บล.บัวหลวง: 

Gulf Energy Development (GULF TB/GULF.BK)

GULF – ประเทศไทยไม่ต้องการโรงไฟฟ้า IPP ใหม่จริงหรือ?

จากรายงานกลุ่มโรงไฟฟ้าฉบับล่าสุดของเรา เราอธิบายให้เห็นว่า การปรับลดอัตราค่าไฟและการเจรจาเพื่อลดค่าความพร้อมจ่าย จะไม่ส่งผลกระทบพื้นฐานต่อหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า รายงานฉบับนี้เราจะอธิบายว่าทําไมประเทศไทยจึงยังต้องมีโรงไฟฟ้า IPP ใหม่ (ซึ่งสวนทางกับความคาดหวังของตลาด)

คาดไม่มีผลกระทบจากการปรับลดอัตราค่าไฟ และจะไม่มีการปรับลดค่าความพร้อมจ่าย

ราคาหุ้น GULF ปรับตัวลงมากกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดมากในช่วงเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับนโยบายในการหาเสียงของพรรคก้าวไกล เช่น การลดราคาไฟฟ้าลง 0.70 บาทต่อหน่วย ภายใน 1 ปี และการเจรจาให้ลดลงค่าความพร้อมจ่าย (AP) ของโรงไฟฟ้า IPP รวมไปถึงการลดกําลังผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลใน PDP ถัดไป ทั้งนี้ เรามองว่าความกังวลดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า (อ่านเพิ่มเติมในรายงานกลุ่มโรงไฟฟ้าของเราฉบับ วันที่ 18 พ.ค. – อย่าไปตื่นตกใจ เพราะยังไงค่าไฟฟ้าก็ลง)

ปริมาณสํารองของไทยสูงเกินไปจริงหรือ?

ในเดือน เม.ย. กฟผ. รายงานกำลังการผลิตรวม 49.5GW โดยมีความต้องการไฟฟ้าสูงสุดเพียง 32.3GW (20 เม.ย. 2556, 20:50 น.) เมื่อมองเผินๆ ตัวเลขดังกล่าวแสดงถึงปริมาณสำรองที่สูงถึง 53% ในขณะที่ปริมาณสํารองที่เหมาะสม โดยหลักการควรอยู่ในช่วง 15-20% อย่างไรก็ตาม ความจริงที่ว่าความต้องการไฟฟ้าสูงสุดจะเกิดขึ้นในตอนกลางคืนในเดือน เม.ย. หรือ พ.ค. หมายความว่าพลังงานหมุนเวียนไม่สามารถใช้ได้อย่างเต็มที่ (โซลาร์ฟาร์มไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้หลังจากพระอาทิตย์ตกดิน โรงไฟฟ้า HPPs จ่ายไฟฟ้าน้อยลงในช่วงฤดูร้อน และพลังงานลมไม่สามารถควบคุมได้) ดังนั้นเราจึงคำนวณปริมาณสํารองใหม่ โดยพิจารณาจากความพร้อมของพลังงานหมุนเวียน

คำตอบอาจทําให้คุณประหลาดใจ!

เราคาดใช้สมมติฐานว่าโรงไฟฟ้า HPP จะจ่ายไฟฟ้าได้อย่างน้อย 30% และ สมมติให้เสถียรภาพของโซลาร์ฟาร์มและกังหันลมจะเพิ่มขึ้นจาก 1% ในปี 2566 เป็น 15% ในปี 2580 (โดยการใช้แบตเตอรี่) เราพบว่าปริมาณสารอง จะอยู่ที่ 25% ในปี 2566 ซึ่งถือว่าอาจไม่สูงจนน่าตกใจ แต่จะลดลงเหลือเพียง 16% ในปี 2568 (กำลังการผลิตก๊าซจํานวนมากกำลังจะทยอยหมดอายุลงใน อีกไม่กี่ปีข้างหน้า) และตั้งแต่ปี 2570 เป็นต้นไป ประเทศไทยอาจเผชิญกับ ความเสี่ยงระบบไฟฟ้าล่ม (blackout risk) เนื่องจากปริมาณสำรองมี แนวโน้มลดลงต่ำกว่า 15% ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวคํานวณจากสมมติฐานที่ว่า ความต้องการสูงสุดจะเพิ่มขึ้นเพียง 2.7% ต่อปี (ควบคู่กับอัตราเติบโตเฉลี่ย สะสมต่อปี ระหว่างปี 2561-2566) แต่หากการเปลี่ยนมาใช้ EV อย่าง รวดเร็ว ส่งผลให้มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงที่ไฟฟ้าจะ ไม่เพียงพอก็อาจเกิดขึ้นเร็วกว่านี้ และประเทศไทยยังจําเป็นต้องการโรงไฟฟ้า IPP ใหม่ในอีกไม่ช้า

คุ้มค่าหรือไม่ที่จะลดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซ?

ต้นทุนค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อน (AP และ CP) ทั้งหมดคิดเป็นเพียง 0.80 บาทต่อหน่วย ซึ่งถือเป็นราคาที่ต้องจ่ายเพื่อป้องกัน blackout risk ความพยายามลดต้นทุนดังกล่าวไม่ได้ส่งผลต่อค่าไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ แต่จะเพิ่มความเสี่ยงไฟดับอย่างแน่นอน ต้นทุนคงที่อื่นๆ (เช่น ต้นทุนระบบส่งไฟฟ้า ต้นทุนจำหน่ายไฟฟ้า ภาระของ กฟผ. เป็นต้น) อยู่ในช่วง 1.00-1.20 บาทต่อหน่วย ขณะที่ต้นทุนเชื้อเพลิงและต้นทุนการผลิตไฟฟ้ามีความผันผวนระหว่าง 2.14-3.36 บาทต่อหน่วย การวิเคราะห์ความอ่อนไหวต่อราคาไฟฟ้าของเราบ่งชี้ว่าการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าทดแทนจำนวนมากที่ FIT ระหว่าง 2.20-2.80 บาทต่อหน่วย อาจส่งผลให้ราคาไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ช่วยลดความผันผวนของราคาไฟฟ้าลง (เมื่อราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น)

- Advertisement -