บล.บัวหลวง:
GFPT (GFPT TB/GFPT.BK)
GFPT – มูลค่าหุ้นถูกมาก บวกกับการคาดการณ์ฟื้นตัวในปี 2567
ถึงแม้ว่าวอลุ่มไก่ส่งออกคาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงในไตรมาส 3/66 แต่เรามองว่าเป็นเพียงแค่ปัจจัยลบระยะสั้น และภายใต้การคาดการณ์ว่าวอลุ่มไก่ส่งออกจะกลับมาฟื้นตัวในปี 2567 บวกกับราคาไก่มีชีวิตที่มีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวได้ในช่วงปลายไตรมาส 4/66 และต้นทุนวัตถุดิบที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ต่อเนื่องไปยังปี 2567 เราจึงแนะนำให้นักลงทุน “ทยอยสะสม” หุ้น GFPT ณ ระดับราคาปัจจุบัน มูลค่าหุ้น ณ ปัจจุบันอยู่ในระดับที่ถูกมาก โดยซื้อขายที่ PER ปี 2567 ที่ 8.9 เท่า เทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ 10.9 เท่า
ความคาดหวังต่อวอลุ่มไก่ส่งออกในไตรมาส 3/66 ที่ลดลงจากเดิม-ถือว่าเป็นปัจจัยลบระยะสั้น
การอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วของค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในยุโรป และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในญี่ปุ่นได้ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และมีการชะลอคำสั่งซื้อจากลูกค้ายุโรปและลูกค้า ญี่ปุ่นออกไปจากเดิม นอกจากนี้ กำลังซื้อในยุโรปที่อ่อนแอลงได้ส่งผลให้มีการต่อรองราคาโดยขอลดราคาลง ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงทําการปรับลดเป้าวอลุ่มไก่ส่งออกในไตรมาส 3/66 ลงอีก 12% จากเดิมที่เคยคาด 8-8.5 พันตัน (ซึ่ง เป็นเป้าในช่วงกลางเดือนก.ค. 2566) เหลือ 7-7.5 พันตัน (ซึ่งเป็นเป้าเมื่อเร็วๆ นี้ในช่วงของการประชุมนักวิเคราะห์ในไตรมาส 2/66) ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า จะไม่มีช่วงไฮซีซั่นสําหรับวอลุ่มไก่ส่งออกในไตรมาส 3/66 ซึ่งจะแตกต่างจากไตรมาสสามของทุกปีในอดีตที่ผ่านมา และถ้าพิจารณาวอลุ่มไก่ส่งออก ในช่วงครึ่งหลังของปี 2666 ซึ่งมีแนวโน้มเท่ากับในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 เราจึงคาดวอลุ่มไก่ส่งออกที่ 7-7.5 พันตันในไตรมาส 4/66 (หรือคิดเป็นวอลุ่มไก่ส่งออกที่ 1.4-1.5 หมื่นต้นสําหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2566) และนั่นหมายความว่าวอลุ่มไก่ส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 มีแนวโน้มที่จะลดลง 15-20% YoY
สําหรับในไตรมาส 3/66 ถ้าหากแบ่งแยกตามรายประเทศ วอลุ่มไก่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นและยุโรปมีแนวโน้มลดลงทั้ง YoY และ QoQ (ลดลงมาเหลือ 2.2 พันตันสําหรับประเทศญี่ปุ่น และ 2 พันตันสำหรับยุโรป) แต่วอลุ่มไก่ส่งออกไปยังประเทศจีนยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น YoY แต่ลดลง QoQ (มาอยู่ที่ 1.7 พันตัน) และประเทศอื่นๆ (อยู่ที่ 1.1 พันตัน) วอลุ่มไก่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ 4 พันต้นในไตรมาส 3/65 และ 2.5 พันต้นในไตรมาส 2/66 ในขณะที่วอลุ่มไก่ส่งออกไปยุโรปอยู่ที่ 2.7 พันต้นในไตรมาส 3/65 และ 2.5 พันตัน ในไตรมาส 2/66 สำหรับวอลุ่มไก่ส่งออกไปยังประเทศจีนอยู่ที่ 1.4 พันต้น ในไตรมาส 3/65 และ 1.9 พันต้นในไตรมาส 2/66 สําหรับราคาไก่ส่งออก เราคาดว่าราคาไก่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นและยุโรปมีแนวโน้มที่จะลดลง อย่างต่อเนื่อง แต่ราคาไก่ส่งออกไปยังยุโรปจะมีแนวโน้มที่จะลดลงในอัตราที่มากกว่าการลดลงของราคาไก่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น เรามองว่าวอลุ่มไก่ส่งออกที่ลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ถือว่าเป็นเพียงแค่ปัจจัยลบระยะสั้น เนื่องจากเรามองว่าเศรษฐกิจมหภาคในยุโรปจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นในปี 2567
ราคาไก่มีชีวิตของไทย ณ ปัจจุบันถือว่าลดลงมาใกล้จุดต่ำสุด
ราคาไก่มีชีวิตในตลาดกทม.ปรับตัวลดลงเหลือ 37 บาท /กก. (15-17 ส.ค.) ในขณะที่ราคาไก่ในตลาดต่างจังหวัดยังคงทรงตัวแข็งแกร่งที่ระดับ 41 บาท/กก. (สำหรับตลาดที่นครปฐม) และ 46 บาท/กก. (สำหรับตลาดในจังหวัดชลบุรี) บริษัทเชื่อว่าระดับของราคาไก่มีชีวิตที่ 37-41 บาท/กก. ถือว่าเป็นระดับราคาที่อยู่ในกรอบต่ำ แม้ว่าราคาวัตถุดิบจะมีแนวโน้มเป็นทิศทางขาลงก็ตาม เนื่องจากต้นทุนการผลิตหรือต้นทุนการเลี้ยงไก่ของทางอุตสาหกรรม ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 40-42 บาท/กก. ราคาตลาดสำหรับโครงไก่ในประเทศก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน มาอยู่ที่ 13.5 บาท/กก. (15-17 ส.ค.) เรามองว่าราคาโครงไก่ในประเทศที่ระดับ 11-13 บาท/กก. ถือว่าใกล้จุดคุ้มทุนของผู้ประกอบการไก่ซึ่งอยู่ที่ 12-13 บาท/กก. และถ้าเทียบกับระดับราคาต่ำสุดเมื่อเร็วๆ นี้ที่ 11 บาท/กก. ในช่วงไตรมาส 3/64 เราเชื่อว่าราคาไก่ในชีวิต ณ ปัจจุบันอยู่ที่กรอบระดับล่าง และคาดว่าจะกลับไปฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 4/66 ซึ่งจะมีปัจจัยหนุนจากช่วงไฮซีซั่น
คาดกําไรไตรมาส 3/66 ทรงตัว QoQ; มูลค่าหุ้นถูกและน่าสนใจอย่างมาก
สำหรับในไตรมาส 3/66 เราคาดการณ์กำไรสุทธิที่ 350 ล้านบาท หรือทรงตัว QoQ และคาดการณ์กำไรหลักที่ 340 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% QoQ อาจกล่าวได้ว่าไม่มีผลกระทบของช่วงไฮซีซั่นของการส่งออกสำหรับไตรมาส 3/66 และภายใต้การคาดการณ์การฟื้นตัวของวอลุ่มส่งออกภายในปี 2567 ต้นทุนวัตถุดิบที่คาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ต่อเนื่องไปยังปี 2567 บวกกับราคาไก่มีชีวิตที่คาดว่าจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 4/66 และมูลค่าหุ้นที่ถูก ณ ปัจจุบัน โดยซื้อขายที่ PER ปี 2566 ที่ 10 เท่า และ PER ปี 2567 ที่ 8.9 เท่า ถ้าเทียบกับค่าเฉลี่ย PER ระยะยาวของหุ้น GFPT ซึ่งอยู่ที่ 10.9 เท่า เราแนะนำให้นักลงทุน “ทยอยสะสม” หุ้น GFPT ที่ระดับราคา ณ ปัจจุบัน