ตลาดหุ้นวานนี้:

SET Index อ่อนตัวลงในช่วงต้นชั่วโมงการซื้อขาย ก่อนที่จะไต่ระดับขึ้นต่อเนื่องและปิดบวกได้ 6.23 จุด ณ สิ้นวัน อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของหุ้นยังค่อนข้างกระจัดกระจายไร้ทิศทาง เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่เข้ามากระตุ้น สถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้น 210 ลบ. และ 716 ลบ. ตามลำดับ (แต่ต่างชาติยัง Short Index Future อีก 3.7 พันสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้:

เราประเมิน SET Index แกว่งตัว Sideways ในกรอบ 1,625 1,645 จุด โดยรวมดัชนียังขาดปัจจัยบวกใหม่ที่ชัดเจนเข้ามากระตุ้น หลังการประชุมศบค.วันศุกร์ที่แล้วไม่ได้มีการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown เพิ่มเติมกลุ่มพลังงาน อาจมีแรงหนุนบ้างหลังราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้นทะลุ US$70 ต่อบาร์เรล จาก Supply ที่ตึงตัวขึ้นจากผลของพายุไอดา แต่ปัจจัยที่ต้องติดตามสัปดาห์นี้อยู่ที่ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ส.ค. ของสหรัฐฯที่จะประกาศวันพรุ่งนี้ (ตลาดคาด +0.4M-M, +5.4%Y-Y) รวมถึงตัวเลขค้าปลีกในช่วงปลายสัปดาห์ ซึ่งคาดมีผลบางส่วนต่อการตัดสินใจของ FED ในการประชุมสัปดาห์หน้า ว่าจะพิจารณาลดวงเงิน QE เลยหรือไม่ ส่วนทิศทางค่าเงินบาทยังค่อนไปในฝั่งอ่อนค่า กลยุทธ์จึงยังแนะนำให้ “สะสมหุ้นกลับ” ระยะสั้นที่ 1,620 +-จุด และระดับหลักคือ 1,600 +-จุด โดยยังเน้นกลุ่ม Domestic และ Reopening Play ได้แก่ ธนาคาร โรงกลั่น ไฟแนนซ์ ค้าปลีก อาหาร ท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งได้อานิสงส์ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนระยะสั้นเลือกเก็งกำไรหุ้นที่ยัง Laggard และหุ้นขนาดกลาง-เล็ก

กลยุทธ์: เน้นเก็งกำไรหุ้นที่ยัง Laggard และสะสมหุ้นกลับในช่วงตลาดพักตัวบริเวณ 1,620 // 1,600 จุด หุ้นเด่นเดือน ก.ย. : BDMS, CPALL, CRC, M, TACC

หุ้นเด่นวันนี้: ORI

  • แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายปี 2022 ที่ 13.50 บาท
  • โมเมนตัมกำไร 2H21 คาดเร่งขึ้นทั้ง H-H และ Y-Y จากโครงการใหม่สร้างเสร็จอีก 2 โครงการแม้การปิดแคมป์จะกระทบบ้าง แต่คาดเริ่มโอนได้ในเดือน ก.ย. โดย ORI มีสต๊อกคอนโดพร้อมโอนกว่า 1 หมื่นลบ.
  • การจับมือกับ JWD คลังสินค้าจะเป็นบวกระยะยาวจากรายได้ประจำที่จะมากขึ้น และคาดเห็นการร่วมมือกับ บริษัทอื่นๆ อีกในอนาคต ส่วนระยะสั้นมี Catalyst จากการ Spin-Off บริทาเนีย และให้สิทธิผู้ถือหุ้น ORI จองซื้อ
  • แนวรับ 9.80 บาท แนวต้าน 10.50 // 11 บาท

Fund Flow:

เมื่อวันศุกร์กระแสเงินทุนพลิกมาไหลเข้าภูมิภาค US$216 ล้าน โดยกระจุกตัวที่ไต้หวัน US$552 ล้าน แต่ไหลออกจากเกาหลีใต้ US$342 ล้าน ส่วนตลาดอาเซียนเม็ดเงินผสมผสานโดยไหลเข้าอินโดนีเซียและไทย ประเทศละ US $ 18-22 ล้าน แต่ไหลออกจากเวียดนามและฟิลิปปินส์ แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดไหลเข้าสลับไหลออกโดยขาดปัจจัยใหม่ นักลงทุนรอจับตาตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯวันพรุ่งนี้ ซึ่งคาดมีผลต่อ FED ในการประชุมวันที่ 21-22 ก.ย. ในการตัดสินใจลด QE

ประเด็นสำคัญวันน้ี

(0) กระประชุม ศบค.ชุดใหญ่คงพื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัดไว้เช่นเดิม รวมถึงมีการต่ออายุมาตรการควบคุมโรคทั้งเคอร์ฟิวและ WFH ต่อเนื่องจนถึง 30 ก.ย.21 ซึ่งผิดไปจากที่ตลาดคาดว่า อาจมีมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติม โดย ศบค.จะติดตามสถานการณ์ในช่วงครึ่งดเดือนหลังของก.ย.ว่าจะเห็นสัญญาณจำนวนผุ้ติดเชื้อ COVID-19 ที่กลับมา เร่งตัวขึ้นหรือไม่ หากยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ คาดว่าจะเห็นการผ่อนคลายมาตรการเพิ่มเติมในเดือนต.ค.เรายังมองจังหวะการพักฐานของกลุ่ม Domestic และ Reopening Play ในระยะนี้เป็นโอกาสในการ “ทยอยสะสม” รับการฟื้นตัวใน 4Q21-2022 Top Pick เดือนน้ีได้แก่ BDMS CPALL CRC M TACC

(0) BEM สถิติส.ค.ยังถูกกระทบจากการ Lockdown โดยปริมาณรถบนทางด่วน -5.4%M-M, -48%Y-Y และผู้โดยสารรถไฟฟ้า -19%M-M, -78%Y-Y โดยยังถูกกระทบอย่างหนักจากการ Lockdown อย่างไรก็ตาม คาดว่า ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยหลังจากเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการในวันท่ี 3 ก.ย.เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน  โดยปริมาณรถบนทางด่วนและผู้โดยสารรถไฟฟ้าฟื้นตัวราว +35%M-M และ +60%M-M ตามลำดับ เราคาดผลการดำเนินงานฟื้นตัะวชัดเจนใน 4Q21 ราคาเป้าหมายจาก FSSIA อยู่ที่ 8.70 บาท แนะนำ “เก็งกำไร”

(-) KSL กำรปกติ 3Q21 (พ.ค.-ก.ค. 21) ไม่สดใส –8%Q-Q, -30%Y-Y ต่ำสุดในรอบ 5 ไตรมาส แม้รายได้จะเติบโตได้แข็งแรง ทั้งปริมาณและราคาขายน้ำตาลที่สูงขึ้น แต่ถูกกดดันจากต้นทุนวัตถุดิบอ้อย และราคาเชื้อเพลิงที่สูง ส่งผลให้ Margin หดตัวอย่างมีนัยยะ ส่วนแนวโน้ม 4Q21 คาดฟื้นตัวขึ้นได้บ้าง โดยยังคงคาดการณ์กำไรปี 2021- 2022 +90% Y-Y และ +48% Y-Y คงราคาเป้าหมายปี 2022 ที่ 4.70 บาท แนะนำเพียง “เก็งกำไร”ตามราคาน้ำมันตาล

(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 271.66 จุดหรือ 0.78% ปิดที่ 34,607.72 จุด จากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อของสหรัฐที่เพิ่มขึ้น หลังรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ปรับขึ้น 0.7%M-M ในเดือนส.ค.สูงกว่าที่คาด 0.6%M-M และปรับขึ้น 8.3% Y-Y ในเดือนส.ค. ซึ่งมากสุดเป็นประวัติการณ์ เทียบกับ +7.8% Y-Y ในเดือนก.ค. ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมหมวดอาหาร และพลังงาน ปรับขึ้น 0.3% M-M ในเดือนส.ค. และปรับขึ้น 6.3% Y-Y ซึ่ง มากสุดเป็นประวัติการณ์

(-) ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของ COVID-19 สายพันธุ์เดลตา รวมถึง ECB ส่งสัญญาณว่าจะลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรฉุกเฉินลงใน 4Q21

(0) ตลาดเอเชียปรับตัวผสม กดดันจากทิศทางตลาดดาวโจนส์ และแรงขายทำกำไรหุ้นที่ปรับขึ้นก่อนหน้า

(-) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 32.77บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เพิ่มขึ้น 1.58 ดอลลาร์ หรือ 2.3% ปิดที่ 69.72 ดอลลาร์/บารเ์รล จากความคาดหวังเกี่ยวกับการเจรจาระหว่างประธานาธิบดี โจ ไบเดน กับประธานาธิบดี สีจิ้น ผิง ในวันศุกร์ จะช่วยผ่อนคลายความ ขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน รวมถึงความล่าช้าในการฟื้นฟูกำลังการผลิตของบรรดาผู้ผลิตน้ำมันในอ่าวเม็กซิโก หลังได้รับผลกระทบจาก พายุเฮอริเคนไอดา

(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 7.9 ดอลลาร์ หรือ 0.44% ปิดที่ 1,792.1 ดอลลาร์/ออนซ์ จากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 998.17 / -0.35

- Advertisement -