บล.พาย:  

SECTOR: BANKING คาดกำไรไตรมาส 3/23 ลดลง QoQ (OVERWEIGHT)  

TOP PICK  BBL, KTB

พื้นฐานกลุ่มธนาคารไทยยังแข็งแกร่ง คาดกำไรสุทธิรวมเติบโตแข็งแกร่ง 12.4% YoY (-4.4% QoQ) เป็น 5.15 หมื่นล้านบาทใน ไตรมาส 3/23 โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25 % เป็น 2.50% ในเดือน ก.ย. ทำให้ธนาคารปรับขึ้นดอกเบี้ยตาม และธนาคารส่วนใหญ่จะได้รับอานิสงส์จากดอกเบี้ยขาขึ้นทำให้อัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในไตรมาส 4/23 และน่าจะยืนระดับสูงได้ต่อเนื่องถึงปี 2024 แต่เราคาดอุปสงค์สินเชื่อปี 2023 อาจจะอ่อนแอกว่าที่คาดไว้ที่ 2.7% YoY ในปี 2023 เพราะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้า เมื่อพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ รวมกันแล้ว เราก็ยังคงประมาณการการเติบโตด้านกำไรสุทธิของกลุ่มที่ 18% YoY ในปี 2023 และ 12% สำหรับปี 2024 โดยยังคงมุมมองเชิง “บวก” ต่อกลุ่มธนาคาร และเลือก BBL และ KTB เป็นหุ้นเด่นเพราะต่างมีงบดุลที่แข็งแกร่ง สัดส่วนกิจการสินเชื่อกลุ่ม SMEs และผู้บริโภคไม่มาก และมีมูลค่าหุ้นไม่แพง

คาดกำไรไตรมาส 3/23 โต 12.4% YoY แต่หดตัว 4.4% QoQ

  • เราคาดว่ากลุ่มธนาคาร 8 แห่งที่เราวิเคราะห์อยู่จะมีกำไรสุทธิโดยรวมออกมาอยู่ที่ 5.15 หมื่นล้านบาท โต 12.4% YoY (4.4% QoQ) ในไตรมาส 3/23 การเติบโต YoY จะได้แรงหนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NII) ที่สูงขึ้นเพราะการขยายตัวของ NIM ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น แต่ถึงแม้ว่า NII จะโตต่อเนื่องและการตั้งสำรองหนี้ฯ ก็ปรับลดลง แต่มองว่ากำไรสุทธิของกลุ่มจะหดตัวลง QoQ ฉุดจากคาดการณ์ว่ากําไรมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุน (FVTPL) จะลดลงและมีค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน (OPEX) ที่สูงขึ้น
  • กลุ่มธนาคารส่วนใหญ่น่าจะมีกำไรสุทธิลดลง QoQ ขณะที่มีเพียง KKP ที่มีโอกาสโต QoQ เพราะ NII ที่สูงขึ้นและการตั้งสำรองหนี้ ฯ ที่ลดลง เราคาดว่า BBL จะมีกำไรโตสูงสุดในเชิง YoY ที่ 40.2% หนุนจาก NII ที่สูงขึ้นและการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง

กำไรสุทธิโตแข็งแกร่งก่อนชะลอตัวในปี 2024

  • แม้กำไรของกลุ่มธนาคารจะได้อานิสงส์จากการขึ้นดอกเบี้ย แต่กำไรรายไตรมาสของกลุ่มจะต่ำสุดในไตรมาส 4/23 เพราะ OPEX ที่สูงตามฤดูกาล ส่วนทั้งปี 2023 เราคาดว่ากำไรสุทธิของกลุ่มจะปรับเพิ่ม 18% หนุนจาก NIM ที่สูงขึ้น แม้รายได้ค่าธรรมเนียมจะอ่อนแอ และมีการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่สูงขึ้น
  • คาดการเติบโตของกำไรสุทธิจะชะลอลงเป็น 12% ในปี 2024 เพราะอานิสงส์จากการขึ้นดอกเบี้ยที่ลดลง และคาดว่าจะไม่มีการขึ้น ดอกเบี้ยในปี 2024 ทั้งนี้ ประมาณการของเรายังไม่รวมผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากมาตรกา รกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่รวมถึงการแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทที่อาจกระตุ้นมีการเติบโตของสินเชื่อที่สูงขึ้น และกดดันให้เงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น

คงมุมมอง “บวก” ต่อกลุ่มธนาคาร เลือก BBL และ KTB เป็นหุ้นเด่น

  • คงมุมมองเชิง “บวก” เพื่อสะท้อนถึง 1) กำไรสุทธิที่โตมั่นคง 2) งบดุลที่แข็งแกร่ง (อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่สูง และฐาน เงินทุนที่แข็งแกร่ง) พร้อมรับมือกับความไม่แน่นอน 3) อัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่สูง และ 4) มูลค่าหุ้นที่ไม่แพง ปัจจุบันกลุ่มชื้อขายกันที่ 0.6x PBV’23E หรือ -1.0SD ต่อค่าเฉลี่ย 10 ปี
  • แม้เศรษฐกิจโลกจะผันผวน แต่ปัจจัยพื้นฐานของกลุ่มธนาคารไทยยังแข็งแกร่งด้วยค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เพียงพอและฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง เราขอบกลุ่มธนาคารเพราะ 1) งบดุลที่แข็งแกร่ง 2) อานิสงส์จากดอกเบี้ยขาขึ้น 3) สัดส่วนสินเชื่อ SME และ ผู้บริโภคที่ไม่มาก และ 4) มูลค่าหุ้นที่ไม่แพง
  • จากเกณฑ์ข้างต้นเราจึงชอบกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่มากกว่าขนาดเล็กและกลาง เลือก BBL (“ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 203.0 บาท) และ KTB (“ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 23.00 บาท) เป็นหุ้นเด่นของเรา

คาดกำไรสุทธิไตรมาส 3/23 จะโต YoY แต่ลดลง QoQ

  • เราคาดว่ากำไรสุทธิรวมของกลุ่มฯ จะอยู่ที่ 5.15 หมื่นล้านบาท โต 12.4% YoY (-4.4% QoQ) ในไตรมาส 3/23 โดยการเติบโต YoY จะได้แรงหนุนจาก NII ที่สูงขึ้นเพราะการขยายตัวของ NIM ส่วนในเชิง QoQ แม้ว่า NII จะโตต่อเนื่องจาก NIM ที่ขยายตัวและการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่น่าจะลดลง แต่กำไรสุทธิ รวมจะลดลง QoQ เพราะคาดว่ากำไรมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุน (FVTPL) จะลดลง และมี OPEX ที่สูงขึ้น
  • เรามองว่าในไตรมาสนี้ไม่มีธนาคารใดที่โดดเด่นและด้อยอย่างชัดเจน ในภาพรวมธนาคารส่วนใหญ่มีกำไรสุทธิที่โตขึ้น YoY มีเพียง KKP ที่กำไรจะปรับลดลง YoY เพราะการขาดทุนจากการขายสินทรัพย์รอการขาย และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่สูงขึ้น ขณะที่มองว่า BBL จะมีกำไรสุทธิโตมากสุด YoY ที่ 40.2% หนุนจาก NII ที่สูงขึ้นและการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง
  • หากเทียบกับไตรมาส 2/23 จะพบว่ากำไรสุทธิของธนาคารส่วนใหญ่จะลดลง เพราะ OPEX ที่สูงขึ้นและคาดการณ์กำไร FVTPL ลดลง โดยเฉพาะ BBL, KBANK และ SCB ขณะที่คาดว่ากำไรสุทธิของ KKP จะปรับเพิ่มมากที่สุดในเชิง QoQ ที่ 25.7% เพราะ NII ที่สูงขึ้นและการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง
  • NIM โดยเฉลี่ยปรับดีต่อเนื่อง QoQ ด้วย 8 bps (+46 bps YoY) เป็น 3.45% หนุนจากดอกเบี้ยขาขึ้น คาดว่าทุกธนาคารจะมี NIM ที่สูงขึ้น ส่วนที่มี NIM เพิ่มมากที่สุดคาดว่าจะเป็น BBL และ KTB คาดกำไรสุทธิรวมงวด 9 เดือนปี 2023 โต 15.1% YoY เป็น 1.571 แสนล้านบาท หนุนจาก NII ที่ปรับสูงขึ้นจาก NIM ที่ดีขึ้นและกำไร FVTPL ที่สูงขึ้น โดยคาดว่าธนาคารส่วนใหญ่จะมีกำไรเพิ่มสูงขึ้น YoY และคาดว่า BBL จะโตสูงสุดในงวด 9 เดือนปี 2023 ที่ 47.9% แต่คาดว่า KBANK และ KKP จะมีกำไรสุทธิที่ลดลง เพราะการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง รายได้ค่าธรรมเนียมที่ซบเซา และ OPEX ที่สูงขึ้น

สินเชื่อโตต่อเนื่องในไตรมาส 3/23 ทำให้งวด 9 เดือนโต 0.7%

  • ด้วยเศรษฐกิจที่โตต่อเนื่อง สินเชื่อเดือน ก.ย. ของธนาคารที่เราวิเคราะห์อยู่จึงขยายตัวต่อเนื่องหลังจากที่ขึ้นไป 0.8% MoM ในเดือน ส.ค. เราคาดว่าสินเชื่อโดยรวมจะโต 0.5% QoQ ในไตรมาส 3/23 หรือโต 0.7% สำหรับงวด 9 เดือนปี 2023 ธนาคารส่วนใหญ่ต่างมีสินเชื่อที่โตขึ้นในไตรมาส 3/23 แต่ของ KBANK กลับลดลงเล็กน้อยสืบ เนื่องจากการบริหารจัดการสินเชื่อของธนาคาร
  • แม้อุปสงค์สินเชื่อจะดูแข็งแกร่งขึ้นในไตรมาส 4 จากอุปสงค์ที่สูงขึ้นตามการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการส่งออกที่สูงขึ้น แต่ประมาณการการเติบโตด้านสินเชื่อทั้งปี 2023 ของเราที่ 2.7% YoY อาจเผชิญกับความท้าทาย เพราะเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้า เพราะการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงจนมากระทบการส่งออกไทย

Asset quality

  • กลุ่ม SMEs และผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้ายังประสบปัญหาในการชำระเงินคืน เราคาดว่าอัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL ratio) ของกลุ่มจะปรับเพิ่มเป็น 3.7% ในไตรมาส 3/23 (2Q23: 3.6%)
  • กลุ่มธนาคารไทยต่างตั้งสำรองหนี้ฯ ไว้ในระดับสูงเพื่อความปลอดภัยและเสริมความแข็งแกร่งให้ กับงบดุลของตนเพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น ส่วนในไตรมาส 3/23 เราคาดว่าค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญของกลุ่มจะเพิ่มขึ้น 23 bps เป็น 130bps แต่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญจะลดลง 4bps QoQ เพราะคาดว่าค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญของ BBL KKP และ SCB จะลดลงหลังจากที่ตั้งสำรองไป ล่วงหน้าแล้วในไตรมาส 2/23
  • อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ของกลุ่มจะลดลงเหลือ 178.8% ในไตรมาส 3/23 (2Q23: 181.4%) เพราะ NPLs ที่สูงขึ้น แต่ยังสูงพอที่จะรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น
  • ธนาคารทุกแห่งต่างมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เพียงพอต่อ NPLs ใหม่ ทั้งนี้ BBL จะยังมีอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่สูงสุดในกลุ่มที่ 281%
  • เงินทุนขั้นที่ 1 โดยเฉลี่ยของกลุ่มธนาคารไทยยังแข็งแกร่งที่ 15.8% ในไตรมาส 2/23 ทุกธนาคารต่างมีเงินทุนขั้นที่ 1 ที่สูงกว่าเกณฑ์ ขั้นต่ำที่ 8.5%-9.5% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และด้วยเงินทุนขั้นที่ 1 ที่แข็งแกร่ง กลุ่มธนาคารไทยจึงสามารถจ่ายปันผล ในระดับสูงได้ต่อเนื่อง
- Advertisement -