิ.ย.) ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประชุมนโยบายการเงิน และแถลงมติอัตราดอกเบี้ย
  • 15 มิ.ย. จีน รายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค. ยอดค้าปลีก เดือนพ.ค.
    • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย
    • สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
  • 22 มิ.ย. นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะแถลงเกี่ยวกับนโยบายการเงินของสหรัฐต่อคณะกรรมการธนาคารของวุฒิสภาสหรัฐ
- Advertisement -