บล.กรุงศรีฯ:
INVESTMENT STRATEGY – SET Index ปี 2024 จะแตะ 1,800 ได้หรือไม่?
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การมีรัฐบาลใหม่ และมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อการเป้าหมาย SET Index ของเราในปีหน้า โดยเราได้มีการพิจารณาจาก 4 ตัวแปรเพื่อกำหนดทิศทางของดัชนี ได้แก่ (i) แนวโน้มกำไร (ii) กระแสเงินทุนต่างชาติ (iii) ภาพรวมทางการเมือง และ (iv) ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนของกำไร คาด SET Index น่าจะอยู่ที่ 1.800 – 1,850 ในปีหน้า อย่างไรก็ตามยังมีความเสี่ยงด้านลบอยู่ คือ (i) ความล้มเหลวในการดำเนินนโยบายการคลัง (ii) นโยบายอัตราดอกเบี้ยที่เข้มงวดเกินไป และ (iii) ความร้ายแรงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ ส่วนความท้าทายระยะยาวสำหรับประเทศไทย คือ วินัยทางการคลังและการจัดการหนี้สาธารณะ
นักลงทุนกำลังมองไปที่ผลประกอบการปี 2024
สิ่งเหล่านี้ได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังของมาตรการทางการคลังเชิงรุกมากขึ้นจากรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งในตอนนี้มาตรการระยะสั้นส่วนใหญ่ คือ เพื่อสนับสนุนค่าครองชีพ และจะส่งผลกระทบอย่างจำกัดต่อตลาดทุนในช่วงที่เหลือของปีนี้ มาตรการกระตุ้นที่ใหญ่กว่า เช่น กระเป๋าเงินดิจิทัล (digital wallet) จะเริ่มดำเนินการในต้นปีหน้า นี่บ่งชี้ ว่าปัจจัยหลักที่กำหนดทิศทางของ SET ในปีหน้า คือ อุปสงค์ในประเทศ ในรายงานกลยุทธ์ฉบับที่แล้ว เราประเมินว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ (หากประสบความสำเร็จ) จะทำให้การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น 6% yoy ในปี 2024 ซึ่งจะส่งผลต่อตัวแปรหลัก 2 ประการที่อาจกำหนดทิศทางของตลาด: (i) ประมาณการกำไร ปีหน้า และ (ii) กระแสเงินทุนไหลเข้าจากนักลงทุนต่างชาติในหุ้นไทย
คาดประมาณการกำไรเติบโตแข็งแกร่งตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่เป็นตัวเงิน (Nominal GDP) ของไทยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะเป็นปัจจัยสำคัญในการคาดการณ์กำไร การคาดการณ์ SET Index ปี 2024 จะอิงกับประมาณการกำไรในปีถัดไป ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการคาดการณ์ nominal GDP (+7% yoy ในปี 2024) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราคาดว่ามาตรการของรัฐบาลจะมีประสิทธิภาพอย่างมาก เราคาดว่ากำไรต่อหุ้นของตลาดจะแตะระดับ 118 ในปี 2025F และหากใช้ค่าตัวคูณการซื้อขายที่ระดับ (-1.0SD) – (-0.75SD) ดัชนี SET คาดว่าจะซื้อขายอยู่ที่ 1,800-1,850 สมมติฐานของเรายังคงค่อนข้างอนุรักษ์นิยม เนื่องจากเราคำนวนเป้าหมาย SET กับค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ต่ำกว่าระดับ ค่าเฉลี่ยเพื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงด้านลบ (i) การภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ และ (ii) อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อาจสูงกว่าคาดในประเทศไทย
…ซึ่งจะเป็นตัวเร่งสำคัญในการดึงดูดกองทุนต่างประเทศเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ
คาดกองทุนต่างประเทศจะกลับมาไทยอย่างมีสาระสำคัญเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ขอย้ำอีกครั้งว่าสมมติฐานของเราอิงจากการเติบโตของการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มการเติบโตที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยการเติบโตในอดีตสำหรับปี 2024 ทั้งนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าจากต่างชาติมีการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับการบริโภคภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด การบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะเติบโต 6% ในปี 2024 ซึ่งสูงกว่าแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว 0.7-1%
ภาวะการเมืองที่มีเสถียรภาพจะช่วยสนับสนุนแนวโน้มเศรษฐกิจเชิงบวก
ในรายงานกลยุทธ์เดือนพ.ค. เราประเมิน (โดยใช้ตัวแปรจำลอง) ว่าความวุ่นวายทางการเมืองอาจทำให้ดัชนี SET ลดลงได้ถึง 90 จุดจากระดับอ้างอิง อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงทางการเมืองดังกล่าวสามารถขจัดออกไปได้หลังจากการแต่งตั้งรัฐบาลชุดปัจจุบัน และการเริ่มใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังหลายชุด สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าดัชนีอาจกลับไปที่ 1,600 ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
มุมมองจากทางตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวสูงขึ้นพร้อมกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งทะลุระดับ 3% ในช่วงที่ผ่านมา สิ่งนี้จะกดดันส่วนต่างอัตราผลตอบแทน และทำให้สินทรัพย์เสี่ยงน่าสนใจน้อยลง อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ข้อกังวลหลัก เนื่องจากเหตุผลสองประการ ประการแรก อัตราผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุมาจากความคาดหวังว่าอุปทานพันธบัตรจะเพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นทางการคลังที่เสนอโดยรัฐบาล และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นมักจะเพิ่มการเติบโต และการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในช่วงต่อ ๆ ไป ซึ่งจะผลักดันอัตราผลตอบแทนในระยะ ยาว คำอธิบายง่ายๆ ก็คือนักลงทุนคาดหวังว่าการเติบโตจะแข็งแกร่งขึ้น (และอาจมีอัตราเงินเฟ้อ) ในอนาคต สิ่งนี้จะแปลเป็นการเติบโตของรายได้ที่สูงขึ้น ซึ่งทำให้ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนกว้างขึ้น
Performance รายอุตสาหกรรม
สมมติฐานหลักของเรา คือ แนวโน้มการเติบโตของการบริโภคในประเทศที่สูงกว่า ค่าเฉลี่ยจะส่งผลให้กำไรต่อหุ้นเติบโตแข็งแกร่งขึ้น เราใช้ข้อมูลของดัชนีราคารายอุตสาหกรรม ที่ปรับตัวสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของอัตรากำไร โดยกลุ่มที่ปรับตัวได้ดีกับกำไรต่อหุ้นที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มยานยนต์, กลุ่มธนาคาร, อสังหาริมทรัพย์, การท่องเที่ยว และปิโตรเคมี แต่ทางด้านผลกระทบของการบริโภคภาคเอกชนยังไม่ชัดเจนนัก กลุ่มอุตสาหกรรมที่จะปรับตัวได้ดีควบคู่กับการบริโภคที่แข็งแกร่ง ได้แก่ กลุ่มโรงพยาบาล, การท่องเที่ยว ยานยนต์ และพลังงาน เรามองกว่าส่วนหนึ่งที่ทำให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันเป็นผลที่ล่าช้าจากเศรษฐกิจ ดังนั้นเราจึงแนะนำให้เน้นไปที่แนวโน้มกำไรให้มากขึ้น หุ้นเด่นของเราได้แก่ AMATA, AH, BCH, BH, GLOBAL, ROJNA, PTTEP, SPRC และ TOP