บล.พาย:

MINT – MINT International กำไรฟื้นตัวดีมากจากช่วง low season

เราคาดว่ากำไรจะขึ้นมายืนเหนือช่วงก่อน COVID-19 อีกครั้งในไตรมาส 2/23 หลังจากเผชิญกับช่วง low season มาในช่วงต้นปี ขณะที่คาดถึงอุปสงค์ที่ฟื้นตัวเต็มที่ในธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจในยุโรป บวกกับอานิสงส์จากการปรับปรุงแบรนด์ และการขยายสาขาร้านอาหารโดยเฉพาะในไทย เราประเมินว่าค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน (OPEX) จะอยู่ในกรอบที่จัดการได้ เพราะต้นทุนสาธารณูปโภคยังต่ำอยู่ ขณะที่มองว่าต้นทุนอาหารได้พ้นยอดสูงไปแล้ว เราคาดว่าทิศทางกำไรครึ่งหลังปี 2023 จะกลับมาเร่งตัวขึ้นในช่วง high season ของยุโรป ไทย และโอเชียเนีย ซึ่งจะช่วยชดเชยขาลงของมัลดีฟส์ได้ทั้งหมด ปัจจุบัน MINT ยังซื้อขายกันที่ส่วนลดต่อค่าเฉลี่ยของกลุ่ม (ไม่รวม AWC) ที่ 29.2XPE’23E ขณะที่บริษัทมีแผนการขยายกิจการเชิงรุกในครอบ 3 ปี เราจึงคงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 42 บาท แม้หุ้นยังมี downside risk จากความเสี่ยงที่เศรษฐกิจยุโรปอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่ก็เป็น downside ในวงแคบเท่านั้น

คาดกำไรไตรมาส 2/23 ฟื้นตัวแข็งแกร่งจาก low season

  • เราคาดว่ากำไรปกติจะอยู่ที่ 3.0 พันล้านบาท (+150%YoY พลิกฟื้นจากขาดทุน 647 ล้านบาทในไตรมาส 1/23) ที่โตแข็งแกร่ง เพราะรายได้ธุรกิจโรงแรมที่คาดว่าจะแตะจุดสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 3.0 หมื่นล้านบาท  อานิสงส์จากพอร์ตโรงแรมในยุโรป ภายใต้กลุ่ม NH Hotel (NHH) ที่มีผลงานดี ด้วยคาดการณ์ว่าอัตรารายได้เฉลี่ยต่อห้องพักต่อคืน (RevPar) จะโต 25% YoY และ 61% QoQ และยังยืนเหนือค่าเฉลี่ยไตรมาส 2/19 อยู่ 35% ขณะที่ประเมินว่าอัตราการเข้าพักจะเต็มอัตราอย่างรวดเร็วในช่วงต้น high season สะท้อนผ่านอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืน (ADR) ที่คาดว่าจะยังยืนเหนือไตรมาส 2/19 ที่ EUR152/คืน (+17%YoY) ได้ราว 38% ด้าน RevPar ในโรงแรมไทยคาดว่าจะหดตัว 30%QoQ เพราะเป็นช่วง low season แต่จะยังสูงกว่า ไตรมาส 2/19 อยู่ 4% หนุนจากการปรับเพิ่ม ADR ในช่วงหลัง เรามองว่ากำไรที่ยอดเยี่ยมของ NHH (รายงานกำไรปกติที่ EUR78m) จะช่วยชดเชยผลกระทบจากช่วง low season ในไทย โอเชียเนีย และมัลดีฟส์ได้ทั้งหมด ในกรณีของมัลดีฟส์นั้นถูกซ้ำเติมด้วยราคาตั๋วโดยสารที่พุ่งขึ้น และขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดที่ลดลงเพราะการกลับมาเปิดประเทศของที่อื่น ทั้งนี้ คาดว่า EBITDA margin ของธุรกิจโรงแรมจะโตแตะยอดสูงรอบ 6 ไตรมาสที่ 34.0%
  • คาดว่ารายได้ธุรกิจอาหารจะลดลง QoQ เป็น 7.2 พันล้านบาท ฉุดจาก low season แต่น่าจะโตได้ 18%YoY เพราะคาดถึงการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ที่แข็งแกร่งต่อเนื่องระดับ 8.8% เทียบ 7.8% และ 11.4% ในไตรมาส 2/22 และ 1/23 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญมาจากการบริโภคในประเทศที่ค่อยๆ ฟื้นตัว หลังจากกลับมาเปิดเมืองเต็มรูปแบบ และอานิสงส์จากการปรับปรุงแบรนด์บางส่วน ด้าน EBITDA margin ในธุรกิจอาหารคาดว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่อง QoQ และ YoY เป็น 22.1% เทียบ 17.0% ในไตรมาส 2/22 และ 21.8% ในไตรมาส 1/23 หนุนจากจาก 1) ต้นทุนอาหารและค่าสาธารณูปโภคที่เริ่มลดลง 2) ส่วนแบ่งรายได้ที่สูงขึ้นจากการทานอาหารภายในอาคาร และ 3) กิจการในจีนที่ฟื้นตัวหลังช่วงล็อกดาวน์ ซึ่งคาดว่าจะมี SSSG ที่ +40%

คาดกำไรครึ่งปีหลังจะกลับมาเร่งตัวขึ้น

ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง และราคาตั๋วโดยสารไปยุโรปที่กลับสู่ระดับปกติ น่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อผลงานธุรกิจโรงแรมในยุโรป ซึ่งคาดว่าจะช่วยรักษา ADR ไว้ในกรอบสูงที่ราว EUR150/คืน ไปจนถึงช่วงต้นไตรมาส 4/23 ได้ ขณะที่บริษัทยังไม่เห็นสัญญาณความอ่อนไหวต่อราคาและการชะลอตัวในภาคท่องเที่ยวแต่อย่างใด เรา คาดว่าความเสี่ยงที่เศรษฐกิจยุโรปอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยจะก่อให้เกิด downside ต่อกิจการของ MINT ไม่มาก เพราะนักท่องเที่ยวในโซนนี้ที่คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 80% ของจำนวนแขกทั้งหมดใน NHH มักเลือกท่องเที่ยวภายในภูมิภาคและลดค่าใช้จ่ายในการ เที่ยวต่างประเทศที่ต้องบินไกลมากกว่า

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 42 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC 8.0%) ปัจจุบัน MINT มีมูลค่าซื้อขายที่น่าดึงดูด (29.2xPE’23E เทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มโรงแรมที่เราวิเคราะห์อยู่ที่ 32.1xPE’23E) คาดว่ากำไรของบริษัทจะยังแข็งแกร่งกว่าคู่แข่ง เพราะมีพอร์ตที่กระจายความเสี่ยงตามภูมิภาคต่างๆ ที่ดีกว่า ทั้งในแง่ของที่ตั้งและขนาดของกิจการ ซึ่งมองว่าจะนำไปสู่ความประหยัดต่อขนาด (economies of scale) ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม

Preview summary

  • เราคาดว่ากําไรปกติจะอยู่ที่ 3.0 พันล้านบาท (+120%YoY พลิกฟื้นจากขาดทุน 647 ล้านบาทในไตรมาส 1/23) ที่โตแข็งแกร่ง เพราะรายได้ธุรกิจโรงแรมที่คาดว่าจะแตะจุดสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 3.0 หมื่นล้านบาท อานิสงส์จากพอร์ตโรงแรมในยุโรปภายใต้กลุ่ม NH Hotel (NHH) ที่มีผลงานดี ด้วยคาดการณ์ว่าอัตรารายได้เฉลี่ยต่อห้องพักต่อคืน (RevPar) จะโต 25% YoY และ 61% QoQ และยังยืนเหนือค่าเฉลี่ยไตรมาส 2/19 อยู่ 35% ขณะที่ประเมินว่าอัตราการเข้าพักจะเต็มอัตราอย่างรวดเร็วในช่วงต้น high season สะท้อนผ่านอัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืน (ADR) ที่คาดว่าจะยังยืนเหนือไตรมาส 2/19 ที่ EUR152/คืน (+17%YoY) ได้ราว 38% ด้าน RevPar ในโรงแรมไทย คาดว่าจะหดตัว 30%QoQ เพราะเป็นช่วง low season แต่จะยังสูงกว่าไตรมาส 2/19 อยู่ 4% หนุนจากการปรับเพิ่ม ADR ในช่วงหลัง เรามองว่ากำไรที่ยอดเยี่ยมของ NHH (รายงานกำไรปกติที่ EUR78m) จะช่วยชดเชยผลกระทบจากช่วง low season ในไทย โอเชียเนีย และมัลดีฟส์ได้ทั้งหมด ในกรณีของมัลดีฟส์นั้นถูกซ้ำเติมด้วยราคาตั๋วโดยสารที่พุ่งขึ้นและขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดที่ลดลงเพราะการกลับมาเปิดประเทศของที่อื่น ทั้งนี้ คาดว่า EBITDA margin ของธุรกิจโรงแรมจะโตแตะยอดสูงรอบ 6 ไตรมาสที่ 34.0%
  • คาดว่ารายได้ธุรกิจอาหารจะลดลง QoQ เป็น 7.2 พันล้านบาท ฉุดจาก low season แต่น่าจะโตได้ 18%YoY เพราะคาดถึงการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ที่แข็งแกร่งต่อเนื่องระดับ 8.8% เทียบ 7.8% และ 11.4% ในไตรมาส 2/22 และ 1/23 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญมาจากการบริโภคในประเทศที่ค่อย ๆ ฟื้นตัว หลังจากกลับมาเปิดเมืองเต็มรูปแบบ และอานิสงส์จากการปรับปรุงแบรนด์บางส่วน ด้าน EBITDA margin ในธุรกิจอาหารคาดว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่อง QoQ และ YoY เป็น 22.1% เทียบ 17.0% ในไตรมาส 2/22 และ 21.8% ในไตรมาส 1/23 หนุนจากผลกระทบที่น้อยลงจาก 1) ต้นทุนอาหารและค่าสาธารณูปโภคที่สูงขึ้น 2) ส่วนแบ่งรายได้ที่สูงขึ้นจากการทานอาหารภายในอาคาร และ 3) กิจการในจีนที่ฟื้นตัวหลังช่วงล็อกดาวน์ ซึ่งคาดว่าจะมี SSSG ที่ +40%
  • เราปรับประมาณการกำไรขึ้น 2% และ 0.4% ในปี 2023-2024E สืบเนื่องจากรายได้โรงแรมในยุโรปที่ทำผลประกอบการได้ดีกว่าคาด สะท้อนไปที่ ADR ที่ทำจุดสูงสุดใหม่ ต่อเนื่อง และอัตราการเข้าพักที่ปรับตัวสูงขึ้นเร็วแม้เป็นช่วงแรกของ High season

Revenue breakdown

รายได้ของบริษัทมาจาก 3 ธุรกิจหลัก ดังนี้

  • ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโรงแรม คิดเป็นสัดส่วน 76% ของรายได้ทั้งหมด ปัจจุบันธุรกิจนี้ประกอบด้วย โรงแรม 531 แห่ง จำนวนห้องทั้งหมด 76,996 ห้อง ภายใต้แบรนด์ Anantara, AVANI, TIVOLI, NH Hotel, NH Collection, Nhow และ OAKS
  • ธุรกิจอาหาร คิดเป็นสัดส่วน 22% ของรายได้ทั้งหมด ปัจจุบันธุรกิจนี้ประกอบด้วยร้านอาหาร จำนวน 2,531 สาขา ใน 26 ประเทศทั่วโลก ภายใต้ 10 แบรนด์หลัก ดังนี้ The Pizza Company, Swensens, Sizzler, Dairy Queen, Burger King, The Coffee Club, Thai Express, Jiang Bian Cheng Wai, Benihana และ Bon Chon
  • ธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้า คิดเป็นสัดส่วน 2% ของรายได้ทั้งหมด ปัจจุบันธุรกิจนี้ประกอบด้วยร้านจัดจำหน่ายสินค้า 297 ร้านในไทย ภายใต้แบรนด์ Anello, Esprit, Bossini, Charles & Keith, Etam, OVS และ Redley
- Advertisement -