KS Daily View 18.07.2023 >>> คาด SET ปรับตัวขึ้นตอบรับการเมืองไม่ยืดเยื้อ ประเมินกรอบซื้อขายวันนี้ 1,520-25/1,540 หุ้นแนะนำวันนี้ VGI BBL
สรุปภาวะตลาดเมื่อวานนี้
ต่างประเทศ : ดัชนี DJIA +0.22%, S&P 500 +0.39%, NASDAQ +0.93% โดย Sector ที่ outperform ใน S&P500 ได้แก่ Information technology (+1.33%), Financial (+1.00%), Industrials (+0.42%) ส่วน Real Estate (-0.83%), Communiction services (-0.65%), Health care (-0.43%)
ในประเทศ: SET Index +10.85 pts. หรือ +0.71% ปิดที่ 1,528.77 จุด ตัวขับเคลื่อนหลักสำคัญคือ CPAXT (+4.48%), DELTA (+0.97%), BDMS (+2.70%), AOT (+1.07%) ส่วน PTT (-1.43%), PTTEP (-2.21%), PTTGC (-4.94%), IVL (-2.84%)
แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ:
แนวโน้มตลาดหลักเป็นบวกหลังดัชนียืนเหนือระดับ 1,500 จุดได้ชัดเจน โดยตลาดมองโหวตนายกรอบ 2 วันพุธนี้พิธายังไม่น่าได้รับเสียงในสภาเพียงพอ ขณะที่พรรคเพื่อไทยมีโอกาสได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ทำให้การเลือกนายกอาจไม่ได้ยืดเยื้อนานอย่างที่กังวล อีกทั้งหากได้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำนักลงทุนในตลาดมองว่านโยบายสนับสนุนกับตลาดทุนมากกว่า มองกรอบซื้อขายวันนี้ที่ 1,520-25/1,540 จุด
ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:
1.) ตลาดตอบสนองเชิงบวกวานนี้หลังพิธาเผยหากไม่สามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้พร้อมหลีกทางให้พรรคอันดับ 2 หรือเพื่อไทยในการเป็นแกนนำ สอดคล้องกับทางด้านเศรษฐา ทวีสิน ที่ลั่นพร้อมเป็นนายกหากพิธาไม่ผ่านการโหวตรอบ 2 ทั้งนี้สถานการณ์ชัดเจนว่าโหวตรอบ 2 ดูทรงแล้วพิธาก็ยังยากที่จะได้รับเสียงโหวตพอนั่งนายกหลัง ส.ว. สมชาย แสวงการ เผยว่านัดหารือวิป 3 ฝ่ายวันนี้ทางส.ว.จะแจ้งความเห็นทางกฏหมายว่าญัตติเสนอซ้ำไม่ได้ หากดำเนินการเกรงว่าจะขัดต่อกฏหมาย ดังนั้นมีโอกาสที่จะมีส.ว. นำข้ออ้างนี้มาใช้ในการไม่โหวตให้หรืองดออกเสียงเพื่อไม่ต้องการมีส่วนร่วมต่อการดำเนินการที่อาจขัดต่อกฏหมาย แต่อย่างไรก็ดีประเด็นเรื่องการเมืองก็ยังคงมีความไม่แน่นอนสูงว่าเพื่อไทยจะได้รับการสนับสนุนจากส.ว. เนื่องจาก ส.ว. เสรี สุวรรณภานนท์ กล่าวหากไม่สามารถเลือกนายกได้หรือไม่มีทางออกสามารถใช้เสียง 2 ใน 3 เพื่อเลือกนายกคนนอกต่อไป
2.) หลังจากทางกกต. ส่งเรื่องกรณีพิธาถือหุ้น itv ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 12 ก.ค. ล่าสุดทางศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่วาระการประชุมวันที่ 19 ก.ค. ช่วงเช้า 9:30 วาระที่ 4 มีการเสนอเพื่อพิจารณา เรื่องคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่าสมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธา สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับช่วงที่ทางรัฐสภาจะมีการโหวตนายกรอบ 2 พอดี
3.) จีนรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญอ่อนแอกว่าที่ตลาดประเมิน โดยทั้งในส่วนของ GDP ไตรมาส 2/2566 ที่รายงาน 6.3% แม้สูงขึ้นกว่าไตรมาสที่แล้วที่ 4.5% แต่อ่อนแอกว่าที่ตลาดมองไว้ที่ 7.1% กอปรกับตัวเลขยอดค้าปลีก retail sales ของจีน เดือน มิ.ย. ที่ขยายตัวเพียง 3.1% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดมอง 3.4% YoY และต่ำกว่าเดือนที่แล้วที่ 12.7% YoY ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของจีนออกมาอ่อนแอกดดันให้หุ้นในกลุ่ม China link ปรับตัวลดลงแรง อย่างไรก็ดีด้วยโมเมนตั้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีนตลาดมองว่าทางการจีนน่าจะมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วๆนี้
4.) สหรัฐฯรายงานตัวเลขภาคการผลิต Empire State manufacturing index ปรับตัวดีขึ้นในเดือนก.ค. ที่ 1.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 6.6 แต่ดีกว่าที่ตลาดมองไว้ที่ -3.5 ดัชนีนี้มีความสำคัญเนื่องจากมีความเชื่อมโยงระดับสูงกับดัชนีภาคการผลิต PMI รวม แม้ข้อมูลยังมีความผันผวนแต่ก็สะท้อนว่าวัฏจักรการปรับตัวลงของภาคการผลิตในสหรัฐฯอาจอยู่ช่วงท้ายของวัฏจักรแล้ว
Theme การลงทุนสัปดาห์นี้
ประเมินตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบ 1,500 – 1,535 จุด ทั้งนี้ประเมินว่าตลาดจะแกว่งตัวขึ้นต่อได้จาก USD อ่อนค่าหนุน flow ไหลกลับเข้าลงทุนใน Emerging market และเก็งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของจีน ขณะที่ปัจจัยการเมืองในประเทศนักลงทุนเลือกให้น้ำหนักถึงโอกาสที่จะได้รัฐบาลที่มีนโยบายเป็นมิตรกับตลาดทุนมากกว่าที่จะกลัวความเสี่ยงกรณีเกิดความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาล หรือเกิดการประท้วงหากได้รัฐบาลที่ไม่เป็นไปตามผลการเลือกตั้ง โดย Key highlight อยู่ที่วันพุธที่ 19 ก.ค. ที่จะมีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 และการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เพื่อตัดอำนาจ ส.ว.โหวตนายกรัฐมนตรี
หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:
VGI (ราคาพื้นฐาน 3.58 บาท) ผลประกอบการคาดพลิกกลับมามีกำไรในปีนี้และมีแนวโน้มเติบโตฟื้นแรงต่อเนื่อง ขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวลงมามากจน upside เปิด และราคายังค่อนข้าง laggard เมื่อเทียบกับตลาด โดยด้าน valuation เรามองว่าเริ่มน่าสนใจเนื่องจากเทรดที่ PB ต่ำเพียงราว 1.1x เทียบ PB เฉลี่ยระยะยาวของบริษัทอยู่ที่ราว 3-4x
BBL (ราคาพื้นฐาน 182.5 บาท) มอง BBL เป็นหุ้นธนาคารใหญ่ที่ได้อานิสงค์เชิงบวกจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเนื่องจากพอร์ตสินเชื่อส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อธุรกิจประเภทดอกเบี้ยลอยตัว อีกทั้งกลุ่มลูกค้าหลักเป็นบรรษัทขนาดใหญ่จึงมีความเสี่ยงเรื่องคุณภาพสินทรัพย์น้อยกว่ากลุ่ม โดยเราประเมินผลประกอบการ BBL จะปรับตัวดีขึ้นได้สูงที่สุดในกลุ่มทั้งแง่ของ QoQ และ YoY ในไตรมาส 2/2566 จาก NIM ที่ดีขึ้นและ credit cost ที่มีเสถียรภาพ ล่าสุดมีข่าวเชิงบวกหลังธนาคารร่วมปล่อยสินเชื่อโครงการรถไฟฟ้า 2 สาย มูลค่ารวม 1.78 หมื่นล้านบาท ผู้บริหารเชื่อพอร์ตสินเชื่อเติบโตได้ตามเป้า
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันอังคาร ติดตามตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ (Retail sales) ของเดือน มิ.ย. ตลาดคาดรายงานที่ 0.5% MoM เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 0.3% MoM, ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial production) ตลาดตาดที่ -0.10% MoM เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -0.20% MoM และตัวเลขการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization Rate) ตลาดคาดที่ 79.5% เทียบกับ 79.6% เดือนก่อนหน้า ขณะที่ไทยมีกำหนดประกาศตัวเลขยอดขายรถ (Auto sales) เดือน มิ.ย. ในช่วงวันที่ 18-24 มิ.ย.
- วันพุธ ติตตามตัวเลขเงินเฟ้อของอังกฤษ (CPI) ของเดือน มิ.ย. ตลาดคาดที่ 8.3% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 8.7% YoY และตัวเลขเงินเฟ้อของยุโรปของเดือน มิ.ย.ที่ 5.5% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 6.1% YoY ต่อด้วยตัวเลขด้านภาคอสังหาฯจากฝั่งสหรัฐช่วงข้ามคืนมีกำหนดประกาศตัวเลขขออนุญาตก่อสร้าง (building permits) ตลาดคาดที่ 1.495m เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 1.496m และตัวเลขสร้างบ้านใหม่ (Housing starts) ตลาดคาดที่ 1.45m เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 1.63m
- วันพฤหัสฯ ติดตามตัวเลขส่งออกของญี่ปุ่นเดือนมิ.ย.ที่กำหนดประกาศในช่วงเช้า โดยตลาดคาดประกาศที่ 2.2% YoY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 0.6% YoY ต่อด้วยช่วงข้ามคืนในส่วนของตัวเลขภาคการผลิตระดับรัฐของสหรัฐฯ Philly Fed เดือน มิ.ย. ตลาดคาดที่ -9.7 จุด เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -13.7 จุด และยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯ (Existing home sales) เดือน มิ.ย. ตลาดคาดที่ 4.23m เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 4.3m
- วันศุกร์ ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อ CPI ของญี่ปุ่น เดือน มิ.ย. ตลาดคาดที่ 3.1% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 3.2% YoY และ Core CPI ตลาดคาดที่ 3.2% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 3.2% YoY