สรุปภาวะตลาด
วันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหว sideway ในแดนบวกเป็นส่วนใหญ่ มีแรงซื้อกลับในหุ้นที่ปรับตัวลงในวันก่อนหน้า เช่นกลุ่มโรงไฟฟ้า ไอซีที ส่วนแรงขายมาจากหุ้นกลุ่มธนาคาร โดยกระทรวงพาณิชย์รายงาน CPI เดือนส.ค. ขยายตัว 0.88% มากกว่าที่ตลาดคาดเล็กน้อย (ตลาดคาดที่ 0.61-0.70%) และ Core CPI ส.ค. +0.79% นอกจากนี้สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ปรับเป้าส่งออกปีนี้เป็น -1% จากเดิมคาด -0.5 ถึง 1% ตามภาวะศก.โลกชะลอตัว ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,547.86 จุด -0.82 จุด -0.05% มูลค่าการซื้อขาย 42,853 ลบ. ต่างชาติ -1,527.87 ลบ. TFEX -14,697 สัญญา ตราสารหนี้ -2,825.44 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดเพิ่มขึ้น 1.14 ดอลลาร์ +1.3% ปิดที่ 86.69 ดอลลาร์/บาร์เรล ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน ขานรับข่าวซาอุดีอาระเบียและรัสเซียประกาศขยายเวลาการปรับลดอุปทานน้ำมันโดยสมัครใจจนถึงสิ้นปี 2566
+ แบบจําลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 5.6% ใน 3Q66 (ลดลงจากครั้งก่อนรายงาน 5.9%) หลังจากมีการขยายตัว 2.0% และ 2.1% ในไตรมาส 1 และ 2 ตามลำดับ
+ โกลด์แมน แซคส์คาดการณ์ว่า ขณะนี้มีโอกาสเพียง 15% ที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งลดลงจากโอกาส 20% ที่มีการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ เนื่องจากเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัวลง และตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง ซึ่งบ่งชี้ว่าเฟดอาจไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก
ปัจจัยลบ-
– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 195.74 จุด หรือ -0.56% โดยตลาดถูก กดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ขณะที่นัก ลงทุนประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด และจับตาข้อมูลเงินเฟ้อ สหรัฐอย่างใกล้ชิด ก่อนที่การประชุมเฟดจะมีขึ้นในวันที่ 19-20 ก.ย. นี้
– ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนส.ค.ของจีนอยู่ที่ระดับ 51.8 ลดลงจากระดับ 54.1 ในเดือนก.ค. โดยดัชนี PMI เดือนส.ค.ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน เนื่องจากการชะลอตัวของอุปสงค์ยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่สามารถทำให้การอุปโภคบริโภคฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ
– กระทรวงพาณิชย์แถลงดัชนี CPI ในเดือน ส.ค.66 อยู่ที่ 108.41 บ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น 0.88% จากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานในตลาดโลกที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และก๊าซหุงต้มในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 8M66 เพิ่มขึ้น 2.01%
– ธปท. เปิดเผยว่าเศรษฐกิจไทยใน 2Q66 ต่ำกว่าคาด ขยายตัวเพียง 1.8% ทำให้การประชุม กนง. ในเดือน ก.ย.นี้ จะปรับประมาณการ GDP ปี 66 จากคาดว่าจะขยายตัว 3.6% ต้องปรับลดลงทั้ง GDP และเงินเฟ้อ
– ฟิทช์ เรตติ้งห่วงจัดตั้งรัฐบาลผสมส่งผลกระทบการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2567 ซับซ้อน-ล่าช้า
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีในวันนี้ยังแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยมีแรงกดดันจากจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง หนุนหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดกรอบดัชนีวันนี้ที่ 1,540-1,555 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- หุ้นเชื่อมโยงการเมือง : STEC STPI SIRI SC SKY XPG
- หุ้น mai ได้ประโยชน์จากนโยบายฟรีวีซ่านักท่องเที่ยว : SPA AU D RP
- iPhone 15 เปิดตัว 12 ก.ย. : COM7 SPVI CPW SYNEX
- ราคาน้ำตาลปรับตัวขึ้น : KBS KSL KTIS BRR
- มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล : TNP KK CPALL CPAXT STEC CK ITD
หุ้นรายงานพิเศษ
PJW (ราคาเหมาะสม 7.00 บาท) ราคาเม็ดพลาสติกและค่าพลังงานที่ปรับลดลง หนุนอัตรากำไรขั้นต้น
- บริษัทมีรายได้จากการดำเนินงาน 2Q23 เท่ากับ 943.8 ล้านบาท ลดลง -4.1%000 ตามปัจจัยฤดูกาล แต่ยังเติบโต +1.6%QoQ เกิดจากยอดขายในส่วนของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งในส่วนของชิ้นส่วนยานยนต์พลาสติก งานพ่นสีและทูลลิ่งเพิ่มขึ้นจากงานนิวโมเดล ด้านอัตรากำาไรขั้นต้นอยู่ที่ระดับ 20.5% เพิ่มขึ้นจาก 18.5% ในไตรมาสก่อน และ 14.7% ใน 2Q22 เนื่องจากราคาเม็ดพลาสติกและค่าพลังงานที่ปรับลดลง รวมถึงบริษัทมีการบริหารต้นทุนการผลิตได้ดี ส่งผลให้ 2Q23 มีกำไรสุทธิเท่ากับ 41.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +6.6%QoQ และ +281.5%YoY
- คาดผลประกอบการปี 23 เติบโตต่อเนื่อง โดยมีแรงหนุนจากเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว นอกจากนี้บริษัทยังได้เข้าซื้อธุรกิจ Laundry ในช่วงปลายปี 22 ที่ผ่านมา และมีแผนขยายเข้าสู่ตลาดผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์จากพลาสติก ซึ่งจะเป็น New S-curve ใหม่ คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปลายปี 24 (ยังไม่รวมในประมาณการ) เราประมาณการรายได้และกำไรสุทธิปี 23 ราว 3,671.9 ล้านบาท และ 188.2 ล้านบาท เติบโต +9.9%YoY และ +125.4%YoY ตามลำดับ
- ความเห็น : เรามองว่าผลประกอบการใต้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปี 22 ที่ผ่านมา ประเมินราคาเหมาะสม อิงค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง 5 ปีที่ระดับ 21 เท่า ได้ราคาเหมาะสมปี 23 เท่ากับ 7.00 บาท คงคำแนะนำ “ซื้อ”
หุ้นมีข่าว
(+) BCH (Bloomberg consensus 21.50 บาท) ผู้บริหาร BCH ชี้จีนเข้าไทยเพิ่มโรงพยาบาลได้ ประโยชน์ คาดคนไข้ต่างชาติเกิน 1.2 แสนรายในปีนี้ ดันรายได้ส่วนนี้โตกว่า 50% ฟันธงไตรมาส 3 ผู้ป่วยเข้ามาใช้บริการเพียบ มั่นใจทั้งรายได้และ 1.3 ล้านบาท เล็ง เกษมราษฎร์ สุวรรณภูมิ เริ่มก่อสร้างต้นปีหน้า (ที่มา ทันหุ้น)
(+) SEAFCO (Bloomberg consensus 4.25 บาท) ประกาศเพิ่มเป้ารายได้ปี 2566 ทะยานแตะ 1.8 พันล้านบาท จากเดิมวางไว้ 1.5 พันล้านบาท ตุนแบ็กล็อกแน่น 1.1 พันล้านบาท คาดรับรู้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ไม่น้อยกว่า 800 ล้านบาท ลุ้นงานใหม่เติมพอร์ตปีนี้อีกกว่า 9.5 พันล้านบาท คาดหวังได้ส่วนแบ่งงานน้อยกว่า 28% มีมาร์จิ้นเพิ่มขึ้น ไม่หวั่นค่าแรงขั้นต่ำสามารถปรับเพิ่มตามต้นทุนได้ (ที่มา ทันหุ้น)
(+) HFT (Bloomberg consensus – บาท) จ่อรับออเดอร์ผลิตล้อรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า และล้อรถกอล์ฟไฟฟ้าล็อตใหญ่ หนุนยอดขายครึ่งปีหลังเติบโตกว่าช่วงครึ่งแรก แถมรักษามาร์จิ้น 18-22% ลั่นฐานลูกค้าล้อจักรยานยังแข็งแกร่ง รอจังหวะเติมสินค้าปีหน้า เล็งแตกไลน์ธุรกิจใหม่ขยายฐานลูกค้า (ที่มา ทันหุ้น)
(+) TOP (Bloomberg consensus 62.00 บาท) ผ่อนคลายแล้ว ไม่พบคราบน้ำมันขนาดใหญ่ เป็นเพียงแค่แผ่นฟิล์มบางๆ บนผิวน้ำทะเลเท่านั้น สารเคมีขจัดคราบได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล เผย ทุนประกันคุ้มครองครอบคลุมครบ (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 6 ก.ย. ครม.เศรษฐาเตรียมถกครม.นัดพิเศษ
- สภาธุรกิจตลาดทุนไทย แถลงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและอัพเดตสถานการณ์ลงทุน
- 7 ก.ย. ประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.)
- 11 ก.ย. นายกฯ แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
- 12 ก.ย. ประชุมครม. นัดแรก
- สัปดาห์ที่ 2 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แถลงข้อมูลสรุปภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์
- สภาธุรกิจตลาดทุนไทย แถลงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและอัพเดตสถานการณ์ลงทุน
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
- 27 ก.ย. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5/2566
- 29 ก.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- 27 ก.ย. การประชุม กนง. ครั้งที่ 5/2556
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 6 ก.ย. อียู รายงานยอดค้าปลีกเดือนก.ค.
- สหรัฐ รายงานยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนก.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนส.ค.จากเอสแอนด์พี โกลบอล ดัชนีภาคบริการเดือนส.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)
- (เช้าวันที่ 7 ก.ย.) รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
- 7 ก.ย. จีน รายงานยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนส.ค.
- สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
- 8 ก.ย. สหรัฐ รายงานสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนก.ค.
- 9 ก.ย. จีน รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนส.ค.
- 25 ก.ย. กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ, การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน
- 11 ก.ย. สหรัฐ รายงานตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคเดือนส.ค.
- 12 ก.ย. อียู รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนก.ย.ของยูโรโซน จากสถาบัน ZEW
- 19-20 ก.ย ประชุม FED