บล.บัวหลวง: 

TMT – ระบบแบบผสมสำหรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท เหมาะสมที่สุด

เรารู้สึกตื่นเต้นกับความสำเร็จของงานเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานอย่างน่าล้นหลามราว 350 คน ก่อนหน้านี้นักลงทุนอาจจะมองบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลว่าเป็นสินทรัพย์แห่งอนาคตและมีความซับซ้อนมาก แต่ปัจจุบันทั้งสองได้กลายมาเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลใหม่ของประเทศเรา ทำให้ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป

ภายในงาน คุณท๊อป จิรายุส คาดว่ากระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะถูกพัฒนาได้ดีในฐานะระบบไฮบริด โดยใช้ประโยชน์จากทั้งฐานข้อมูลแบบ centralized และเทคโนโลยีบล็อกเชน ผลลัพธ์ของโครงการอาจสอดคล้องกับการคาดการณ์ของเขาหรือเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม ยังคงต้องรอดูต่อไป

พิจารณาวัตถุประสงค์ของโครงการ

คุณจิรายุส อธิบายการเลือกใช้เทคโนโลยีโดยเน้นด้าน “วัตถุประสงค์” E-wallets เป็นที่รู้จักจากกรอบการทำงานแบบ centralized เช่น เป๋าตัง พร้อมเพย์ และ True Money Wallet โดยเน้นไปที่ความสามารถในการรองรับธุรกรรมจำนวนมากและฟีเจอร์ของแอปที่ยืดหยุ่น ด้วยแอปพลิเคชันหลักที่มีอยู่แล้ว ซุปเปอร์แอป “เป๋าตัง” เหมือนจะเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัย การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนมีข้อดีหลายประการ ได้แก่ 1) ความโปร่งใส 2) เงินที่ตั้ง โปรแกรมได้ ทําให้กำหนดล่วงหน้าได้สำหรับกรณีการใช้งานเฉพาะ และ 3) การทํางานร่วมกันข้ามระบบต่างๆ อย่างไรก็ตาม ระบบที่ใช้บล็อกเชนอาจประสบปัญหาด้านความสามารถในการรองรับธุรกรรมจำนวนมากและความ ล่าช้า เมื่อเทียบกับฐานข้อมูลแบบ centralized หากเป้าหมายคือการสร้างรากฐานสําหรับระบบการชำระเงินในอนาคต การขยายการพัฒนาเงินบาทดิจิทัล (CBDC) ของ ธปท. ดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

คุณจิรายุสได้กล่าวถึงระบบเพื่อรองรับโครงการนี้น่าจะเป็นระบบไฮบริดระหว่างบล็อกเชนและระบบแบบ centralized โดยขั้นแรกจะใช้ CBDC เป็นโปรโตคอลการทำธุรกรรม ในขณะที่แอปพลิเคชันสำหรับธุรกรรมขนาดเล็กจะใช้ประโยชน์จากผู้ให้บริการสินทรัพย์เสมือน (VASPs) ในฐานะหน้าบ้านที่ต้องติดต่อกับลูกค้า ซึ่งรวมถึงแอปธนาคารและกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ VASPs สามารถใช้สําหรับธุรกรรมภายในที่เกิดขึ้นผ่านระบบของ VASPs นั้นๆ ซึ่งช่วยประหยัดพื้นที่บล็อกเชน ในขณะเดียวกันธุรกรรมภายนอกระหว่าง VASP จะถูกบันทึกบนเซน วิธีการแบบไฮบริดนี้ผสานจุดแข็งของทั้งสองระบบเข้าด้วยกัน ได้แก่ ความสามารถในการรองรับธุรกรรมจํานวนมาก จากเฟรมเวิร์กแบบ centralized ตลอดจนความสามารถในการโปรแกรมและการทำงานร่วมกันของเลเยอร์บล็อกเชน โดยพื้นฐานแล้ว “เหรียญเพื่อไทย” สมควรจัดเป็น Stable coin ซึ่งจําเป็นต้องร่วมมือกับทั้ง ก.ล.ต. และ ธปท.

คุณท็อปยังอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบบล็อกเชน โดยแนะนำโมเดลบล็อกเชนแบบ consortium ที่คล้ายกับ Libra ซึ่งมอบความไว้วางใจให้กับโหนดเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง (หน่วยงานภาครัฐและสมาชิกที่ได้รับอนุญาต เช่น ธนาคารพาณิชย์) นอกจากน้ี การตรวจสอบ VASP เป็นประจำถือเป็นการป้องกันที่สำคัญ เพื่อให้มั่นใจถึงความโปร่งใสอย่างแท้จริง

- Advertisement -