KS Daily View 26.09.2023 >>> คาดทดสอบแนวรับสำคัญ 1,490-1,500 จุด ประเมินกรอบซื้อขายวันนี้ที่ 1,500/1,520 หุ้นแนะนำ ITC, AAV

ต่างประเทศ: ดัชนี DJIA +0.13%, S&P 500 +0.40%, NASDAQ +0.45%โดย Sector ที่ outperform ใน S&P500 เช่น Energy (+1.28%), Materials (+0.80%), Consumer discretionary (+0.67%) ขณะที่ Consumer staples (-0.43%), Utilities (-0.20%), Real estate (-0.17%)

ในประเทศ: SET Index -15.23 pts. หรือ -1.00% ปิดที่ 1,507.36 จุด ตัวขับเคลื่อนหลักสำคัญ BDMS (+1.90%), BTS (+2.05%), TLI (+0.78%), TQM (+4.55%) ขณะที่ DELTA (-2.33%), GULF (-2.69%), EA (-5.78%), AOT (-1.07%)

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ: มองดัชนีตลาดยังอยู่ในโหมดของการพักตัว คาดวันนี้อาจมีการแกว่งตัวลงทดสอบระดับแนวรับสำคัญที่ 1,490-1,500 จุดอีกครั้ง แต่ประเมินว่าเอาอยู่ยังไม่หลุด โดยอาจมีแรงซื้อกลับทำให้ดัชนีรีบาวด์ได้ที่ระดับแนวรับสำคัญ มองกรอบซื้อขายวันนี้ที่ 1,500/1,520 จุด

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

1.) อัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นตามสหรัฐฯหลังตลาดมอง Fed อาจยังไม่หยุดขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย อีกทั้งมีความกังวลว่าสภาคองเกรสสหรัฐฯอาจไม่สามารถตกลงผ่านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวได้ทันภายในวันที่ 30 ก.ย.นี้ ซึ่งอาจนำไปสู่การปิดหน่วยงานบางส่วนของรัฐบาลสหรัฐฯหรือ Government shutdown เป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

2.) กระทรวงพลังงานรัสเซียแถลงเปลี่ยนแปลงยกเลิกคำสั่งที่ระงับห้ามไม่ให้ส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเรือและน้ำมันดีเซลที่มีสารซัลเฟอร์ในระดับสูงออกนอกประเทศ แต่ยังคงระงับการส่งออกน้ำมันเบนซินและดีเซลที่มีคุณภาพสูงต่อทุกประเทศในโลกยกเว้นอดีตสมาชิกสหภาพโซเวียต

3.) ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงราว 0.4% ช่วงข้ามคืนหลังแถลงการณ์ของกระทรวงพลังงานรัสเซีย กอปรกับแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์มีการปรับตัวแข็งค่าเพิ่มขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ

4.) เยอรมันรายงานตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ(German ifo Business Climate) เดือนก.ย. ที่ 85.7 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยที่ 85.8 จุด ทั้งนี้ตัวเลขรายงานการปรับตัวลดลงของความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ประธาน ifo กล่าวดัชนีตัวเลขสะท้อนภาวะเศรษฐกิจเยอรมันกำลังถดถอย อย่างไรก็ดี ตัวเลขที่ออกมายังถือว่าสูงกว่าที่ตลาดประเมินไว้ที่ 85.1 จุด

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้

ประเมินตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวขึ้นในกรอบ 1,500 – 1,550 จุด จากความคาดหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากปัจจัยบวกทั้งภายในที่มีแรงหนุนจากนโยบายเชิงรุกของภาครัฐ และภายนอกจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ค่อยๆเร่งตัวขึ้น โดยสัปดาห์นี้ไทยจะมีการรายงานตัวเลขส่งออกเดือน ส.ค. คาดจะปรับตัวดีขึ้น อีกทั้งเราคาดจะเริ่มเห็น flow ของนักท่องเที่ยวจีนไหลเข้ามามากขึ้นหลังมาตรการงดเว้นวีซ่าเริ่มมีผลในวันที่ 25 ก.ย.​ นอกจากนี้ให้ติดตามการประชุม กนง.​ ซึ่งความเห็นของBloomberg Consensus มีทั้งที่มองว่าขึ้นต่อ และคงดอกเบี้ย ทั้งนี้ทาง KBANK คาดว่า กนง. จะคงดอกเบี้ยที่ 2.25% ในการประชุมวันพุธที่ 27 ก.ย.  หากคงดอกเบี้ยมองจะเป็นsentiment บวกต่อตลาดหุ้นไทย ส่วนปัจจัยในต่างประเทศที่ต้องติดตามได้แก่ ทิศทาง US 10Y bond yield หลังทำจุดสูงสุดรอบ 16 ปีบนมุมมองนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นของเฟด, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน รวมถึงพัฒนาการของ Geopolitical conflict ระหว่าง สหรัฐฯ-จีน และยุโรป-จีน

หุ้นแนะนำวันนี้

Top pick: ITC (ราคาพื้นฐาน 26.8 บาท) มองบริษัทได้อานิสงค์บวกจากค่าเงินบาทอ่อน อีกทั้งเล่นเก็งกำไรบนข้อมูลส่งออกไทยที่จะประกาศในวันนี้ คาดยอดส่งออกอาหารสัตว์ฟื้นตัวต่อ MoM เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันยืนยันยอดขายอาหารสัตว์เลี้ยงผ่านจุดต่ำสุดแล้วและคาดจะค่อยๆฟื้นตัวขึ้น ประเมินกำไรเร่งตัวQoQ ใน 3Q23 และแตะระดับสูงสุดของปีใน 4Q23 ขณะที่ valuation หุ้นไม่แพง upside เยอะน่าสนใจ

Top pick: AAV (ราคาพื้นฐาน 3.10 บาท) มองบริษัทได้ประโยชน์จากมาตรการฟรีวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบริษัทมีสัดส่วนของนักท่องเที่ยวจีนมากกว่าคู่แข่ง อีกทั้งล่าสุดสำนักข่าวต่างประเทศรายงานยอดจองท่องเที่ยวนอกประเทศของจีนในช่วงวันหยุดยาว Golden week พุ่งกว่า20 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าโดยมีหลายจุดหมายปลายทางที่จีนนิยมรวมถึงไทย

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันอังคาร ติดตาม ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ (CB consumer confidence) เดือนก.ย. ตลาดคาดที่ 105.6 จุด ลดลงจาก 106.1 จุด ในเดือนก่อนหน้า ต่อด้วยตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐฯ (New home sale) เดือนส.ค. ตลาดคาดที่ 7 แสนยูนิต เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 7.14 แสนยูนิต และดัชนีตัวเลขภาคการผลิต Richmond Manufacturing Index ของสหรัฐฯเดือนก.ย. ตลาดคาดที่ -6 จุด ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -7 จุด
  • วันพุธ ติดตาม ผลการประชุมกนง. โดยตลาดคาดจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25bps จาก 2.25% เป็น 2.50% ต่อด้วยช่วงข้ามคืนมีรายงานตัวเลขยอดขายสินค้าคงทนของสหรัฐฯ (Durable goods orders) เดือนส.ค. ตลาดคาดที่หดตัว 0.4% MoM เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่หดตัว 5.2% MoMขณะที่ตัวเลขยอดขายสินค้าคงทนของสหรัฐฯที่ไม่นับยานพาหนะ (Core durable goods orders) เดือนส.ค. ตลาดคาดดีขยายตัว 0.2% MoM เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 0.5%MoM
  • วันพฤหัสฯ ติดตามตัวเลขส่งออกไทยเดือนส.ค. โดยตลาดคาดหดตัวลง 3.35% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่หดตัว 6.23%YoY ขณะที่ยอดนำเข้าเดือนส.ค. คาดหดตัว 10% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่หดตัว 11% YoY และดุลการค้าเดือนส.ค. ตลาดคาดขาดดุลที่ 1.7 พันล้านเหรียญฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล 1.9 พันล้านเหรียญฯ ต่อด้วยตัวเลข GDP ของสหรัฐฯสำหรับไตรมาส 2/2566 โดยเป็นการประกาศครั้งที่ 3 หลังปรับปรุงข้อมูล ตลาดคาดขยายตัว 2.2% QoQ เทียบกับการประกาศครั้งก่อนหน้าที่รายงานขยายตัว 2.0% QoQ และปิดท้ายด้วยตัวเลขบ้านรอปิดการขายของสหรัฐฯเดือนส.ค.ตลาดคาดหดตัว 0.2% MoM เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 0.9% MoM
  • วันศุกร์ ติดตามตัวเลขดัชนีรายจ่ายของผู้บริโภคของสหรัฐฯ (Personal consumption expenditure) เดือนส.ค. ตลาดคาดเพิ่มขึ้น 3.3% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 3.5%YoY ขณะที่ตัวเลขดัชนีภาคการผลิต Chicago PMI ของสหรัฐฯ เดือนก.ย. ตลาดคาดที่ 47.4 จุด เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 48.7 จุด และดัชนีราคาผู้บริโภคเบื้องต้นของยุโรป (Flash CPI) เดือนก.ย. ตลาดคาดเพิ่มขึ้น 4.5% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 5.2% YoY และดัชนีราคาผู้บริโภคเบื้องต้นของยุโรปที่ไม่รวมพลังงาน (Flash core CPI) เดือนก.ย. ตลาดคาดที่ 4.8% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 5.3% YoY
- Advertisement -