ชัดเจน / 1,500-1,520
มุมมองตลาดหุ้นวันนี้
- คาด SET แกว่งตัว Sideways up: จากการคลายความกังวลเกี่ยวกับรอยร้าวระหว่างพรรคก้าวไกลและเพื่อไทย หลังทั้งสองตกลงเสนอนายวันมูหะหมัดนอร์มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ เป็นปธ.สภาฯ และรองปธ.สภาฯคนที่ 1 และ 2 เป็นของพรรคก้าวไกลและเพื่อไทย ตามลำดับ ส่งผลให้ภาพการเมืองไทยมีความชัดเจนขึ้น ซึ่งจะหนุนให้นักลงทุนที่ไม่ชอบความไม่แน่นอนที่ชะลอการลงทุนไปก่อนหน้านี้ มีแนวโน้มกลับมาลงทุนใน SET Index โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่หุ้นในกลุ่มจับจ่ายใช้สอยคาดได้ Sentiment ทางบวก จากการที่ธปท.เตรียมออกมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างไรก็ดี ทางขึ้นของ SET Index วันนี้คาดถูกจำกัดจากการเข้าใกล้ตำแหน่งนายกฯ ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันต่อหุ้น Big Cap. ที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันต่ำจากความกังวลต่อนโยบายทลายทุนผูกขาดของพรรคก้าวไกล ด้านหุ้นกลุ่มพลังงานคาดเป็นอีกแรงกดดันต่อ SET Index ตามราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ร่วงลง 1.20% สู่ $69.79 ต่อบาร์เรล จากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของศก.ทั่วโลก ซึ่งได้บดบังปัจจัยบวกจากการที่ซาอุดีอาระเบีย และรัสเซียปรับลดอุปทานน้ำมันโดย PMI ภาคการผลิตของสหรัฐฯ ยุโรป และเยอรมนี สะท้อนภาพการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งจีนซึ่งเป็นความหวังของโลก แม้ Caixin PMI เดือนมิ.ย. ยืนเหนือ 50 แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี สำหรับจีน นักลงทุนยังคงมีความคาดหวังว่ารัฐบาลจีนจะมีการออกมาตรการกระตุ้นศก. เพิ่มเติม ขณะที่วันนี้ติดตามการประชุมสภาฯ โดยประเด็นสําคัญคือการโหวตเลือกปธ.สภาฯ เพื่อจับสัญญาณของความชัดเจนทางการเมืองไทยและความสามัคคีของ 8 พรรคร่วมฯ อีกครั้ง
- กลยุทธ์ลงทุน: 1) Spending+ท่องเที่ยว: AH, AOT, BA, BEM, BTS, COM7, CPN, CRC, KLINIQ, MINT, OR, SAT, SPA 2) หุ้นพฐ.ดี+Preview งบฯ: ADVANC, BRI, KBANK, SAWAD, SPALI และ 3) การเมืองชัดเจนขึ้น: CK, SC, SIRI
ปัจจัยบวก
- ธปท.เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 51.0 เพิ่มขึ้นจาก 49.7 ในเดือนพ.ค. ตามความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบ นำโดยความเชื่อมั่นด้านการผลิตและผลประกอบการ
- ธปท.เผยว่าจะเร่งออกแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดยแนวทางจะครอบคลุมตลอดวงจรหนี้ ตั้งแต่การก่อหนี้ใหม่ที่มีคุณภาพ การดูแลหนี้เดิม โดยเฉพาะ NPL และหนี้เรื้อรัง รวมถึงช่วยให้ประชาชนเข้าถึงสินเชื่อในระบบ
- ซินหัวรายงานข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์แห่งประเทศจีน ระบุว่าภาคการผลิตยานยนต์ของจีนมีการเติบโตแข็งแกร่งในแง่รายได้ (+14.3% y-y)และกำไร (+24.3% y-y) ช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค.ปีนี้
ปัจจัยลบ
- สหรัฐฯ เผยดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM ปรับตัวลงสู่ระดับ 46.0 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.63 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการลดลงของการจ้างงาน แม้ว่าคําสั่งชื้อใหม่ปรับตัวขึ้น
- ยุโรปเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายจาก HCOB ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 43.4 ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 44.8 ในเดือนพ.ค. ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 บ่งชี้ถึงแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมที่ซบเซา
- ส่วนต่างของ U.S. Treasury yield curve 2 และ 10 ปี พุ่งสูงสุด นับตั้งแต่ปี 2524 ที่ระดับ -109.50 ในช่วงแรกๆ ของการซื้อขายเมื่อวานนี้ ซึ่งสะท้อนถึงความกังวลของตลาดการเงินที่ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดจะทำให้ศก.เข้าสู่ภาวะถดถอย
PICKS OF THE DAY
KBANK BUY
- เป้าหมาย 133.50 / 137.50 แนวรับ 128.00 / 130.00
- คาดกำไรเพิ่มขึ้นทั้ง y-y q-q: คาดกำไร 2Q66 ของ KBANK จะออกมาที่ 12 พันลบ. เพิ่มขึ้น 11.5% y-y และ 12% q-q จากรายได้ดอกเบี้ยที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้น ถึงแม้จะคาดว่าในไตรมาสนี้ KBANK จะยังคงมีสินเชื่อหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนก็ตาม
- ลุ้น Fund flow ช่วยหนุน: สัญญาณการขายของนักลงทุนต่างชาติเริ่มชะลอลง สะท้อนจากสัปดาห์ที่ผ่านมาที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเพียง 2 ใน 5 วัน จาก 4 ใน 5 วันในสัปดาห์ก่อนหน้า (วันที่ 19-23 มิ.ย.) กอปรกับ KBANK เริ่มเห็นสัญญาณการไหลเข้าของ NVDR
SC BUY
- เป้าหมาย 4.60 / 4.76 แนวรับ 4.32 / 4.40
- เริ่มเห็นตลาดฯผ่อนคลาย: หุ้นอสังหาฯ เริ่มกลับมาน่าสนใจ แม้ยังไม่ชัดเจนแต่เริ่มเห็นถึงทิศทาง ของการมีพรรครัฐบาลมากขึ้น ทำให้ตลาดฯผ่อนคลายความกดดันเรื่องค่าแรงลงกว่าแต่ก่อน, SC มีฐานลูกค้าส่วนใหญ่เป็นบ้านระดับราคาสูง จะทำให้สามารถผลักภาระต้นทุนได้ง่าย
- คาดทำได้ตามเป้า: 2Q66 เปิดตัวทั้งแนวราบและแนวสูง มูลค่ากว่า 16,300 ลบ. คาด presale เติบโต q-q มอง 1H66 ยังทำได้ตามเป้าที่ 10,000 ลบ. และเริ่มเห็นความต้องการบ้านในไซต์ M และ L กลับมา