บล.กรุงศรีฯ:
SAPPE PUBLIC COMPANY (SAPPE TB/ SAPPE.BK)
กลุ่มอุตสาหกรรม | เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร |
หุ้น | SAPPE |
มูลค่าพื้นฐาน | 94.00 |
คำแนะนำ | BUY |
คงคำแนะนำซื้อ และประเมินราคาเป้าหมายที่ 94 บาท
SAPPE ประกาศจับมือพันธมิตรใหม่ Power Root Berhad (PWROOT MK, Not Rated) ในมาเลเซียเพื่อ 1) จัดจำหน่ายสินค้าของ Power Root (ส่วนใหญ่เป็นกาแฟ) ในประเทศไทย และ 2) แต่งตั้งให้ Power Root เป็นผู้จัดจำหน่ายเพียงรายเดียวของ Mogu ซึ่งเป็นสินค้าหลักของ SAPPE ในประเทศมาเลเซีย เรามองว่าการจับมือกันครั้งนี้เป็นบวกเพราะจะทำให้เกิด synergies กับทั้งสองบริษัท เรามองว่า Mogu Mogu มีศักยภาพสูงในประเทศมาเลเซีย เพราะผู้บริโภคมีรสนิยมคล้ายคลึงกันกับในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่อันดับสองของ SAPPE
มาเลเซียอาจจะเป็นเขตแดนใหม่
Power Root เป็นหนึ่งในผู้ผลิตเครื่องดื่มระดับแนวหน้าของมาเลเซีย และเป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดจำหน่ายกาแฟ ชา และช็อคโกแล็ต ซึ่งนอกเหนือจากการจำหน่ายสินค้าของ Power Root ในประเทศไทยแล้ว เราเชื่อว่าบริษัทจะยังได้อานิสงส์จากการขยายเครือข่ายการจัดจำหน่าย และเพิ่มยอดขาย Mogu Mogu ในประเทศมาเลเซียด้วย ทั้งนี้ ยอดขายในตลาดส่งออกคิดเป็น 77% ของรายได้รวมในปี 2023F โดยอดขายในฟิลิปปินส์ (16% ของรายได้ SAPPE) และอินโดนีเซีย (10% ของรายได้ SAPPE) เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งและสองตามลำดับ ทั้งนี้ จากวัฒนธรรม และรสนิยมของผู้บริโภคที่คล้ายคลึงกันใน ASEAN เราเชื่อว่ามาเลเซียจะเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในแง่ตลาดส่งออกของ SAPPE
กำไรใน 2Q23 อาจจะทำสถิติสูงสุดใหม่
ใน 1Q23 กำไรของ SAPPE อยู่ที่ 280 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 113% qoq และ 84% yoy จากยอดส่งออกที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง เราคาดว่าทั้งยอดขายและกำไรจะทำสถิติสูงสุดใหม่ใน 2Q23 เพราะเป็นช่วง high season เนื่องจากเป็นหน้าร้อนปีนี้ร้อนเป็นพิเศษ ทั้งในประเทศไทย และส่วนอื่น ๆ ของเอเชีย ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยกระตุ้นราคาหุ้น
ใช้ราคาเป้าหมาย DCF โดยมองว่าข้อจำกัดด้านกำลังการผลิตเป็นความเสี่ยงหลัก
เราประเมินราคาเป้าหมาย DCF โดยใช้ WACC ที่ 11% และ terminal growth ที่ 3.5% เราชอบ SAPPE ในแง่ของแบรนด์ franchise ที่แข็งแกร่งในต่างประเทศ ซึ่งขับเคลื่อนการเติบโตของทั้งรายได้และกำไร โดยเราคาดว่าจะโตถึง 19% และ 22% CAGR ในช่วงปี 2022-2026F ตามลำดับ เรามองว่าความเสี่ยงหลักอยู่ที่ข้อจำกัดด้านกำลังการผลิต (อัตราการใช้กำลังการผลิตในปัจจุบันอยู่ที่ 81%) และเนื่องจากยอดขายเติบโตอย่างรวดเร็ว หากเกิดการสะดุดขึ้นจะกระทบกับการเติบโตของยอดขายและกำไร