บล.บัวหลวง:
Economics – ธปท.ปรับขึ้นดอกเบี้ย 25bps
เมื่อวานนี้ทางธปท.ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25bps ไปเป็น 2.25% (ตามที่ได้ส่งสัญญาณก่อนหน้า) อิงจากตัวเลขเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยน่าจะพีคแล้ว (แต่ทางธปท.ยังส่งสัญญาณว่ามีโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีก หากตัวเลขเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นอีก)
อัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นสูงสุดเกือบในรอบทศวรรษ
การประชุมกนง.เมื่อวานนี้มีมติเห็นชอบให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 25bps ไปเป็น 2.25% สูงสุดตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งตรงกับที่ตลาดคาด ทั้งนี้อิงจากตัวเลขเงินเฟ้อและเงินเฟ้อพื้นฐานที่ต่ำ เราคาดอัตราดอกเบี้ยที่ 2.25% น่าจะพีคแล้ว แต่ทั้งนี้จากท่าทีของธปท.เมื่อวานนี้แสดงให้เห็นว่ายังมีโอกาสในการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก หากอัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นแรง
ไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยต่อการเติบโตของ GDP…
ธปท.ยังคงเป้าหมายการเติบโตของ GDP ในปีนี้ที่ 3.6% และปี 2567 ที่ 3.8% ซึ่งตากว่าที่เราคาดเล็กน้อยที่ 3.8% สําหรับปีนี้และ 4% สําหรับปีหน้า แม้ว่าจะอยู่ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยสูง แต่ทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการใช้จ่ายยังคงปรับตัวดีขึ้น (โดยได้แรงหนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว) รวมถึงการใช้จ่ายของภาครัฐก็ปรับตัวขึ้นเช่นกัน (แม้การใช้จ่ายของรัฐจะถูกกดดันจากความเสี่ยงของงบประมาณ ปีงบประมาณปี 2567 ที่ล่าช้า ซึ่งควรจะผ่านก่อนที่ปีงบประมาณ 2567 จะเริ่มในวันที่ 1 ตุลาคม 2566)
…แต่ MLR อาจจะปรับตัวขึ้นตามดอกเบี้ย
จากสถิติแสดงให้เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ของธนาคารพาณิชย์ จะปรับตัวขึ้นตามอัตราดอกเบี้ย (Repo Rate) ซึ่งปกติจะปรับตัวช้ากว่าราว 1 เดือนหรือน้อยกว่า สังเกตว่า MLR จะปรับตัวขึ้นในอัตราที่น้อยกว่า Repo Rate ขณะที่อัตราเงินฝากก็มีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นตามเช่นกัน ในสเกลที่มากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ ปัจจัยที่ต้องติดตาม 1) การเติบโตของเศรษฐกิจภูมิภาคและโลกที่อ่อนแอ (ล่าสุดปรัเทศจีนรายงานตัวเลขดัชนี PMI manufacturing ที่ต่ำกว่า 50 เป้นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ตั้งแต่เดือน เม.ย. – ก.ค.) 2) ความล่าช้าของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่อาจจะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 ล่าช้า 3) ราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น อาจจะหนุนอัตราเงินเฟ้อ และ 4) ปรากฏการณ์เอลนีโญที่รุนแรง (ภัยแล้ง อาจจํากัดการเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกและพืชผลอื่นๆ) อาจจะดันให้ราคาอาหารปรับตัวขึ้น ซึ่งอาจหนุนอัตราเงินเฟ้อ