บล.ฟิลลิป:
ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี – STA ดีมานด์อ่อนตัวกว่าซัพพลาย
Key Point
1H66 กำไรสุทธิอ่อนตัว y-y อัตรากำลังผลิตปัจจุบันอยู่ที่ 64%, คาด 3Q66 ปริมาณขายยางอ่อนตัว q-q และอัตรากำลังผลิตที่ลดลงจะทำให้ GPM อ่อนตัว q-q ตาม มองว่าปีนี้ดีมานด์ยังคงอ่อนกว่าซัพพลาย คาดราคายางทรง ตัวถึงลดลงในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทางฝ่ายแนะนำมองภาพลงทุนปีถัดไป ราคาพื้นฐานปี 67 อยู่ที่ 20.90 บาท/หุ้น ปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “ซื้อ”
ซัพพลายยางลดลงแต่ดีมานอ่อนตัวกว่า
ซัพพลายยางของโลกกลับมาเป็นขาลง ปริมาณผลผลิตยางในไทยลดลง y-y จากสภาพอากาศที่แล้งขึ้น ปริมาณผลผลิตยางในอินโดนีเซียปีนี้คาดลดลง y-y จากผลตอบแทนในอุตสาหกรรมถ่านหินและปาล์มยังสูงกว่า และหน่วยงานรัฐยังไม่ค่อยเข้ามาสนับสนุนในเรื่องของ EUDR (กฎระเบียบที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป) จะทำให้ไทยและไอวอรี่โคสต์จะเป็นประเทศหลักที่จะผ่านข้อกำหนดก่อน ซึ่งยางที่ผ่านเกณฑ์ EUDR ในปัจจุบันราคาขายสูงกว่าปกติ 25% และความต้องการยังมีมาก กฎนี้จะเริ่มบังคับใช้ใน 4Q66 ขณะที่ไอวอรี่โคสต์ปริมาณยางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ปริมาณยังน้อยกว่าหากเทียบกับไทยและอินโดนีเซีย
ดีมานด์ในกลุ่ม non-china มองว่าการลดระดับสต๊อกอยู่ระดับต่ำแล้วแต่ยังคงไม่เพิ่มระดับสต๊อกขึ้นมาในปีนี้ เนื่องจากดอกเบี้ยที่เป็นต้นทุนธุรกิจยังอยู่ในระดับสูง และอาจมีการชะลอสั่งซื้อในช่วงสิ้นปี เนื่องจากจะกลายเป็นสินค้าตกปี แต่ไทยจะได้ประโยชน์จากการทำ EURD คาดว่าจะเป็นดีมานหลักในช่วงต้นปีถัดไป, ความต้องการใช้ยางของโลกเป็นล้อผู้โดยสารและล้อรถที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการก่อสร้างสัดส่วนกว่า 80% ผลกระทบเรื่องอสังหาฯในจีนจึงมีผลต่อธุรกิจยางธรรมชาติ เนื่องจากล้อรถก่อสร้างใช้น้ำหนักยางต่อเส้นที่มากกว่าล้อรถโดยสาร ขณะที่ระดับสต๊อกฝั่งของจีนยังคงมีอยู่ คาดว่าดีมานด์ยังคงอ่อนตัวในปีนี้ ราคายางช่วงที่เหลือของปีนี้ยังทรงตัวถึงลดลง
1H66 ผลประกอบการอ่อนตัว
1H66 STA มีปริมาณการขายยาง 744,198 ตัน +6.0%y-y ขณะที่ 2Q66 มีปริมาณการขายลดลง y-y และ q-q ทำให้อัตรากำลังผลิตปัจจุบันลงมาอยู่ที่ 64% จาก 71% ใน 1Q66 และคาดว่าจะลงไปถึง 59% ในสิ้นปีนี้ ครึ่งปีแรกกำไรสุทธิ 398 ลบ. ลดลง 85.0%y-y
3Q66 คาดอ่อนตัว
การสต๊อกวัตถุดิบยางในช่วงต้นปีที่น้อยไปและเปิดกรีดยางในช่วง 2Q66 ที่ช้ากว่ากำหนด ทำให้สินค้าคงคลังมีไม่เพียงพอ คาด 3Q66 ปริมาณขายยางและราคาขายเฉลียคาดลดลง q-q, คาด GPM ลดลง q-q ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยจะเพิ่มขึ้นจากอัตรากำลังผลิตที่ลดลงและมีโรงงานใหม่ที่เข้ามาเพิ่มกำลังผลิตขึ้นอีก 3 โรงงาน รวม 3.3 แสนตัน/ปี และมีการแย่งซื้อยางในช่วง 2Q66 ทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้น กระทบมาถึงไตรมาสนี้ บริษัทฯ ปรับปริมาณการขายปี 66 ลงจาก 1.9 ล้านตัน มาเป็น 1.48 ตัน, ส่วน STGT คาด 3Q66 รายได้ทรงตัว q-q คาดปริมาณการขายเพิ่มขึ้น q-q ตลาดหลักอย่างอเมริกาเหนือ ยุโรป เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นเริ่มกลับมาสั่งถุงมือยางเข้าไปเพิ่ม แต่ราคาขายเฉลี่ยคาดยังลดลงตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวลง และแข่งขันด้านราคายังมีให้เห็นอยู่, GPM คาดสูงขึ้น q-q จากอัตรากำลังผลิตที่เพิ่มขึ้น STGT ยังคงได้เปรียบในการแข่งขันทางด้านต้นทุน ขณะที่คู่แข่งในอุตสาหกรรมยัง ขาดทุนสุทธิอยู่ใน 2Q66
ราคาพื้นฐานปี 67 ที่ 20.90 บาท/หุ้น อิง P/B 0.45X
มองผลประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมยางในช่วง 2H66 ยังคงอ่อนตัว และอาจเจอความผันผวนในเชิงลบ ควรจับจังหวะลงทุนในช่วงที่อุตสาหกรรมเริ่มฟื้นตัว ทางฝ่ายแนะนำมองภาพลงทุนปีถัดไป ประเมินราคาหุ้น โดยใช้ P/B ที่ 0.45X โดยคาด BVPS ปี 67 ที่ 46.44 บาท คาดการณ์กำไรปี 67 ที่ 3,188 ลบ. +471.6%y-y จากกำไรคาดการณ์ปี 66 ราคาพื้นฐานปี 67 อยู่ที่ 20.90 บาท/หุ้น ปรับคำแนะนำขึ้นเป็น “ซื้อ”
ความเสี่ยง
- ความผันผวนของราคาวัตถุดิบ
- ภาวะเศรษฐกิจที่ลดลงโดยเฉพาะจากผู้ใช้ยางรายใหญ่
- อุปสงค์และอุปทานของยางธรรมชาติ