บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):
SCG Packaging (SCGP.BK/SCGP TB)*
มีแนวโน้มฟื้นตัวได้แข็งแกร่ง
Event
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจจากการประชุมนักวิเคราะห์ 2Q66 และผลประกอบการ 2Q66
Impact
มีความหวังกับพัฒนาการในตลาดจีน รองลงมาคือเวียดนาม
จีนออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ และความเชื่อมั่น ซึ่งเป็นสัญญาณว่าจะมีการนำเข้าบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน เวียดนาม (15% ของยอดขายของ SCGP) ก็มีแนวโน้มสดใสมากที่สุดในบรรดาตลาดอื่นๆ ของ SCGP เนื่องจาก GDP ที่แข็งแกร่งใน 2Q66, การปรับลด VAT เหลือ 8% จาก 10%, การลดดอกเบี้ยหลายรอบ และ upgrade ของผลประกอบการบริษัทต่างๆ อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และ EU อาจจะชะลอลง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ค่อนข้างเป็นไปตามที่ผู้บริหาร SCGP คาดการณ์ ทั้งนี้ SCGP มองว่าอุปสงค์กระดาษบรรจุภัณฑ์ในจีนจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่คาดว่าราคาขายจะทรงตัว นอกจากนี้ SCGP ยังคาดว่าปริมาณยอดขายจะเพิ่มขึ้นใน 2H23 ในขณะที่ต้นทุนน่าจะลดลงอีก นำโดยกระดาษรีไซเคิล (recycled paper หรือ RCP), อัตราค่าระวางขนส่ง และถ่านหิน ดังนั้น เราจึงคาดว่ากำไรหลักใน 3Q66F จะเพิ่มขึ้นทั้ง QoQ และ YoY และไประดับสูงสุดใน 4Q66F นอกจากนี้ SCGP ยังจัดสรรงบ 2.3 หมื่นลบ. ไว้สำหรับซื้อหุ้น 44.48% ใน Fajar จากพันธมิตรของ SCGP โดยคาดว่าดีลนี้อาจจจะเกิดขึ้นในกลางปี 2567 เราคิดว่าดีลนี้จะส่งผลดีกับ SCGP ในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
ผลประกอบการ 2Q66F – กำไรสุทธิดีเกินคาด เพราะกำไรจาก FX แต่กำไรจากธุรกิจหลักเป็นไปตามคาด
กำไรสุทธิ SCGP ใน 2Q66 อยู่ที่ 1.49 พันล้านบาท (-20% YoY, +22% QoQ) ดีกว่าคาดเพราะกำไร FX ในขณะที่กำไรหลักอยู่ที่ 1.44 พันล้านบาท (-25% YoY, +22% QoQ) ทำให้กำไรหลักในงวด 1H66 อยู่ที่ 2.6 พันล้านบาท (-28% YoY) คิดเป็น 44% ของกำไรปี 2566F ของเรา ปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นกำไร QoQ คือ ต้นทุนที่ลดลง (กระดาษรีไซเคิล, ถ่านหิน และค่าระวางขนส่ง) โดยกำไรธุรกิจ fibrous (20% ของยอดขาย) แข็งแกร่งใน 2Q66 จากต้นทุนลดลง และราคาขายเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณขายทรงตัว ส่งผลให้ EBITDA margin เพิ่มเป็น 16.1% (จาก 12.6% ใน 1Q66) โดยบรรจุภัณฑ์อาหาร และ dissolving pulp มีน้ำหนักมากกว่า fibrous paper ที่อ่อนแอลง เพราะการดำเนินงานของ SCGP ยืดหยุ่น นอกจากนี้ EBITDA margin ของธุรกิจ integrated packaging (75% ของยอดขาย) ยังเพิ่มขึ้นเป็น 15% (จาก 14.3% ใน 1Q66) เพราะได้อานิสงส์จากต้นทุนที่ลดลง แม้ว่าปริมาณยอดขายและราคาขายจะลดลงด้วยก็ตาม ส่วนกำไรที่ลดลง YoY เป็นเพราะการแข่งขันที่เข้มข้นเนื่องจากอุตสาหกรรมยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่
Valuation and action
เรายังแนะนำ ซื้อ และขยับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2567F ที่ 46.00 บาท อิง EV/EBITDA ที่ 10x (ค่าเฉลี่ยของคู่แข่งในต่างประเทศ) โดยปัจจัยกระตุ้นจะมาจากความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของผลประกอบการ, risk/reward ที่น่าสนใจ, และกระแสการปรับเพิ่มคำแนะนำ ทั้งนี้ ราคาหุ้นวิ่งขึ้นมาแล้ว 10% ตั้งแต่ที่เราเพิ่มคำแนะนำเมื่อวันที่ 12 ก.ค. แต่ยังอยู่ใกล้กับ -2SD EV/EBITDA เฉลี่ยในอดีต เรามองว่า SCGP มาไกลมากแล้วจากก่อน IPO และนักลงทุนคาดหวังได้กับมูลค่าในระยะยาวของบริษัทในเครือ ทั้งนี้ SCGP จะจ่ายเงินปันผล 0.25 บาท/หุ้น (กำหนดขึ้น XD วันที่ 8 สิงหาคม) คิดเป็นผลตอบแทนที่ 0.6%
Risks ความผันผวนของวัตถุดิบ และต้นทุนพลังงาน, ความเสี่ยงด้อยค่าดีล M&As, และความเสี่ยงของประเทศ