ASL ANALYSIS GUIDE
ประเมิน SET แกว่งตัว Sideway down เน้นยืนกรอบแนวรับ 1,550-1,545 ไม่ควรต่ำกว่าเพื่อลดความเสี่ยงเกิดสัญญาณกลับตัว แนวต้านทดสอบ 1,570
ประเด็นการลงทุน
1. เฟดเบรกขึ้นดอกเบี้ยเพื่อประเมินผลกระทบศก. ติดตามการประชุม ECB และ BOJ
วันนี้เคาะ ASIAN แนวโน้มของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงที่สอดรับเทรนด์ Pet Humanization ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
MARKET STRATEGY
สรุปตลาดวานนี้ SET ปิดที่ 1,561.15 จุด ลดลง 1.25 จุด (-0.08%) มูลค่าการซื้อขาย 36,838.88 ล้านบาท แกว่งตัวในกรอบแคบๆ หลังตอบรับปัจจัยเงินเฟ้อสหรัฐที่ชะลอตัวลงไปมากแล้วระดับหนึ่ง แต่ยังต้องรอติดการประชุมเฟด
Research Highlight: เฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อในปีนี้
เฟดเบรกขึ้นดอกเบี้ยเพื่อประเมินผลกระทบ ศก. ติดตามการประชุม ECB และ BOJ
- Update การประชุมเฟด
- เฟดคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.00-5.25% ตามคาด โดยหลักเพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดจากการที่เฟดเริ่มวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. 2565 รวมทั้งผลกระทบจากการล้มละลายของธนาคาร 3 แห่งในสหรัฐว่าจะมีผลต่อกลุ่มผู้บริโภคและภาคธุรกิจ
- ขณะที่ Dot plot บ่งชี้ว่า เจ้าหน้าที่เฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% อีก 2 ครั้ง สู่ระดับ 5.50-5.75% ภายในสิ้นปีนี้ และคาดว่าเฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2567 โดยจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยรวม 1.00% หลังจากคณะกรรมการเฟดแถลงมติการประชุมนักลงทุนให้น้ำหนัก 67% ที่เฟดจะปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 25-26 ก.ค. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านี้ที่ระดับ 60%
- ด้านการคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจในปี 66 ได้ปรับเพิ่ม GDP66 ขยายตัว 1% (ครั้งก่อน +0.4%) และอัตราเงินเฟ้อที่ 3.9% โดยเฟดมองว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่ภาคแรงงานยังแข็งแกร่ง รวมถึงยังเน้นย้ำเป้าเงินเฟ้อที่ 2%
- ในเชิงกลยุทธ์ ตลาดหุ้นเริ่มมี upside ที่จำกัด รับรู้แนวโน้มที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีก หลังได้ปรับตัวขึ้นรับประเด็นอัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้จุดสูงก่อนหน้านี้มาแล้ว โดย US bond yield ยังปรับตัวขึ้น แต่ด้าน Dollar index ที่จะอ่อนค่าลง ส่วนหนึ่งรับแรงกดดันมาจาก ECB ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยวันนี้
- ECB 15 มิ.ย.
- คาดว่า ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4% สวนทางกับเฟด หนุนดอลลาร์ให้อ่อนค่า เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูง ที่ล่าสุด CPI เม.ย. +7.0%YoY (กรอบเป้าหมาย 2%) และโดยหลักมาจากฝั่ง demand (อาหาร) เป็นหลัก ทั้งนี้จะมีรายงาน CPI พ.ค. 16 มิ.ย. คาด +6.1%YoY
- BOJ 16 มิ.ย.
- คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% แต่ต้องติดตามการส่งสัญญาณที่จะยุติการใช้นโยบาย YCC หลังจากช่วงปลายปี 65 BOJ ได้สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดด้วยขยายกรอบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลญี่ปุ่นให้เคลื่อนไหวในช่วง -0.5% ถึง +0.5% จากเดิมที่ -0.25% ถึง +0.25% สะท้อนสัญญาณยุติการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ ทั้งนี้ CPI เม.ย. อยู่ที่ +3.5%YoY (กรอบเป้าหมาย 2%) จะมีรายงาน CPI พ.ค. วันที่ 23 มิ.ย.
Investment Strategy
- ประเมิน SET แกว่งตัว sideway down เน้นยืนกรอบแนวรับ 1550-1545 ไม่ควรต่ำกว่า เพื่อลดความเสี่ยงเกิดสัญญาณกลับตัว แนวต้านทดสอบ 1570
- ประเด็นทางการเมืองในประเทศเริ่มผ่อนคลาย หลังจาก กกต.ทยอยรับรองผลส.ส.เขตแล้ว 330 คน ซึ่งคาดว่าจะครบ 95% สัปดาห์หน้า รวมถึงจะเริ่มเห็นการออกบทวิเคราะห์ preview กลุ่มธนาคารในช่วงครึ่งหลังของเดือนมิ.ย. เบื้องต้นประเมิน +QoQ แต่ทรงตัว YoY
- ในเชิงกลยุทธ์ แนะนำทยอยขายทำกำไร/ลดพอร์ท (ทุนแถว 1500+/- จุด) หลังดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง รับรู้ประเด็นเฟดและการเมืองในประเทศไปพอสมควรแล้ว
Global Markets
(-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงลงกว่า 200 จุดหลังจากเฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยตามคาด แต่ส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งภายในสิ้นปีนี้
(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวกโดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มธนาคารและกลุ่มเหมืองแร่ และการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์นี้
(-) สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปิดลบ หลังจากเฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้ ซึ่งทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและอุปสงค์น้ำมัน นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว
(+) สัญญาทองคำตลาด COMEX ปิดบวก โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ขณะเดียวกันนักลงทุนรอดูผลการประชุมนโยบายการเงินของเฟด โดยตลาดทองคํานิวยอร์กปิดหาการก่อนที่คณะกรรมการเฟดจะแถลงมติการประชุม
หุ้นเคาะไป คุยไป…ASIAN
- ราคาหุ้นปรับตัวลงมาแล้วกว่า 27%YTD ขานรับแนวโน้มผลประกอบการที่ชะลอตัวลงในปีนี้ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในสหรัฐและยุโรปไปพอสมควรล้ว โดยผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ปี 66 หดตัวลงราว 5%YoY อยู่ที่ระดับ 1.07 หมื่นล้านบาท ซึ่งปรับลดจากสถานการณ์เศรษฐกิจจากสหรัฐฯ และยุโรปมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยเฉพาะธุรกิจอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ซึ่งมีตลาดสหรัฐเป็นตลาดหลัก รวมทั้งปัญหาสินค้าคงคลังของลูกค้าแบรนด์ อาหารสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในระดับสูง (Over Stock) ขณะที่จะเริ่มเห็นการฟื้นตัวใน 2H66 ตามสถานการณ์ระดับสินค้าคงคลังจะกลับมาอยู่ในสภาวะปกติ โดยประเมินระดับ GPM ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วใน 1Q66 ที่ระดับ 9.2% คาดว่าเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ในระดับ double digit
- ทั้งนี้แนวโน้มของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงที่สอดรับเทรนด์ Pet Humanization ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้กลยุทธ์การดำเนินงานจะไปเน้นขยายฐานลูกค้า รวมถึงการจัดทำ R&D เพื่อเพิ่ม value added และการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อปรับลดต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่าย โดยในปี 66 ตั้งเป้างบลงทุน 1.37 พันล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตและสินค้าอัตโนมัติแห่งที่ 2 ในธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงเป็นสัดส่วนสูงสุด