สรุปภาวะตลาด 

วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวรีบาวด์ บวกราว 6 จุด หลังจากปรับตัวลงต่อเนื่อง โดยเฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยตามคาด แต่ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในปีนี้ ทำให้นักลงทุนกังวลว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน โดยมีแรงซื้อหุ้นกลุ่มค้าปลีก และกลุ่มอาหาร ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,514.26 จุด +6.36 จุด +0.42% มูลค่าการซื้อขาย 42,099 ลบ.ต่างชาติ +637.32 ลบ. TFEX +21,049 สัญญา ตราสารหนี้ +120.89 ลบ. 

ปัจจัยบวก+ 

+ ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติ 5-4 ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ ระดับ 5.25% สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่า BoE จะปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.50% 

+ นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ประกาศจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในญี่ปุ่นเพื่อดึงดูดการลงทุนของต่างชาติ เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศได้ตกต่ำลงตามจำนวนประชากรที่ลดน้อยลง 

+ บอร์ด รฟท.อนุมัติลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดงเหลือไม่เกิน 20 บาทตลอดสาย เตรียมจัดทำแผนเสนอคมนาคมคลัง – ครม. มั่นใจ ประชาชนได้ประโยชน์ มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน 

+ รมว.คมนาคม ประกาศเดินหน้าสร้างโครงการแลนด์บริดจ์ 1 ล้าน ล้าน สั่ง สนข.ศึกษาให้รอบคอบ เหตุโครงการมูลค่าสูง พร้อมเตรียม โรดโชว์ดึงต่างชาติร่วมทุน ลุ้นชง ครม.เคาะเปิดประมูลปี 68 

ปัจจัยลบ- 

– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 370.46 จุด ลดลง -1.08% กังวลว่า FED จะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผล ให้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาเป็นวงกว้าง ซึ่งรวมถึงหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 3 เซนต์ -0.1% ปิดที่ 89.63 ดอลลาร์/บาร์เรล กังวลว่าภาวะอัตราดอกเบี้ยสูงอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมัน WTI ปิดขยับลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากข่าวรัสเซียประกาศระงับส่งออกน้ำมันทั่วโลกเป็นปัจจัยหนุนตลาดในระหว่างวัน 

– Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ Leading Economic Index (LEI) ลดลง 0.4% ในเดือนส.ค. หลังจากลดลง 0.3% ในเดือนก.ค.บ่งชี้แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา 

– สถานเอกอัครราชทูตแคนาดาเตรียมปรับลดจำนวนนักการทูตใน อินเดียด้วยข้อกังวลด้านความปลอดภัย ท่ามกลางข้อพิพาททางการทูตที่รุนแรงมากขึ้น หลังจากที่นายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรี แคนาดา กล่าวหาอินเดียว่าอยู่เบื้องหลังการลอบสังหารผู้นำชาวซิกข์ ในแคนาดา 

– ส.อ.ท. เปิดเผยว่า การผลิตรถยนต์สำเร็จรูปรวมทุกประเภทในเดือน ส.ค.66 อยู่ที่ 150,657 คัน ลดลง 12.27%YoY ขณะที่ 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) อยู่ที่ 1.22 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 3.13%YoY เนื่องจากการผลิตเพื่อขายในประเทศลดลงจากสถาบันการเงินเข้มงวดในการ อนุมัติสินเชื่อ 

แนวโน้มตลาดวันนี้ 

คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาสอ่อนตัวลงตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยนักลงทุนวิตกกังวลว่าเฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่ในประเทศยังขาดปัจจัยใหม่เข้ากระทบตลาด กรอบดัชนีในวันนี้ 1,505 – 1,520 จุด 

กลยุทธ์การลงทุน 

  • หุ้น mai ได้ประโยชน์จากนโยบายฟรีวีซ่านักท่องเที่ยว : SPA AU D RP 
  • ราคาน้ำตาลปรับตัวขึ้น : KBS KSL KTIS BRR 
  • มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล : TNP KK CPALL CPAXT STEC CK ITD 
  • ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น : PTTEP PTT BCP TOP 
  • หุ้นเสียประโยชน์จากลดค่าไฟฟ้า : GPSC BGRIM EA SSP 
  • หุ้นที่ได้ประโยชน์จากลดค่าไฟฟ้า : CPALL CRC HMPRO

หุ้นรายงานพิเศษ 

GABLE – “ซื้อ” (Bloomberg Consensus 7.45 บาท) คาด 2H23 ผลการดำเนินงานเร่งตัว HoH 

  • งวด 2Q23 บริษัทมีกำไรสุทธิเท่ากับ 60 ลบ. ทรงตัว YoY, +143%QoQ มีรายได้รวมเท่ากับ 1,232 ลบ. +6%YoY, +8%QoQ โดยมีสาเหตุหลักจากการเติบโตของรายได้กลุ่มธุรกิจให้บริการโซลูชั่นระดับองค์กร (Digital Transformation) และรายได้จากธุรกิจบริการซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม มี %GPM เท่ากับ 20.9% เพิ่มขึ้นเล็กน้อย YoY, QoQ จาก 19.8% ใน 2Q22 และ 19.4% ใน 1Q23 โดยช่วง 1H23 บริษัทมีรายได้รวม 2,370 ลบ. +6%YoY และมีกําไรสุทธิ 85 ลบ. +5%YoY 
  • บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 23 เติบโต 5-15%YoY โดยสิ้นงวด 2Q23 บริษัทมี Backlog ราว 4.1 พัน ลบ. โดยจะรับรู้เป็นรายได้ในช่วง 2H23 ราว 1.9 พันลบ. และส่วนที่เหลือจะทยอยรับรู้ในปี 24 – 25 และบริษัทตั้งเป้าอัตรากำไรขั้นต้นที่ระดับ 18-22% 
  • ความเห็น เรามีมุมมองเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานปี 23 จากการเติบโตของรายได้กลุ่มธุรกิจ Digital Transformation และธุรกิจ Software Platform โดยรายได้ช่วง 2H23 จะเติบโตเร่งตัวชน HoH เนื่องจากการทยอยส่งมอบงานในช่วงครึ่งหลังของปี โดย Bloomberg Consensus คาดการณ์กำไรปี 23 ราว 305 ลบ. +14%YoY และปี 24 ราว 362 ลบ. +19%YoY ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 7.45 บาท มี upside ถึง 38% เราจึง แนะนำ “ซื้อ”

หุ้นมีข่าว 

(+) KJL (Bloomberg consensus 12.40 บาท) กางแผนธุรกิจปี 2567 คาดรายได้โต 10-15% ปั๊มผลงานนิวไฮ ปัจจัยหนุนเร่ง กำลังผลิตดามแผน 27 ล้านชิ้น คาดสิ้นปีแตะ 30 ล้านชิ้น ส่งซิกออเดอร์ไหลเข้าต่อเนื่อง มองรัฐหนุนเมกะโปรเจ็ก ดันโครงการก่อสร้างแน่น (ที่มา ทันหุ้น)

(-) CRC (Bloomberg consensus 49.70 บาท) หั่นเป้ารายได้ปี 2566 เหลือเติบโต 8-10% และ EBITDA ในปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายไว้ที่ระดับ 13-15% สอดรับตามเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะในประเทศเวียดนาม ปรับงบลงทุนลงเหลือ 2-2.3 หมื่นล้านบาท กางแผนเปิดสาขาใหม่ครึ่งปีหลัง และลุยธุรกิจใหม่ “GO Wholesale” (ที่มา ทันหุ้น)

(+) INET (Bloomberg consensus 6.00 บาท) มั่นใจผลงานไตรมาส 3/2566 เติบโตต่อเนื่อง มุ่ง ลงทุนในบริการ Platform ต่างๆ ขยายกลุ่มลูกค้าคุณภาพ ล่าสุดเร่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทดแทนพึ่งพาต่างประเทศ ร่วมกับแผนบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ในช่วงไตรมาส 4/2566 ยังคงแผนที่จะขยายสินทรัพย์กองทรัสต์ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) RAM (Bloomberg consensus 49.25 บาท) “รพ.รามคำแหง” ส่งซิกไตรมาส 3/66 เติบโตรับไอชิ นธุรกิจหนุนผู้ป่วยแน่น-โรคประจําฤดูเพิ่มขึ้น ขณะที่ไตรมาส 4/66 ขยายตัว ดันรายได้ รพ.รามคำแหง ครึ่งปีหลังไม่ต่ำกว่า 4,700 ล้านบาท เผยรพ.วิภาราม ผู้ป่วยประกันตนพุ่ง 5.24 แสนราย บวกกับ รพ.เชียงใหม่ ราม โตโดดเด่น (ที่มา ข่าวหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ, การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน
    • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
    • สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
  • 25 ก.ย. กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ, การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน
  • 27 ก.ย. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5/2566
  • 29 ก.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 18 – 24 ก.ย. นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง มีกำหนดเดินทางไปร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 78 (78th Session of the United Nations General Assembly: UNGA78) ณ นคร นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
  • 22 ก.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ-ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนก.ย.เอสแอนด์พี โกลบอล
    • อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ-ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนก.ย.จากฮัมบูร์ก คอมเมอร์เชียล แบงก์ (HCOB)
  • 25 ก.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีกิจกรรมเศรษฐกิจทั่วประเทศเดือนส.ค.จาก เฟดชิคาโก ดัชนีการผลิตเดือนก.ย.จากเฟดดัลลัส
  • 26 ก.ย. สหรัฐ รายงานราคาบ้านเดือนก.ค.จากเอสแอนด์พี/เคส-ซิลเลอร์ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย.จาก Conference Board ยอดขายบ้านใหม่เดือนส.ค.
  • 27 ก.ย. จีน รายงานกำไรภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.
    • สหรัฐ รายงานยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนส.ค. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
- Advertisement -