KS Daily View 24.07.2023 >>> มอง SET ตอบรับเชิงบวก หลังมีแนวโน้มเพื่อไทยมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลและโหวตนายกผ่าน ประเมินกรอบซื้อขายวันนี้ 1,525/1,545 หุ้นแนะนำวันนี้ GULF CK

สรุปภาวะตลาดเมื่อวานนี้

ต่างประเทศ : ดัชนี DJIA +0.01%, S&P 500 +0.03%, NASDAQ -0.22% โดย Sector ที่ outperform ใน S&P500 ได้แก่ Health care (+1.01%), Energy (+0.81%), Consumer staples (+0.34%) ขณะที่ Communication services (-0.50%), Industrials (-0.46%), Financials (-0.34%)

ในประเทศ: SET Index +8.07 pts. หรือ +0.53% ปิดที่ 1,529.25 จุด ตัวขับเคลื่อนหลักสำคัญคือ PTT (+2.21%), AOT (+1.77%), PTTEP (+1.61%), CPALL (+1.20%) ขณะที่ KBANK (-3.37%), BAY (-1.57%), JTS (-12.82%), AWC (1.35%)

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ:

มองดัชนีแกว่งตัวขึ้นตอบรับกระแสเชิงบวกแนวโน้มพรรคเพื่อไทยเจรจาหาพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลเพิ่มได้สำเร็จหลังได้พบปะพูดคุยกับหลายพรรคการเมืองเพื่อปรึกษาหารือในการร่วมมือกันหาทางออกให้กับประเทศช่วงสุดสัปดาห์ มองกรอบซื้อขายวันนี้ที่ 1,525/1,545 จุด

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

1.) สำนักข่าวรายงานพรรคเพื่อไทยได้พบปะพูดคุยกับหลายพรรคการเมืองเพื่อปรึกษาหารือในการร่วมมือกันหาทางออกให้กับประเทศโดยเริ่มจาก พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติพัฒนากล้า พรรครวมไทยสร้างชาติ ต่อด้วย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคพลังประชารัฐ อย่างไรก็ดี แนวทางค่อนข้างชัดเจนว่าทุกพรรคไม่ต้องการแก้มาตร 112 และมองไม่สามารถเข้าร่วมกับพรรคก้าวไกลได้เนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน ทั้งนี้พรรคเพื่อไทยจะหารือกับ 8 พรรคร่วมอีกครั้งในวันที่ 25 ก.ค. ช่วงบ่าย เพื่อพูดคุยแล้วจะมีการแถลงทิศทางการจัดตั้งรัฐบาลก่อนที่จะมีกำหนดโหวตนายกอีกครั้งในวันที่ 27 ก.ค.นี้

2.) กลุ่มธนาคารประกาศผลประกอบการรวมสำหรับไตรมาส 2/2566 เติบโดแรง 17% YoY และรอบผลประกอบการครึ่งปีแรกโตแล้ว 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดย LHFG เติบโตสูงสุด 61% ตามด้วย BBL เติบโต 52% และ TTB เติบโต 34% ขณะที่ CIMBT และ KKP ผลประกอบการหดตัวลง 35% และ 14% ตามลำดับ

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้

ประเมินตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบ 1,525 – 1,555 จุด ทั้งนี้ประเมินกว่าตลาดจะแกว่งตัวขึ้นต่อได้จากโอกาสที่ดอกเบี้ยโลกกำลังจะถึงจุดสูงสุดบนแนวโน้มเงินเฟ้อชะลอตัว และคาดจีนจะทยอยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง ขณะที่ปัจจัยการเมืองในประเทศนักลงทุนเลือกให้น้ำหนักถึงโอกาสที่จะได้รัฐบาลที่มีนโยบายเป็นมิตรกับตลาดทุนมากกว่าที่จะกลัวความเสี่ยงกรณีเกิดความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาล โดย Key highlight สัปดาห์นี้จะอยู่ที่การประชุม FOMC คืนวันพุธ, การโหวตเลือกนายกในวันพฤหัสฯ รวมถึงการประชุม ECB วันพฤหัสฯ และ BOJ วันศุกร์ สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ต้องติดตามในสัปดาห์หน้าได้แก่ ตัวเลขส่งออกเดือน มิ.ย., ตัวเลขรายได้ภาคเกษตร และตัวเลขเศรษฐกิจเดือน มิ.ย. ของ ธปท.

หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:

  • GULF (ราคาพื้นฐาน 57.0 บาท) เราคาดผลประกอบการบริษัทจะเติบโตสูงต่อเนื่องที่ราว 20% ปีนี้ 2023 และมากกว่า 40% ในปี 2024 และ 2025 ขณะที่ราคาหุ้นถูกกดดันเชิง sentiment จากปัจจัยทางการเมืองตั้งแต่ต้นปีทำให้ valuation เปิดจนมีความน่าสนใจ เราชอบ GULF ด้วยความเป็นหุ้นเติบโตสูง กอปรกับรายได้และผลประกอบการผันผวนต่ำ อีกทั้งมีส่วนต่างราคาให้เข้าลงทุน
  • CK (ราคาพื้นฐาน 33.5 บาท) มองผลประกอบการบริษัทมีแนวโน้มเติบโตสูง โดยเราคาดกำไรเติบโต 37% ปีนี้และ 88% ปีหน้า ทั้งนี้เราประเมินบริษัทจะมี backlog งานในมือสูงสุดเป็นประวัติการณ์มากกว่า 2 แสนล้านบาท ณ สิ้นปีนี้ สูงกว่าระดับสูงสุดเดิมเมื่อปี 2555 ที่ 1.18 แสนล้านบาท

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์ ติดตามตัวเลขดัชนีภาคการผลิตเบื้องต้นของยุโรป (Prelim PMI) ของเดือน ก.ค. ตลาดคาดปรับตัวดีขึ้นที่ 43.6 จุด เทียบกับที่เดือนที่แล้วที่ 43.3 จุด ขณะที่ในส่วนของไทยกระทรวงพาณิชย์มีกำหนดแถลงตัวเลขส่งออกของเดือน มิ.ย. ระหว่างวันที่ 23-28 ก.ค. ตลาดคาดลดลง 6.25% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่หดตัว 4.6% YoY
  • วันอังคาร ติดตามตัวเลขรายได้ภาคการเกษตรของไทย (Farm income) ที่มีกำหนดจะแถลงข่าว ขณะที่ช่วงข้ามคืนมีสหรัฐฯมีกำหนดประกาศตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CB consumer confidence) ตลาดคาดปรับตัวดีขึ้นจาก 109.7 เป็น 112
  • วันพุธ ธปท.มีกำหนดแถลงข่าวตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนประจำเดือน พ.ค. ระหว่างวันที่ 26-27 ก.ค. และกระทรวงอุตสาหกรรมประกาศตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ตลาดคาดหดตัวต่อ 3.25% YoY เทียบจากเดือนก่อนหน้าที่ลดลง 3.14% YoY ช่วงข้ามคืนติดตามผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ FOMC ตลาดคาด Fed ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นจาก 5.00% เป็น 5.25%
  • วันพฤหัสฯ ติดตามผลโหวตนายกครั้งที่ 3 ของไทย และผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป ECB ตลาดคาดปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นจาก 4.00% เป็น 4.25% ต่อด้วยตัวเลข GDP สำหรับไตรมาส 2/2566 ของสหรัฐฯคาดชะลอตัวลงเหลือ 1.8% เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ 2.0%
  • วันศุกร์ ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น BOJ ตลาดคาดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ -0.10% ช่วงข้ามคืนมีประกาศตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ PCE ตลาดคาดปรับตัวลดลงเหลือ 3.1% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 3.8% YoY และ ตัวเลขดัชนีต้นทุนการจ้างงาน (Employment cost index) ตลาดคาดปรับตัวลดลงเหลือ 1.1% เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 1.2%
- Advertisement -