สรุปภาวะตลาด

วันจันทร์ที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในช่วงแคบ ดัชนีพักตัวหลังจากการปรับตัวขึ้นใน 2 วันทำการก่อนหน้า เนื่องจากนักลงทุนติดตามผลการโหวตเลือกประธานสภา ในวันที่ 4 ก.ค. นี้ แรงซื้อ-ขาย กระจายตัวในหลายกลุ่มหลักทรัพย์ ยังไม่มีทิศทางที่แน่นอน ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,506.84 จุด +3.74 จุด +0.25% มูลค่าการซื้อขาย 32,732 ลบ. ต่างชาติ -1,948.97 ลบ. TFEX -14,014 สัญญา ตราสารหนี้ +9,101.20 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 10.87 จุด +0.03% ท่ามกลางวอลุ่มการซื้อขายที่เบาบาง เนื่องจากตลาดมีการซื้อขายเพียงครึ่งวัน ก่อนที่จะปิดทำการในวันอังคารที่ 4 ก.ค. เนื่องในวันชาติสหรัฐ

+ เกาหลีใต้รายงานดัชนี CPI เดือนมิ.ย. ปรับตัวขึ้น 2.7%YoY ซึ่งชะลอตัวลงจากระดับ 3.3% ในเดือนพ.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของรอยเตอร์คาดการณ์ไว้ที่ 2.85% ชะลอตัวลง

+ สมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA) รายงานผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยครึ่งปีหลังมีโอกาสฟื้นตัว คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 1,454 – 1,643 จุด โดยปัจจัยที่มีผลต่อตลาดหุ้นมากที่สุดคือเศรษฐกิจภายในประเทศ ปัจจัยลบคือเศรษฐกิจยุโรป และทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐ

+/- พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย ตกลงร่วมกันเสนอชื่อ นาย วันมูหะหมัดนอร์ มะทา เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยยังต้องการโหวดนายกฯ

ปัจจัยลบ-

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 85 เซนต์ -1.20% ปิดที่ 69.79 ดอลลาร์/บาร์เรล กังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก และความเป็นไปได้ที่ FED จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งได้บดบังปัจจัยบวกจากการที่ซาอุดีอาระเบียและรัสเซียปรับลดอุปทานน้ำมัน

– สหรัฐ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของปรับตัวลงสู่ระดับ 46.3 ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 48.4 ในเดือนพ.ค.

– สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 46.0 ในเดือนมิ.ย. ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2563 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 47.0 จากระดับ 46.9 ในเดือนพ.ค.

– สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เปิดเผยว่า ชาวยูเครนมากกว่า 6.3 ล้านคนต้องกลายเป็นผู้อพยพ โดยต้องเดินทางออกนอกประเทศนับตั้งแต่ที่รัสเซียส่งกำลังทหารบุกโจมตียูเครนในวันที่ 24 ก.พ. 2565

– คนสนิทของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ระบุว่า รัสเซียมีความมุ่งมั่นที่จะขัดขวางยูเครนจากการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) และสงครามยูเครนอาจยาวนานหลายทศวรรษ

– ธปท.รับลูกหนี้โควิดที่เคยได้รับความช่วยเหลือไปไม่รอดเมื่อ มาตรการจบกลับมาขาดส่ง และเป็น NPL รอบใหม่ จับตาแก้ปัญหาลูกหนี้บัตรเครดิต ช่วงเพิ่มวงเงินขั้นต่ำกลับมาสู่เกณฑ์ปกติ

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาสแกว่งตัวในลักษณะ Sideway ออกข้าง โดยนักลงทุนจับตาการประชุมสภาฯ นัดแรก เพื่อเลือกประธานสภาฯ และรองประธานสภาฯ คนที่ 1 และรองประธานสภาฯ คนที่ 2 วันนี้ มองกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,495-1,520 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • สินค้าส่งออกเดือน พ.ค. ที่ยังขยายตัวได้ดี : SNC AH SAT HANA KCE PDJ
  • ค่าระวางเรือขึ้นจากคลองปานามา หุ้นได้ประโยชน์ PSL TTA RCL
  • 5 หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BBL CPALL SCB

หุ้นรายงานพิเศษ

IRC (ซื้อ ราคาเหมาะสม 15.00) รายงานกำไรตามคาด

  • รายงานกำไร 2Q66 (ม.ค.-มี.ค.66) ที่ 61 ลบ. -5%YoY แต่เติบโต 288%QoQ และรายงานรายได้ 1.46 พันลบ. -1%QoQ และ -8%YoY จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวขึ้นจาก 6% ในไตรมาสก่อนสู่ 10% เนื่องจากต้นทุน Chemical และ Polymer ปรับตัวลงจากต้นทุนสินค้าคงคลังที่ราคาสูงเริ่มหมดลง และราคาน้ำมันทรงตัวในระดับต่ำ
  • ความเห็น เราประมาณการกำไรปี 66 ที่ 192 ลบ. +75%YoY และกำไร 6M66 คิดเป็น 40% ของประมาณการ แต่เรามีมุมมองบวกต่อผลประกอบการ 3Q66-4Q66 (เม.ย.-ก.ย.66) เนื่องจากคาดว่าปริมาณขายรถยนต์จะเติบโตสูง 1.91 ล้านคันเติบโต 6%YoY ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นจะค่อยปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากสินค้าคงคลังที่ต้นทุนสูงเริ่มหมดลง และนโยบายรัฐบาลใหม่จะปรับลดค่าไฟฟ้าช่วยหนุนกำไรเพิ่มเติม เราจึงแนะนำ “ซื้อ”

หุ้นมีข่าว

(+) AS (Bloomberg consensus – บาท) AS ผนึก “บิทคับ” ยกทัพแถลงข่าวสัปดาห์นี้ หลัง AS เข้าซื้อหุ้นบิทคับออนไลน์ 10% มูลค่า 600 ล้านบาท ชูอนาคตจากนี้รุกหลายรูปแบบทั้งเกมและเอสเอ็มอี เป็นจังหวะที่ตลาดเหรียญดิจิทัลจะกลับมาบูม แย้มมีดีลเตรียมเข้ามา ด้าน SABUY ประกาศไฟเขียวให้ AS ซื้อบิทคับ กูรูรับปีหน้าคริปโทกลับมาบูม แต่หวั่นคู่แข่ง (ที่มา ทันหุ้น)

(+) CENTEL (Bloomberg consensus 60.00 บาท) มั่นใจอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโตแกร่ง แม้โค้งสอง-สาม เข้าสู่ช่วงโลว์ซีซันแต่อัตราเข้าพักยังสูงเฉลี่ยแตะ 65% เดินหน้าเปิด “เซ็นทาราแกรนด์ โอซาก้า” ปลื้มยอดเข้าพักเดือนแรกพุ่งแตะ 50% มั่นใจทั้งปี 2566 แตะ 72% ธุรกิจอาหารยอดขายต่อสาขาฟื้นต่อเนื่อง รักษาศักยภาพทำกำไร (ที่มา ทันหุ้น)

(+) PLANB (Bloomberg consensus 9.50 บาท) มองธุรกิจครึ่งปีแรกฉลุย ลูกค้าทำการตลาดต่อเนื่อง ดันยอดใช้พื้นที่สื่อยืนเหนือ 67-68% สูงกว่า ขณะที่ครึ่งปีหลังยังต้องจับตาการเมืองต่อไป พร้อมกางแผนรุกเพิ่มจอสื่อในสนามบิน ยิ้ม กีฬามวยกระแสดีเกินคาด มั่นใจผลงานได้ตามเป้าหมาย 7.2-7.5 พันล้านบาท ไม่ได้รับผลกระทบจากการเสียสิทธิ์ ถ่ายทอดสดให้กับ FAT! (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SIRI (Bloomberg consensus 2.16 บาท) เผยผลงานครึ่งปีแรก 2566 บุกยอดขาย 25,000 ล้านบาท โต 37% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขาย 18,300 ล้านบาท ชูโครงการแนวราบ-คอนโด ผลตอบรับดี พร้อมลุยครึ่งปีหลัง 2566 รุกบ้านเดี่ยวแบรนด์เศรษฐสิริอย่างต่อเนื่อง เตรียมเพิ่มอีก 10 โครงการ มูลค่ารวม 21,900 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 4 ก.ค. การประชุมสภาฯ สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 1 เพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
    • สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออก) แถลงสถานการณ์การส่งออก
  • 5 ก.ค. กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีเศรษฐกิจการค้า
  • 6 ก.ค. สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย แถลงสรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย ไตรมาสที่ 2/66
  • สัปดาห์ที่ 2 หอการค้าไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สภาธุรกิจตลาดทุนไทย แถลงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและอัพเดตสถานการณ์ลงทุน
    • ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย (ตลท.) แถลงข้อมูลสรุปภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์
  • สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ, การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน
    • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดผลิตและส่งออกรถยนต์
    • สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
  • 31 ก.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 5 ก.ค. จีน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมิ.ย. จากไฉซิน
    • อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือน มิ.ย.จากฮัมบูร์ก คอมเมอร์เชียล แบงก์ (HCOB) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค.
    • สหรัฐ รายงานยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนพ.ค.
  • (เช้าวันที่ 6 ก.ค.) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลาง สหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย.
  • 6 ก.ค. สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนมิ.ย.จาก ADP จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนพ.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้าย เดือนมิ.ย.จากเอสแอนด์พี โกลบอล ดัชนีภาคบริการเดือนมิ.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนพ.ค. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
  • 7 ก.ค. สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย.
  • 10 ก.ค. จีน รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิ.ย. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.ย.
- Advertisement -