สรุปภาวะตลาด 

วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ระหว่างวันดัชนีรีบาวด์แรง ราว 420 จุด หลังจากปรับตัวลงต่อเนื่อง แต่ปิดตลาดเหลือ +12 จุด แรงซื้อกลับในหุ้นที่ปรับตัวลงมามากในช่วงก่อนหน้าในหุ้นกลุ่มพลังงาน ที่ได้ปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้น ส่วนแรงขายมาจากหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,479.57 จุด +12.64 จุด +0.86% มูลค่าการซื้อขาย 52,741 ลบ.ต่างชาติ +1,148.28 ลบ. TFEX +12,478 สัญญา ตราสารหนี้ +4,881.73 ลบ. 

ปัจจัยบวก+ 

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 269.76 จุด หรือ +0.80% ได้แรงหนุน จากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มธนาคาร หลังจากเฟด ระบุว่า ธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐทั้ง 23 แห่ง สามารถผ่านการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินของสหรัฐ และช่วยบดบังปัจจัยลบจากความวิตกกังวลว่าเฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดเพิ่มขึ้น 30 เซนต์ +0.43% ปิดที่ + 69.86 ดอลลาร์/บาร์เรล ได้แรงหนุนจากสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่ลดลงมากกว่าคาดในสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่การซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากนลท.กังวลว่าภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก 

+ สหรัฐเปิดเผย GDP 1Q66 ขยายตัว 2.0% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.4% ขณะที่ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 26,000 ราย สู่ระดับ 239,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 265,000 ราย 

+ กระทรวงการคลังรายงานว่าภาวะเศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค.ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง การบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัว และอัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกแม้ยังหดตัวและในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า

ปัจจัยลบ- 

– เกิดเหตุกลุ่มผู้ประท้วงยิงพลุใส่ตำรวจและจุดไฟเผารถไปหลายคันในเมืองน็องแตร์ ย่านชานเมืองของกรุงปารีส เป็นคืนที่สองติดต่อกัน เพื่อประท้วงกรณีที่วัยรุ่นชายอายุ 17 ปีรายหนึ่งถูกตำรวจฝรั่งเศสยิงเสียชีวิตขณะโดนเรียกให้หยุดรถ 

– The Boutique Adventurer ซึ่งเป็นเว็บไซต์ด้านการเดินทาง เปิดเผยรายชื่อ 29 สนามบินที่อันตรายที่สุดในโลกประจำปี 2566 โดยสนามบินดอนเมืองของไทยติดอันดับที่ 26 

– ส.อ.ท.จับตาใกล้ชิดหลังส่งออกไทยติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 เริ่มกระทบภาคอุตสาหกรรม 25 กลุ่มในแง่ของกำลังการผลิตลดลง ทำให้ผู้ผลิตยังคงประคองตัวเพื่อรักษาแรงงาน 

แนวโน้มตลาดวันนี้ 

คาดดัชนีในวันนี้ลุ้น Rebound ต่อ โดยมีแรงหนุนจากธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐทั้ง 23 แห่ง สามารถผ่านการทดสอบ Stress Test ขณะที่ปัจจัยการเมืองในประเทศ มีรายงานข่าวจากพรรคเพื่อไทยว่า ประเด็นการหารือกับพรรคก้าวไกล ในเรื่องตำแหน่งประธานสภา ได้ข้อยุติแล้ว โดยพรรคก้าวไกลจะได้ตำแหน่งประธานสภา คาดกรอบดัชนีในวันนี้ 1,470- 1,485 จุด 

กลยุทธ์การลงทุน 

  • สินค้าส่งออกเดือน พ.ค. ที่ยังขยายตัวได้ดี : SNC AH SAT HANA KCE PDJ 
  • SET50 หุ้นเข้า –TLI, WHA หุ้นออก – JMT, JMART SET100 หุ้นเข้า – AURA, BTG, ERW, MBK, SNNP, STEC, TASCO, TLI หุ้นออก – BEC, EPG, JAS KEX, ONEE, QH, RBF, SINGER 
  • ค่าระวางเรือขึ้นจากคลองปานามา หุ้นได้ประโยชน์ PSL TTA RCL

หุ้นรายงานพิเศษ 

TPL (MAI/Service) ราคา IPO 3.30 บาท 

  • บริษัท ไทยพาร์เซิล จำกัด (มหาชน) หรือ TPL ประกอบธุรกิจให้บริการจัดส่งสินค้าหรือสิ่งของ โดยเชี่ยวชาญในสินค้าขนาดใหญ่ มีทั้งการจัดส่งแบบ B2B, C2C และ B2C โดยปัจจุบันบริษัทให้บริการจัดส่งสินค้าและสิ่งของประมาณ 3.5- 6.0 แสนชิ้นต่อเดือน และสามารถให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าทั้งที่เป็นภาคธุรกิจและรายย่อย โดยมีจุดให้บริการ 129 แห่ง ทั่วประเทศ ทั้งในรูปแบบสาขาของบริษัทและแฟรนไชส์ของบริษัท
  • รายได้รวมในปี 63-65 เท่ากับ 709 ล้านบาท 534 ล้านบาท และ 486 ล้านบาท ตามลำดับ และกำไรสุทธิในงวดปี 63- 65 เท่ากับ 128 ล้านบาท 21 ล้านบาท และ 21 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิเท่ากับ 18%, 4% และ 49% ตามลำดับ ทั้งนี้รายได้ 1Q66 เท่ากับ 134 ลบ. +14%YoY และกำไรสุทธิ 9 ลบ. +278%YoY สาเหตุมาจากรายได้จากกลุ่มลูกค้า B2B และ B2C ปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า 16% และ 30% ตามลำดับ
  • จำนวน IPO 120 ล้านหุ้น คิดเป็น 22.90% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมด ราคาพาร์ 0.50 บาท ราคา IPO 3.30 บาท (คิดเป็น P/E = 47 เท่า) ขณะที่ P/E กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ ใน SET และกลุ่มธุรกิจบริการ ใน MAI มี P/E 60 และ 40 เท่า ตามลำดับ ทั้งนี้ราคาเหมาะสม Consensus อยู่ในช่วง n/a บาท วัตถุประสงค์การใช้เงิน 1) สร้างศูนย์กระจายสินค้า 2 ซื้อยานพาหนะไฟฟ้า 3) ชำระหนี้แก่สถานบันการเงิน และ 4) เงินทุนหมุนเวียน

หุ้นมีข่าว

(+) SSP (Bloomberg consensus 10.60 บาท) กางแผนธุรกิจครึ่งหลัง 2566 บิ๊กบอส “วรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์” สั่งเดินหน้า M&A ธุรกิจใหม่ เล็งชงบอร์ดเคาะแผ่นต้นกรกฎาคมนี้ ส่วนแผนธุรกิจพลังงาน แย้มอยู่ระหว่างเจรจา คาดชัดเจนอย่างน้อย 1 ดีล กำเงินสดพร้อมลุย 4 พันล้านบาท จ้องลงทุนเวียดนามหวังจะได้ใบอนุญาตขายไฟฟ้า 100-200 เมกะวัตต์ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) BBIK (Bloomberg consensus 139.17 บาท) ปรับเป้าหมายรายได้ปี 2566 ใหม่โตไม่ต่ำกว่า 120% ยืนเหนือ 1.2 พันล้านบาท พร้อมปั๊มรายได้ทะลุ 2 พันล้านบาท ภายในปี 2568 เล็งย้ายเข้า SET ฟากผู้บริหารวาง 4 กลยุทธ์สำคัญ ขับเคลื่อนธุรกิจ แย้มครึ่งปีหลังจ่อปิดดีลร่วมทุนพันธมิตรอย่างน้อย 1 ดีล (ที่มา ทันหุ้น)

(+) EKH (Bloomberg consensus 9.56 บาท) มองผลงานครึ่งปีหลังคนไข้จีนกลับมาทำ IVF เพิ่มขึ้น ด้านผู้ป่วยปกติ ทยอยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เตรียมรับรายได้ศูนย์ไตเทียมใหม่ มีแผนขยายโรงพยาบาลเพิ่มเติม มั่นใจรายได้ปีนี้เติบโต 8-10% ตามเป้า (ที่มา ทันหุ้น)

(+) DMT (Bloomberg consensus – บาท) แย้มปริมาณเจรจาไตรมาส 2/2566 ขยายตัว ทะลุ 1 แสนคันต่อวัน การเดินทางคึกคัก พร้อมฤดูฝนหนุนปริมาณการใช้ทางด่วนเพิ่ม คาดการณ์ว่าปริมาณการจราจรโดยเฉลี่ยรวมของทั้งปี 2566 จะอยู่ที่ไม่ต่ำกว่าระดับ 110,000 คันต่อวัน ส่วนการประมูลโครงการรอความชัดเจนจากรัฐบาลใหม่ (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 30 มิ.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
    • สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
  • 2 ก.ค. การประชุม 8 พรรคการเมืองร่วมจัดตั้งรัฐบาล
  • 3 ก.ค. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกา เรียกประชุมรัฐสภา
  • 4 ก.ค. การประชุมสภาฯ สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 1 เพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 30 มิ.ย. จีน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการเดือนมิ.ย.จากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS)
    • อียู รายงานอัตราว่างงานเดือนพ.ค. อัตราเงินเฟ้อขั้นต้นเดือนมิ.ย.
    • สหรัฐ รายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนพ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
  • 3 ก.ค. จีน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนมิ.ย. จากไฉซิน
    • อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือน มิ.ย.จากฮัมบูร์ก คอมเมอร์เชียล แบงก์ (HCOB)
    • สหรัฐ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้าย เดือนมิ.ย.จากเอสแอนด์พี โกลบอล ดัชนีภาคการผลิตเดือนมิ.ย.จาก สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) การใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง เดือนพ.ค.
  • 5 ก.ค. จีน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมิ.ย. จากไฉซิน
    • อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือน มิ.ย.จากฮัมบูร์ก คอมเมอร์เชียล แบงก์ (HCOB)
- Advertisement -