KS Daily View 15.06.2023 >>> ถ้อยแถลง Fed Hawkish กว่าคาด มองตลาดตอบรับเชิงลบ SET คาดแกว่งตัวผันผวนในกรอบ 1,550-1,565/1,585 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ AWC KTB
สรุปภาวะตลาดเมื่อวันวานนี้
ต่างประเทศ: ดัชนี DJIA -0.68%, S&P 500 +0.08%, NASDAQ +0.39% โดย Sector ที่ outperform ใน S&P500 ได้แก่ IT (+1.1%), Consumer staples (+0.56%), Real Estate (+0.3%) ส่วน Energy (-1.1%), Health care (-1.1%), Material (-0.4%)
ในประเทศ: SET Index -1.25 pts. หรือ -0.08% เป็น 1,561.15 จุด ตัวขับเคลื่อนหลักสำคัญคือ BJC (+2.7%), CBG (+5.2%), PTTGC (+1.9%), ITC (+4.9%) ตัวฉุดคือ CRC (-2.4%), BDMS (-0.9%), AOT (-0.3%), GULF (-0.5%)
แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ: คาดดัชนีแกว่งตัวผันผวนในกรอบ 1,550-1565/1585 จุด มองตลาดอาจตอบรับเชิงลบหลัง Fed หยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามคาด แต่ statement ถ้อยคำแถลงและ Dot plotส่งสัญญาณ hawkish กว่าที่ตลาดประเมิน โดย Fed อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นต่ออีก 2 ครั้งในปีนี้
ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:
1.) ผลการประชุม FOMC ของสหรัฐฯออกมาเป็นไปตามที่ตลาดคาดคือมีการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.00-5.25% แต่ statement ถ้อยคำแถลงของประธาน Fed กลับส่งสัญญาณ Hawkish มากกว่าที่ตลาดประเมิน อีกทั้งมีการปรับตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจหรือ Dot plot โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คาดว่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้นอีกถึง 50bps ในปี 2023 หรือกล่าวคืออาจปรับเพิ่มขึ้นอีก 2 ครั้ง โดยปรับขึ้นครั้งละ 25bps เนื่องจาก Fed ประเมินว่าตลาดแรงงานยังค่อนข้างตึงและอัตราเงินเฟ้ออาจปรับตัวลดลงได้ค่อนข้างช้า จึงอาจต้องปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นต่อเพื่อให้แน่ใจว่าเงินเฟ้อจะไม่เร่งตัวกลับมา
2.) ธปท.จัดประชุม Monetary policy forum วานนี้เพื่ออัพเดทข้อมูลเศรษฐกิจและแลกเปลี่ยนมุมมองกันกับนักวิเคราะห์ โดยธปท.คาดเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง ขับดันจากภาคท่องเที่ยวและการบริโภคของเอกชนเป็นหลัก ขณะที่ภาคการส่งออกยังโดนกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว การนำเสนอข้อมูลและคำอธิบายให้ tone hawkish เนื่องจากมุมมองแนวโน้มเงินเฟ้อที่คาดว่าจะทรงตัวในระดับสูง แม้เพิ่งปรับตัวลงมาแรงในเดือนพ.ค. โดยให้เหตุผลต้องการเห็นเงินเฟ้อปรับตัวลงมาอยู่ในกรอบนโยบายแบบต่อเนื่อง ไม่กลับไปเพิ่มขึ้นแรงอีกครั้ง สะท้อนเหมือนกลัวขึ้นดอกเบี้ยไม่พอแล้วเงินเฟ้อกลับมามากกว่าขึ้นมากไปแล้วเศรษฐกิจชะลอตัวเพราะเห็นโมเมนตั้มครึ่งหลังเศรษฐกิจน่าจะยังโตได้ดี
Theme การลงทุนสัปดาห์นี้
เลือกหุ้นกลุ่ม Global play ที่ก่อนหน้านี้ปรับตัวลงมาเยอะจน valuation เริ่มน่าสนใจคาดว่าจะได้ประโยชน์จากการ Restocking รอบใหม่บนมุมมอง Soft Landing และโอกาสที่จีนจะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ผสานกับกลุ่ม Finance และ Quality growth ที่ได้ sentiment บวกจากโอกาสที่ Fed จะชะลอ หรือหยุดขึ้นดอกเบี้ย ได้แก่ IVL (ราคาพื้นฐาน 37 บาท), PTTGC (ราคาพื้นฐาน 46.70 บาท), HANA (ราคาพื้นฐาน 49 บาท), TIDLOR (ราคาพื้นฐาน 30 บาท), และ BE8 (ราคาพื้นฐาน 69.68 บาท) เป็นต้น
หุ้นแนะนำวันนี้
AWC (ราคาพื้นฐาน 6.93 บาท) ผลประกอบการไตรมาส 1/2566 ออกมาแข็งแกร่งเร่งตัวทั้ง QoQ และ YoY หากมองไปข้างหน้าเราประเมินว่ากำไรจะเร่งตัวต่อในไตรมาส 2/2566 จากแนวโน้มของนักท่องเที่ยวขาเข้าที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะขับเคลื่อนการดำเนินงานของโรงแรม ขณะเดียวกัน เราคาดว่าธุรกิจค้าปลีกและการพาณิชย์จะมี OCR ที่สูงขึ้นในไตรมาส 2/2566 หนุนจากการจัดงาน Disney 100 Village
KTB (ราคาพื้นฐาน 24.75 บาท) เราประเมินว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในอีก 2-3 ไตรมาสข้างหน้า ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์ยังควบคุมได้ สอดคล้องกับผู้บริหารที่ให้ข้อมูลว่า NIM มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นต่อในไตรมาส 2/2566-3/2566 จากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้นและสัดส่วนสินเชื่อรายย่อยที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งอาจเห็นอานิสงคเชิงบวกเพิ่มหากธปท.มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นอีกจริง
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันพฤหัสฯ มีหลายปัจจัยต้องติดตาม เริ่มจากช่วงเย็นมีการประชุมธนาคารกลางของยุโรป ECB ตลาดคาดจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 25bps จาก 3.75% เป็น 4.00% ตามด้วยตัวเลขค้าปลีกของสหรัฐ (retail sales) ตลาดมองทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (เทียบจาก +0.4% MoM ในเดือนเม.ย.) และตัวเลขภาคการผลิตของสหรัฐฯรายภูมิภาค Empire State และ Philly Fed manufacturing index ตลาดมองที่ -15.6% (เทียบจาก -31.8% ในเดือนก่อนหน้า) และ -12.3% (เทียบจาก -10.4% ในเดือนก่อนหน้า) ตามลำดับ
- วันศุกร์ ติดตาม การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตลาดคาดยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ -0.10% Monetary policy divergence ของ BOJ ที่ยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ขณะที่ธนาคารกลางอื่นทั่วโลกต่างปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังคงเป็น trading theme หลักที่ทำให้ดัชนี Nikkei ปรับตัวเพิ่มขึ้นและค่าเงิน JPY อ่อนค่าลง การประชุมรอบนี้มีความสำคัญในการติดตามว่า policy stance ของ BOJ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่