สรุปภาวะตลาด
วันจันทร์ที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวลงต่ำสุดราว -11 จุด แต่ปิดลดช่วงลบลง ดัชนีพักฐานต่อเนื่อง แรงขายกดดันดัชนีมาจากหุ้นกลุ่มพลังงานเป็นหลัก จากความกังวลนโยบายลดค่าน้ำมันและค่าไฟฟ้า และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ โดยนักลทุนติดตามการแถลงนโยบายของนายกฯ ต่อรัฐสภาวันที่ 11-12 ก.ย. นี้ ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,540.94 จุด -6.23 จุด -0.40% มูลค่าการซื้อขาย 41,601 ลบ. ต่างชาติ -2,601.00 ลบ. TFEX -3,607 สัญญา ตราสารหนี้ -1,211.18 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 87.13 จุด หรือ +0.25% ส่วนดัชนี Nasdaq ดีตขึ้นกว่า 1% โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งของหุ้นเทสลา ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยก่อนการประชุมนโยบายการเงินของเฟด
+ นักลงทุนเทน้ำหนักมากกว่า 90% ในการคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้
+ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐปฏิเสธกระแสข่าวที่ว่า สหรัฐกำลังพยายามสกัดกั้นอิทธิพลในระดับนานาชาติของจีน หลังลงนามในข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์กับเวียดนาม
+ นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐแสดงความเชื่อมั่นว่าสหรัฐจะสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้โดยไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อตลาดแรงงาน พร้อมกับแสดงความพอใจเกี่ยวกับตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
+ กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างศึกษาเพื่อปรับปรุงประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับหรือพิโกไฟแนนซ์ ซึ่งเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องวันที่ 6 – 20 ก.ย.นี้
ปัจจัยลบ-
– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 22 เซนต์ -0.3% ปิดที่ 87.29 ดอลลาร์/บาร์เรล ถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ของโลก ขณะที่นักลงทุนจับตารายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐ และรายงานคาดการณ์แนวโน้มอุปสงค์และอุปทานน้ำมันในสัปดาห์นี้
– KCNA สื่อของรัฐบาลเกาหลีเหนือรายงานว่านายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือเดินทางออกจากกรุงเปียงยางด้วยรถไฟส่วนตัวไปยังรัสเซีย และจะเข้าพบปะกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินแห่งรัสเซีย
– คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) คาดการณ์ว่า EU จะมีการขยายตัว 0.8% ในปีนี้ จากเดิม 1.0% และขยายตัว 1.4% ในปีหน้า จากเดิม 1.7%
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีในวันนี้ยังแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน จากเม็ดเงิน Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติที่ชะลอตัว ประกอบกับ นักลงทุนยังจับตาการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาในวันที่ 11-12 ก.ย. มองกรอบดัชนีในวันนี้ 1,530-1,550 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- หุ้นเชื่อมโยงการเมือง : STEC STPI SIRI SC SKY XPG
- หุ้น mai ได้ประโยชน์จากนโยบายฟรีวีซ่านักท่องเที่ยว : SPA AU D RP
- iPhone 15 เปิดตัว 12 ก.ย. : COM7 SPVI CPW SYNEX
- ราคาน้ำตาลปรับตัวขึ้น : KBS KSL KTIS BRR
- มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล : TNP KK CPALL CPAXT STEC CK ITD
หุ้นรายงานพิเศษ
IP – “ซื้อ” (ราคาเหมาะสม 17 บาท) คาด 2H66 กำไรฟื้นตัว
- รายงานกำไร 2Q66 ที่ 11 ลบ.ต่ำกว่าที่เราคาดอย่างมีนัยสำคัญ หดตัว 63%YoY และหดตัว 72%QoQ เนื่องจากรายได้ปรับตัวลง 6%QoQ สู่ 444 ลบ. จากรายได้จากผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์รักษาโรคและกลุ่มอาหารเสริมปรับตัวลง 18% และ 28% ตามลำดับ จากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวลงจาก 1Q66 ที่ 39.9% สู่ 38.2% เนื่องจาก Product Mix ที่เปลี่ยนไป นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่ปรับตัวขึ้นจาก 1Q66 อีก 17 ลบ. สู่ 147 ลบ. เนื่องจากค่าโฆษณาผลิตภัฑณ์กลุ่มโภชนเภสัชและอาหารเสริม ค่าคอมมิชชั่น และการรวมธุรกิจกลุ่มร้านขายยาและโรงพยาบาล ทั้งนี้กำไร 1H66 ที่ 51 ลบ. -15%YoY และคิดเป็น 30% ของประมาณการ
- ผบห.คงเป้ารายได้ปี 2023 ที่ 2 พันลบ. เนื่องจากได้รับคำสั่งซื้อในการผลิตยาและอาหารเสริมเข้ามาใน 3Q66-4Q66 และเร่งเปิดสาขาร้านขายยา Lab Pharmacy อีก 9 สาขา เพื่อให้มีสาขาตามเป้าที่ 35 สาขา ณ ปลายปี 66 อย่างไรก็ตามจะมีค่าโฆษณายาพาราแบรนด์ Bella para ราว 20 ลบ. ซึ่งจะทยอยบันทึกค่าใช้จ่ายใน เดือน ก.ย.-พ.ย.66 เป็นปัจจัยกดดันต่อผลประกอบการ
- ความเห็น เรามีมุมมอง Neutral ต่อ IP แม้ว่า 2H66 รายได้และกําไรจะฟื้นตัวจาก 1H66 แต่เราคาดว่ากําไรปี 66 มีโอกาสต่ำกว่าประมาณการของเราที่คาดว่าจะมีกำไร 179 ลบ. (อยู่ระหว่างปรับประมาณการเชิงลบ) อย่างไรก็ตามราคาหุ้นปรับตัวลง 28%YTD ตอบรับข่าวดังกล่าวไปแล้ว อีกทั้งยังมี upside จากราคาเหมาะสม เราจึงคง คําแนะนํา “ซื้อ”
หุ้นมีข่าว
(+) BA (Bloomberg consensus 20.00 บาท) ขานรับรัฐเดินหน้าฟรีวีซ่าช่วงไฮซีซัน พร้อมเสนอภาครัฐหนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มั่นใจเส้นทางสมุยทำเงิน พร้อมอัดโปรโมชั่น Samui E-gift Card กระตุ้นการเดินทางควบคู่เปิดเส้นทางบินตรงสมุย-จีน ช่วงไตรมาส 4/2566 เผยเตรียมจัดหาเครื่องบินเสริมฝูงบินอย่างน้อย 2 ลำในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 (ที่มา ทันหุ้น)
(+) SIRI (Bloomberg consensus 2.20 บาท) โตสวนกระแส กวาดยอดขายคอนโด 8 เดือน 13,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นเกือบ 60% ของเป้าคอนโดรวม 22,000 ล้านบาท เดินหน้าครึ่งหลังปี 2566 รุก “New Luxury Condominium” ปักหมุดย่าน “อารีย์” และ “ราชเทวี” ที่สุดของทำเล CBD ใจกลางกรุงเทพฯ กับ “เวีย อารีย์” และ “ชูซ์ ราชเทวี” และรุกขยายฐานต่างจังหวัด รับดีมานด์ลูกค้าชาวไทย ชาวต่างชาติ และสัญญาณ เศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวฟื้นตัว (ที่มา ทันหุ้น)
(+) MC (Bloomberg consensus 15.00 บาท) ตั้งเป้ารายได้ปีบัญชี 2567 (1 ก.ค. 66 – 30 มิ.ย. 67) เติบโตที่ 10-15% เดินหน้าพัฒนาสินค้าใหม่ พร้อมวางเกมรุกตลาด CLMV พร้อมเพิ่มสัดส่วนยอดขายออนไลน์โต 60% วางแผนกิจกรรมส่งเสริมการตลาดตลอดทั้งปี โดยวางงบลงทุนที่ราว 100 ล้านบาท ส่วนงวดปีบัญชีปี 2566 ปันผลรวม 0.81 บาท (ที่มา ทันหุ้น)
(+) HFT (Bloomberg consensus – บาท) แย้มไตรมาส 3/2566 ออเดอร์ล้อรถมอเตอร์ไซค์-ล้อรถ กอล์ฟ ไหลเข้าต่อเนื่อง หนุนยอดขายกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่เร่งตัวขึ้นแตะ 60% ของยอดขายล้อรถจักรยานที่หายไป ซุ่มดีลซื้อกิจการธุรกิจรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า (E-Bike) คาดสรุปได้ต้นปี 2567 (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 11-12 ก.ย. นายกฯ แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
- 12 ก.ย. ประชุมครม. นัดแรก
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
- สัปดาห์ที่ 2 หอการค้าไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
- สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์
- สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ, การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
- 25 ก.ย. กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ, การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน
- 27 ก.ย. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5/2566
- 29 ก.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 12 ก.ย. อียู รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนก.ย.ของยูโรโซน จากสถาบัน ZEW
- สหรัฐ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือนส.ค.จากสหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB)
- 13 ก.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
- 14 ก.ย. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย
- สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดค้าปลีก เดือนส.ค. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนส.ค. สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ เดือนก.ค.
- 15 ก.ย. จีน รายงานดัชนีราคาบ้านเดือนส.ค. การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนส.ค. ยอดค้าปลีกเดือนส.ค.
- สหรัฐ รายงานดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนก.ย.จากเฟดนิวยอร์ก ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือน ก.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
- 18 ก.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนก.ย.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB)
- 19-20 ก.ย ประชุม FED